ประชากร “โลมาหัวบาตรหลังเรียบแยงซี” ในจีน ทะลุ 1,200 ตัว

ปักกิ่ง, 28 ก.พ. (ซินหัว) —วันอังคาร (28 ก.พ.) กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีน แถลงผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของกระทรวงฯ ในปี 2022 พบจำนวนโลมาหัวบาตรหลังเรียบแยงซีอยู่ที่ 1,249 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.42 จากเมื่อ 5 ปีก่อน หม่าอี เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีน ระบุว่าจำนวนโลมาหัวบาตรหลังเรียบแยงซีที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากคำสั่งห้ามจับปลาตามน่านน้ำสำคัญของลุ่มแม่น้ำแยงซี ระยะ 10 ปี ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2021 ด้วยเป้าหมายอนุรักษ์ระบบนิเวศวิทยา โดยโลมาชนิดนี้หรือที่รู้จักในชื่อ “แพนด้ายักษ์แห่งผืนน้ำ” เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาในลุ่มแม่น้ำแยงซี ขณะเดียวกันทรัพยากรชีวภาพสัตว์น้ำสายพันธุ์อื่นๆ ตามน่านน้ำสำคัญของลุ่มแม่น้ำแยงซีมีการฟื้นตัวขึ้นเช่นกัน โดยมีการตรวจพบปลาในลุ่มแม่น้ำแยงซีในปี 2022 จำนวน 193 สายพันธุ์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2020 ราว 25 สายพันธุ์ หม่ากล่าวว่าความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำในลุ่มแม่น้ำแยงซียังคงค่อนข้างต่ำ จึงเน้นย้ำความจำเป็นของการเพิ่มความพยายามบังคับใช้คำสั่งห้ามจับปลา และดำเนินมาตรการคุ้มครองสายพันธุ์สัตว์น้ำในลุ่มแม่น้ำแยงซีอย่างเป็นระบบ-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230228/7f62a5b5e3e94b18a4946a8abb7eef8c/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/342347_20230301ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ส่องศูนย์ถ่ายทำ ‘หนัง-ละคร’ ย้อนยุคราชวงศ์ในกุ้ยโจว

กุ้ยหยาง, 26 ก.พ. (ซินหัว) – ศูนย์การผลิตภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ฉินฮั่น มณฑลกุ้ยโจว ได้ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ในท้องถิ่น กลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการถ่ายทำภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ยอดนิยมของจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำรายได้แล้วกว่า 5.52 พันล้านบาท อู๋หงฮุย รองผู้จัดการทั่วไปของบริษัท การจัดการภาพยนตร์และโทรทัศน์กุ้ยโจว อวิ๋นอิ่ง จำกัด เผยว่าการก่อสร้างศูนย์ฯ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 695 หมู่ (ราว 289 ไร่) เริ่มต้นปี 2016 และแล้วเสร็จสิ้นปี 2017 ตั้งอยู่ในเมืองตูอวิ๋น มณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ของที่นี่อ้างอิงจากยุคสมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่น อนึ่ง ศูนย์ฯ ได้รับรองการถ่ายทำภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มากกว่า 100 เรื่องแล้ว และสร้างรายได้เกี่ยวกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์กว่า 1.1 พันล้านหยวน (ราว 5.52 พันล้านบาท) – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230224/70a8cae72ac343af8d5f89d7766daacb/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/341697_20230226ขอบคุณภาพจาก Xinhua

เฉียนชุน : ทางแยกต่างระดับ “วัดใจ” ในกุ้ยโจว

กุ้ยหยาง, 26 ก.พ. (ซินหัว) — ทางแยกต่างระดับเฉียนชุน ตั้งอยู่กลางหุบเขาที่นครกุ้ยหยาง เมืองเอกของมณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน สิ่งปลูกสร้างนี้แบ่งเป็น 5 ระดับ 11 ทางลาด และ 8 ทางเข้า-ออก โดยมีจุดดิ่งสูงสุดถึง 55 เมตร – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230226/be5c6ed138224775a100d61b18315e59/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/341804_20230226ขอบคุณภาพจาก Xinhua

นักวิจัยคาด “ทะเลทรายใหญ่สุด” ของจีน ก่อตัวเมื่อ 3 แสนปีก่อน

อุรุมชี, 22 ก.พ. (ซินหัว) — คณะนักวิจัยจีนค้นพบว่าทะเลทราย “ทากลามากัน”ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ อาจก่อตัวขึ้นเมื่อ 300,000 ปีก่อน เมื่อวันอังคาร (21 ก.พ.) จางหยวนหมิง ผู้อำนวยการสถาบันนิเวศวิทยาและภูมิศาสตร์ซินเจียง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน กล่าวว่าการค้นพบนี้มีขึ้นระหว่างการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 3 ของจีนในซินเจียง ซึ่งเริ่มต้นในเดือนธันวาคม 2021 และได้สร้างความคืบหน้าสำคัญหลายประการ ทีมนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าภูเขาเทียนซานและพื้นที่โดยรอบเป็นแหล่งสิ่งมีชีวิตในน้ำเย็นแห่งแรกของโลก โดยอ้างอิงจากการค้นพบสัตว์วงศ์แกมมาริด (gammaridea) สายพันธุ์ใหม่ ที่มีถิ่นกำเนิดในลุ่มน้ำของภูมิภาคนี้ การสำรวจดังกล่าวยังค้นพบแมลงศัตรูธรรมชาติปรสิตที่ถูกบันทึกครั้งแรกในจีน 39 ชนิด และพืชตะไคร่น้ำสายพันธุ์ใหม่อีก 2 ชนิด จางระบุเพิ่มเติมว่ามีการสร้างจุดเฝ้าสังเกตการณ์ระบบนิเวศอัตโนมัติ 26 แห่ง ในพื้นที่ที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ในซินเจียงระหว่างการสำรวจครั้งนี้ ผ่านการผสานรวมของโดรน ดาวเทียม และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT)- สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230222/33bb2886552e4c92abf5a67d272bb694/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/340919_20230222ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนวางแผนส่ง “ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา” สู่อวกาศอีก 2 ดวง

