รถไฟแมกเลฟ ความเร็ว 600 กม./ชม. ทดสอบระบบลอยตัวฯ ครั้งแรก

ฉางชุน, 4 เม.ย. (ซินหัว) — บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิล จำกัด ในมณฑลจี๋หลินทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน รายงานการทดสอบระบบลอยตัวด้วยพลังงานไฟฟ้าสภาพนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงครั้งแรกของรถไฟแมกเลฟที่จีนพัฒนาเอง ซึ่งสามารถทำความเร็วสูงถึง 600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระบบข้างต้นประกอบด้วยระบบย่อยของรถไฟ ราง แหล่งจ่ายไฟฟ้าขับเคลื่อน และการสื่อสารปฏิบัติการ สามารถประยุกต์ใช้กับท่อสุญญากาศระดับต่ำ ความเร็วสูง และความเร็วสูงพิเศษ โดยระบบนี้อาจเป็นตัวเลือกสำคัญของการขนส่งอันรวดเร็วระหว่างเมืองใหญ่และเขตเศรษฐกิจพัฒนาแล้วในอนาคต อนึ่ง ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิล มุ่งมั่นทำการวิจัย พัฒนา และผลิตรถไฟแมกเลฟ ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1990 ซีอาร์อาร์ซีฯ ได้ก่อสร้างทางรถไฟแมกเลฟสภาพนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงสายทดสอบ ระยะ 200 เมตร และพัฒนาแม่เหล็กสภาพนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงที่ทำงานอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องใช้พลังงาน รวมถึงตัวอย่างรถไฟแมกเลฟพลังงานไฟฟ้าและรางกำลังสูงที่ไม่ใช่แม่เหล็กในช่วงหลายปีที่ผ่านมา – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230404/fbccd5717d924455880d47c5f17ca030/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/349579_20230405ขอบคุณภาพจาก Xinhua

นักวิจัยจีนพัฒนา “แก้ว” ชนิดใหม่ ย่อยสลาย-รีไซเคิลได้

ปักกิ่ง, 30 มี.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิจัยจีนพัฒนาแก้วชนิดใหม่ที่สามารถย่อยสลายและรีไซเคิลทางชีวภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกอันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเล็กน้อย เนื่องจากแก้วถูกใช้งานกว้างขวางในหลายด้านและเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ดี การใช้แก้วอนินทรีย์เชิงพาณิชย์และแก้วพลาสติกในปัจจุบันก่อเกิดอันตรายต่อระบบนิเวศและภาระสังคม เพราะไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิศวกรรมกระบวนการ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน จึงดำเนินการพัฒนาแก้วที่ย่อยสลายทางชีวภาพด้วยการใช้กรดอะมิโนหรือเปปไทด์ที่มาจากกระบวนการชีวภาพผ่านขั้นตอนชุบแข็ง ผลการศึกษาในวารสารไซแอนซ์ แอดวานซ์ (Science Advances) ระบุว่าแก้วชนิดใหม่นี้สามารถขึ้นรูปและมีคุณสมบัติทางแสงยอดเยี่ยม ทำให้เหมาะสำหรับการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุด้วยการพิมพ์ 3 มิติ และการหล่อแม่พิมพ์ แก้วดังกล่าวสามารถย่อยสลายและนำกลับมาใช้ใหม่โดยจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมัก อีกทั้งยังสามารถทยอยย่อยสลายและดูดซึมหลังจากฝังใต้ผิวหนังของหนู ผลการศึกษายังพบว่าแก้วชนิดใหม่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ ความสามารถย่อยสลายทางชีวภาพ และความสามารถรีไซเคิลทางชีวภาพสูง เมื่อเทียบกับแก้วเชิงพาณิชย์และวัสดุพลาสติกที่ใช้กันในปัจจุบัน – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230330/617c9742e11f4068a5d627bce20cb32d/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/348947_20230401ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ด่านบกพรมแดนจีน-เวียดนาม นำเข้า “ผลไม้ไทย” ครั้งแรก

