นายกฯ ย้ำหน่วยงานรัฐเร่งหนุน 3 สาขาโมเดลเศรษฐกิจ BCG

ทำเนียบฯ 31 ต.ค. – นายกฯ ประชุมบอร์ด BCG ย้ำหน่วยงานรัฐเร่งสนับสนุน 3 สาขาโมเดลเศรษฐกิจ BCG เล็งจัดตั้งศูนย์แปลผลข้อมูลพันธุกรรมสำหรับการแพทย์แม่นยำในโรคมะเร็ง-โรควินิจฉัยยาก คาด 4 ล้านคนไทยได้ประโยชน์-หนุนราชบุรี Sandbox จัดการโรคระบาดในสุกร


นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) ครั้งที่ 2/2565 (ผ่านระบบ Video Conference) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ย้ำถึงความสำคัญของการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งประเทศไทยได้เสนอในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ต่อการประชุมเอเปค ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปีนี้ และใช้โอกาสนี้ในการประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ให้นานาประเทศได้รับรู้ผ่านกิจกรรม สินค้าและผลิตภัณฑ์ BCG ต่างๆ ของประเทศไทยด้วย

รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงานตามมติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ครั้งที่ 1/2565 (7 กุมภาพันธ์ 2565) ทั้ง 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การจัดสรรงบประมาณ 2) ภาครัฐปรับยุทธศาสตร์บูรณาการ BCG เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 3) การสร้างระบบนิเวศเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน 4) การสนับสนุนภาคประชาสังคม และ 5) การติดตามผลการดําเนินงานตามแผน BCG ต่อการบรรลุเป้าหมาย SDG ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566-2570) โดยขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันเดินหน้าขับเคลื่อนต่อไปให้เกิดผลเป็นรูปธรรมตามแผน เพื่อบรรลุเป้าหมาย BCG และ SDG ตามที่กำหนดไว้


นายกรัฐมนตรี ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเริ่มเห็นผลสําเร็จที่เป็นรูปธรรม ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและสังคมได้รับทราบอย่างกว้างขวาง

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการขับเคลื่อน 3 สาขายุทธศาสตร์ ได้แก่

  1. สาขายาและวัคซีน ให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ 661.79 ล้านบาท เพื่อการจัดตั้งศูนย์แปลผลข้อมูลพันธุกรรมสำหรับการแพทย์แม่นยำในโรคมะเร็ง และศูนย์แปลผลข้อมูลพันธุกรรมสำหรับการแพทย์แม่นยำในโรคหายากและโรควินิจฉัยยาก ซึ่งคาดว่าจะมีคนไทยกว่า 4 ล้านคน มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการดังกล่าว ส่งเสริมการจัดตั้งโรงงานผลิตวัตถุดิบทางยา (Active Pharmaceutical Ingredient, API) ครั้งแรกของประเทศ เพื่อความมั่นคงทางด้านสุขภาพ การจัดตั้งโรงงานดังกล่าว คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท ในรูปแบบของการร่วมทุนระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย บริษัท อินโนบิก (เอเชีย) จำกัด องค์การเภสัชกรรม และ สวทช.
  2. สาขาเกษตร ได้สั่งการให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิต Autogenous Vaccine ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการผลิตวัคซีนใช้ป้องกันโรคระบาดที่สำคัญในฟาร์ม เสริมการดำเนินงานของราชบุรี Sandbox ในการจัดการโรคระบาดในสุกร และมอบให้ทุกหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูลตลอด Supply Chain เปิดเผยข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสู่เกษตรสมัยใหม่ด้วยการใช้คลังข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งนี้ มีเป้าหมายเพิ่มรายได้เกษตรกร ผลิตได้ตรงเป้า และลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติต่างๆ ด้วยการวางแผนรับมือได้ล่วงหน้า
  3. สาขานวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ให้กระทรวงการคลังเร่งพิจารณาแนวทางลดอุปสรรคทางภาษี เพื่อสนับสนุนการร่วมลงทุนระหว่างบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท Braskem ซึ่งเป็นผู้ผลิตโพลิเมอร์ชีวภาพรายใหญ่ที่สุดในโลก ในการจัดตั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพ พอลิเอทิลีน (Bio-PE) ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท กำลังการผลิต 2 แสนตัน/ปี ใช้เอทานอล 450 ล้านลิตร/ปี โดยทุกตันของ Bio-PE ที่ผลิตปล่อยก๊าซคาร์บอนออกไซด์ต่ำกว่าปิโตรเลียม 5 เท่า

นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการและเน้นย้ำให้ภาครัฐทุกกระทรวงเร่งเครื่องสนับสนุนการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ตามภูมิภาคต่างๆ โดยที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ และให้หารือสภาพัฒน์ฯ เพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ BCG ทุ่งกุลาร้องไห้ ต่อไป


รวมทั้งให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สนับสนุนการใช้สัญลักษณ์ T-Mark (Thailand Trust Mark) สำหรับผู้ประกอบการ BCG และกลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อม เพื่อสนับสนุนการขยายตลาดให้กับผู้ประกอบการ BCG อีกทางหนึ่ง

สำหรับการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในภาคสังคม ได้เตรียมการจัดตั้ง “ธนาคารอาหารออนไลน์” ด้วยระบบ “คลาวด์ ฟู้ด แบงค์” ครั้งแรกในประเทศไทย ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ แบบจตุภาคี ซึ่งแพลตฟอร์ม “คลาวด์ ฟู้ด แบงค์” เป็นแพลตฟอร์มกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ที่ต้องการบริจาคอาหารกับกลุ่มคนที่ขาดแคลนอาหาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการรับและการส่งต่ออาหาร โดยเอสโอเอสเป็นผู้พัฒนาและดูแลระบบ โดยมีบริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาแพลตฟอร์ม. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

มือเผาพ่อค้าแตงโม สารภาพทำคนเดียว อ้างแค้นปมชู้สาว

“เพลิน พรมด้วง” มือราดน้ำมันจุดไฟเผาพ่อค้าแตงโม รับสารภาพทำคนเดียว อ้างแค้นอีกฝ่ายเป็นชู้กับภรรยา และยังเอารถกระบะที่ใช้ทำกินไปขายแตงโมเย้ยต่อหน้าต่อตา