คุนหมิง, 2 เม.ย. (ซินหัว) — ด่านบกเหอโข่วบนพรมแดนจีน-เวียดนาม ได้รับรองทุเรียนนำเข้าจากไทย 12 ตัน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ผลไม้ไทยเข้าสู่จีนผ่านด่านบกในมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน หานเทา ผู้จัดการบริษัท เหอโข่ว ซูเทา เทรดดิง จำกัด กล่าวว่าทุเรียนชุดนี้มาจากจังหวัดบุรีรัมย์ของไทย โดยการขนส่งจากบุรีรัมย์สู่ด่านบกระหว่างประเทศกิมแถ่งห์ในจังหวัดหล่าวกายของเวียดนามใช้เวลา 3 วัน หานเสริมว่าต่อจากนั้นทุเรียนชุดนี้ถูกขนส่งจากด่านบกเหอโข่วเมื่อวันที่ 27 มี.ค. ไปยังเมืองคุนหมิง และจะกระจายสู่ปักกิ่ง ซื่อชวน (เสฉวน) และกว่างโจว รวมถึงพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ถานเฝ่ยหราน รองผู้อำนวยการสำนักพาณิชย์ อุตสาหกรรม และสารสนเทศอำเภอเหอโข่ว เผยว่าไทยผลิตผลไม้คุณภาพสูงหลากหลายชนิด โดยทุเรียนไทยนำเข้าชุดแรกสะท้อนว่าด่านบกเหอโข่วกำลังกลับมาคึกคัก อนึ่ง ด่านบกเหอโข่ววางแผนเปิดช่องทางพิธีการศุลกากรสำหรับผลไม้คุณภาพสูงจากไทยเพิ่มขึ้น โดยปีนี้ด่านบกเหอโข่วรับรองผลไม้นำเข้า 8 หมื่นตัน มูลค่า 300 ล้านหยวน (ราว 1.48 พันล้านบาท) แล้ว – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230402/7cc5e680f41c4efc9c5911472770376d/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/349084_20230402ขอบคุณภาพจาก […]

จีนบังคับใช้กฎหมายคุ้มครอง “แม่น้ำเหลือง”

ปักกิ่ง, 1 เม.ย. (ซินหัว) — จีนบังคับใช้กฎหมายฉบับใหม่ว่าด้วยการคุ้มครองทางนิเวศวิทยาและการพัฒนาคุณภาพสูงของแอ่งแม่น้ำเหลือง เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (1 เม.ย.) กฎหมายฉบับนี้ผ่านการรับรองเมื่อเดือนตุลาคม 2022 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทางนิเวศวิทยา และการควบคุมมลพิษทางสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตามแนวแม่น้ำเหลือง รวมถึงกำหนดว่าแหล่งน้ำตามแนวแม่น้ำเหลืองควรถูกจัดสรรภายใต้ระบบการจัดสรรแบบรวมศูนย์ระดับชาติ อนึ่ง แม่น้ำเหลืองถือเป็น “มาตุธาร” ของจีน มีความยาวมากที่สุดอันดับ 2 รองจากแม่น้ำแยงซี โดยจีนได้บังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแม่น้ำแยงซี ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับแอ่งแม่น้ำจำเพาะฉบับแรกของจีน เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2021 – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230401/722edc47c3684bcbb8deb08c2ac46220/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/348981_20230401ขอบคุณภาพจาก Xinhua

แห่งแรก! ตลาด “การค้าชายแดนขนส่งทางน้ำ” ฝั่งจีนบนลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง

คุนหมิง, 29 มี.ค. (ซินหัว) — ตลาดการค้าข้ามพรมแดนบริเวณท่าเรือกวนเล่ย แคว้นปกครองตนเองสิบสองปันนา กลุ่มชาติพันธุ์ไท มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ (27 มี.ค.) ซึ่งเป็นตลาดการค้าชายแดนแบบขนส่งทางน้ำแห่งแรกที่อยู่ฝั่งจีนของลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขง ท่าเรือกวนเล่ย ตั้งอยู่ริมชายฝั่งแม่น้ำล้านช้างทางตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเหมิ่งล่า และถือเป็น “ท่าเรือแห่งแรก” ที่เรือจากประเทศอาเซียนอย่างลาว เมียนมา และไทย ซึ่งล่องผ่านแม่น้ำโขงจะต้องผ่านก่อนเข้าสู่จีน อนึ่ง การค้าชายแดนหมายถึงกิจกรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าของประชาชนภายในระยะ 20 กิโลเมตรจากพรมแดนบกของจีน โดยผ่านจุดที่รัฐบาลอนุญาตหรือตลาดที่กำหนดเฉพาะ และไม่เกินจำนวนหรือมูลค่าที่กำหนดไว้ ซึ่งการเปิดตลาดการค้าที่ท่าเรือกวนเล่ยจะช่วยผลักดันให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนมีส่วนร่วมในการค้าข้ามพรมแดนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่บริเวณพรมแดน ตลาดการค้าข้ามพรมแดนท่าเรือกวนเล่ยแห่งนี้ เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019 ใช้เงินลงทุนรวม 11.97 ล้านหยวน (ราว 59.48 ล้านบาท) และได้ผ่านการตรวจรับระดับมณฑลเมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยสินค้าที่มีการซื้อขายส่วนใหญ่ได้แก่ ธัญพืชแห้ง ผลไม้แห้ง ผักสด ผักตระกูลแตง และสินค้าทั่วไป ตลาดแห่งนี้อำนวยความสะดวกให้ผู้ค้าขายและผู้ซื้อด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ แค่มีโทรศัพท์ก็กดสั่งซื้อหรือขายสินค้าข้ามพรมแดนได้ ส่วนความสามารถในการขนส่งสินค้านำเข้า-ส่งออกสูงสุดอยู่ที่ 500-800 ตันต่อวัน-สำนักข่าวซินหัว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง […]

อภิมหาโครงการ “เคมี” ทุนจีน-ซาอุฯ เริ่มก่อสร้างแล้ว

เสิ่นหยาง, 30 มี.ค. (ซินหัว) — การก่อสร้างโครงการเคมีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มร่วมทุนระหว่างจีนและซาอุดีอาระเบีย เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันพุธ (29 มี.ค.) ในเมืองผานจิ่น มณฑลเหลียวหนิงทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน โครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุนรวม 8.37 หมื่นล้านหยวน (ราว 4.16 แสนล้านบาท) โดยคาดว่าจะกลายเป็นฐานอุตสาหกรรมเคมีชั้นดีและปิโตรเคมีระดับโลกในจีนหลังเริ่มดำเนินการ จะแล้วเสร็จในปี 2025 โดยคาดว่าจะมีกำลังการกลั่นน้ำมันที่ 15 ล้านตันต่อปี รวมถึงกำลังการผลิตเอทิลีน 1.65 ล้านตันต่อปี และพาราไซลีน (p -Xylene) 2 ล้านตันต่อปี เอี๋ยนเจ๋อ รองผู้จัดการทั่วไปของโนรินโก กรุ๊ป (Norinco Group) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของนอร์ธ หัวจิ่น เคมิคัล อินดัสทรีส์ กรุ๊ป คอร์ปอเรชัน กล่าวว่าโครงการดังกล่าวจะสร้างรายได้มากกว่า 1 แสนล้านหยวน (ราว 4.97 แสนล้านบาท) ต่อปี ด้วยกำไรรวมมากกว่า 1 หมื่นล้านหยวน (ราว 4.97 […]

อาเซียนแซงสหรัฐฯ ขึ้นสู่คู่ค้าใหญ่อันดับ 2 ของเจ้อเจียง

หางโจว, 27 มี.ค. (ซินหัว) — ศุลกากรนครหางโจว มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน รายงานว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนครองสัดส่วนร้อยละ 13.6 ของมูลค่าการนำเข้าและส่งออกโดยรวมของเจ้อเจียงในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และแซงหน้าสหรัฐฯ กลายเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของเจ้อเจียง รายงานระบุว่าช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ มูลค่าการนำเข้าและส่งออกของเจ้อเจียง-อาเซียน อยู่ที่ 9.37 หมื่นล้านหยวน (ราว 4.66 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เจ้อเจียง-ตะวันออกกลาง อยู่ที่ 8.43 หมื่นล้านหยวน (ราว 4.19 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เจ้อเจียง-ลาตินอเมริกา อยู่ที่ 6.92 หมื่นล้านหยวน (ราว 3.44 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 และเจ้อเจียง-แอฟริกา อยู่ที่ 5 หมื่นล้านหยวน (ราว 2.49 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ขณะเดียวกันมูลค่าการนำเข้าและส่งออกของเจ้อเจียง-สหภาพยุโรป อยู่ที่ 1.11 แสนล้านหยวน […]

จีนพัฒนา “รอยสักอิเล็กทรอนิกส์” ตัวช่วยตรวจสุขภาพแบบใหม่

กว่างโจว, 25 มี.ค. (ซินหัว) — ทีมชีวการแพทย์ของจีนในนครเซินเจิ้น มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน ได้พัฒนารอยสักอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นจากโลหะเหลว ซึ่งสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของมือได้แบบเรียลไทม์ รอยสักอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุปกรณ์สวมใส่ที่มีเซนเซอร์ซึ่งยึดติดกับผิวหนังของมนุษย์ และถูกใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ ทั้งนี้ ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสุขภาพ – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230325/0150101c940b456ba4c76c130936521b/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/347408_20230325ขอบคุณภาพจาก Xinhua

สุสานยุคราชวงศ์จีน ฝังเตียงหิน ฉากกั้น รูปปั้นสัตว์ร้าย

ลั่วหยาง, 27 มี.ค. (ซินหัว) — ประมวลภาพวัตถุโบราณล้ำค่าที่ขุดพบจากสุสานเก่าแก่ในหมู่บ้านจูชาง เขตเมิ่งจิน เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน สุสานโบราณแห่งนี้ที่ประกอบด้วยหลุมศพ 3 หลุม จัดเป็นหนึ่งในห้าการค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญประจำมณฑลเหอหนานในปี 2022 กลุ่มหลุมศพที่คาดว่าถูกก่อสร้างขึ้นระหว่างปลายยุคราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปี 386-534) และราชวงศ์เว่ยตะวันออก (ปี 534-550) ยังฝังเตียงหินขนาดใหญ่สภาพดี พร้อมฉากกั้นแบบพับทำจากหิน รายงานระบุว่านี่นับเป็นครั้งแรกที่มีการขุดพบเตียงหินจากยุคราชวงศ์ดังกล่าวในเมืองลั่วหยาง นอกเหนือจากรูปปั้นสัตว์ประหลาดเฝ้าหลุมศพและรูปปั้นนักรบ-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230325/c2da27398dad425db157f247268d40f1/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/347602_20230327ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนพบเป็ดหายาก ฉายา “ฟอสซิลมีชีวิต”

หุนชุน, 23 มี.ค. (ซินหัว) — เมืองหุนชุน มณฑลจี๋หลินทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน รายงานพบฝูงเป็ดปากยาวข้างลายจำนวนหลายตัวบริเวณแม่น้ำหุนชุนเมื่อไม่นานนี้ เป็ดใกล้สูญพันธุ์ชนิดนี้จัดเป็นสัตว์คุ้มครองระดับสูงสุดของจีน และได้รับสมญานามว่า “ฟอสซิลมีชีวิต” เนื่องจากดำรงเผ่าพันธุ์บนโลกมานานกว่า 10 ล้านปีแล้ว เป็ดปากยาวข้างลายมีความไวเป็นอย่างยิ่งต่อสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และถือเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ อนึ่ง เมืองหุนชุนเปิดตัวโครงการอนุรักษ์เพื่อยกระดับการปกป้องเป็ดสายพันธุ์ดังกล่าว โดยสำนักงานป่าไม้และสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นยังทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมของแม่น้ำหุนชุนด้วย-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230320/5578efbfaa804362857a6cd245a657f5/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/346927_20230323ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ฉงชิ่งติดตั้ง “จอท้ายรถเมล์” บอกข้อมูลแยกไฟแดงแก่รถคันหลัง

ฉงชิ่ง, 23 มี.ค. (ซินหัว) — เคยกังวลกับการขับรถตามหลังรถโดยสารประจำทางและไม่เห็นสัญญาณไฟจราจรข้างหน้าหรือไม่? บรรดาผู้ขับขี่ยานยนต์ในเทศบาลนครฉงชิ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ไม่ต้องปวดหัวกับปัญหานี้อีกต่อไป เนื่องจากรถโดยสารประจำทางในเมืองได้ติดตั้งจอภาพท้ายรถเพื่อแสดงการเปลี่ยนสัญญาณจราจรและระยะเวลานับถอยหลังบริเวณทางแยกข้างหน้า อนึ่ง ฉงชิ่งมีรถโดยสารที่ติดตั้งเทคโนโลยีนี้รวมกว่า 120 คันแล้ว นับถึงปัจจุบัน – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230322/e858ab04bc8b449880d3b65855e2224c/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/346862_20230323ขอบคุณภาพจาก Xinhua

การค้าจีน-ประเทศลุ่มน้ำโขง ทะลุ 4 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2022

คุนหมิง, 24 มี.ค. (ซินหัว) — การค้าระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศตามแนวแม่น้ำโขงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2022 แม้เผชิญการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) และภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา รายงานระบุว่าปริมาณการค้าระหว่างจีนกับกัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนามในปีก่อน มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 4.16 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 14.22 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยเป็นผลมาจากความไว้วางใจและความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างกัน ตัวเลขดังกล่าวถูกเปิดเผยระหว่างพิธีเปิดสัปดาห์ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ปี 2023 ซึ่งจัดขึ้นที่นครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เมื่อวันพฤหัสบดี (23 มี.ค.) อนึ่ง จีน กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม เปิดตัวกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงในปี 2016 โดยกลไกดังกล่าวตั้งชื่อตามแม่น้ำสายสำคัญที่เรียกว่าแม่น้ำล้านช้างในจีน และแม่น้ำโขงในอีก 5 ประเทศ และได้กลายเป็นแบบอย่างความร่วมมือที่สำคัญในภูมิภาค รวมถึงสร้างความมีชีวิตชีวาแก่การพัฒนาในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230323/b35500e2faec4d46afaf72e33675abc0/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/347061_20230324ขอบคุณภาพจาก […]

1 12 13 14 15 16 31
...