ปักกิ่ง, 22 ก.พ. (ซินหัว) — สำนักบริหารอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศจีน เปิดเผยว่าจีนวางแผนปล่อยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาตระกูลเฟิงอวิ๋นสู่อวกาศเพิ่มอีก 2 ดวงในปี 2023 หนึ่งในดาวเทียมดังกล่าว ได้แก่ ดาวเทียมวงโคจรช่วงเช้าเฟิงอวิ๋น-3เอฟ (FY-3F) ซึ่งจะมาแทนที่ดาวเทียมเฟิงอวิ๋น-3ซี (FY-3C) เพื่อส่งมอบบริการหลากหลายด้าน อาทิ การพยากรณ์อากาศ และการเฝ้าติดตามสภาพแวดล้อมทางระบบนิเวศและภัยพิบัติ ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานบนดาวเทียมหรือระบบเพย์โหลด 10 รายการ และมีกำหนดปล่อยสู่อวกาศในเดือนสิงหาคม ส่วนดาวเทียมอีกดวงคือเฟิงอวิ๋น-3จี (FY-3G) เป็นดาวเทียมตรวจวัดหยาดน้ำฟ้า ซึ่งมีหน้าที่หลักในการตรวจวัดปริมาณหยาดน้ำฟ้าในระบบสภาพอากาศรุนแรง และส่งมอบข้อมูลโครงสร้าง 3 มิติของปริมาณหยาดน้ำฟ้าในละติจูดกลางและต่ำทั่วโลก โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ระบบเพย์โหลด 4 รายการ และจะถูกปล่อยในเดือนเมษายน เมื่อดาวเทียมทั้ง 2 ดวงขึ้นสู่วงโคจร จีนจะกลายเป็นประเทศเดียวในโลกที่ใช้งานดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาสำหรับบริการพลเรือนในวงโคจรช่วงเช้ามืด-ค่ำ วงโคจรช่วงเช้า วงโคจรช่วงบ่าย และวงโคจรเอียงในเวลาเดียวกัน จีนได้ปล่อยดาวเทียมตระกูลเฟิงอวิ๋นทั้งหมด 19 ดวงแล้ว ซึ่งในจำนวนนี้อยู่ในวงโคจร 7 ดวง โดยให้บริการผลิตภัณฑ์และข้อมูลแก่ 126 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230222/eea14d4f77c143399988fa929add56e5/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง […]

ศึกษาพบผู้คนกว่า 60% ลังเลจะไว้ใจ “ปัญญาประดิษฐ์”

ผลการศึกษาระดับโลกพบประชาชน 3 ใน 5 หรือราวร้อยละ 61 ของกลุ่มสำรวจ ระมัดระวังที่จะไว้วางใจระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยพวกเขารู้สึกไม่แน่ใจหรือไม่ยินดีที่จะไว้วางใจเทคโนโลยีแห่งยุคสมัยนี้

ช่างฝีมือจีนสรรสร้าง “ขลุ่ยโอคารินา” ส่งออกหลายประเทศนาน 20 ปี

สิงไถ, 21 ก.พ. (ซินหัว) — โหวอี้หมิ่น ช่างฝีมือจากเมืองสิงไถ มณฑลเหอเป่ยทางตอนเหนือของจีน สรรสร้างและบรรเลงขลุ่ยรูปไข่หรือขลุ่ยโอคารินา (ocarina) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าลมขนาดเล็กที่ได้รับความนิยมทั่วโลกตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยโหวได้วิจัยและผลิตขลุ่ยโอคารินาจากไม้มาตั้งแต่ปี 2003 ปัจจุบันโหวผลิตขลุ่ยโอคารินาไม้กว่าร้อยรูปแบบราว 5,000 ชิ้นแล้ว โดยส่งขายไปยังหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โอคารินาของโหวจำนวนหนึ่งมีขนาดเท่าลูกฟุตบอล และบางส่วนมีขนาดเล็กเพียงแค่เล็บมือเท่านั้น โดยโอคารินาเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็น 12 รูเสียง 6 รูเสียง 3 ท่อและ 4 ท่อ ซึ่งล้วนให้เสียงที่นุ่มนวลและไพเราะ – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230221/35521a8622f14a34a34eb12a87c66c05/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/340654_20230221ขอบคุณภาพจาก Xinhua

การท่องเที่ยวในประเทศจีน จ่อฟื้นตัวเต็มกำลังฤดูร้อนนี้

ปักกิ่ง, 21 ก.พ. (ซินหัว) — ไชนา เดลี สื่อทางการจีน รายงานว่าตลาดการท่องเที่ยวภายในประเทศของจีน มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างเต็มรูปแบบในช่วงวันหยุดฤดูร้อนของปีนี้ หลังจากทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่จีนปรับปรุงการรับมือโรคโควิด-19 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา รายงานข่าวอ้างอิงข้อมูลจากสถาบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศจีน ระบุตัวเลขคาดการณ์การเดินทางเยือนแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศของปีนี้อยู่ที่ราว 4.55 พันล้านครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 73 เมื่อเทียบปีต่อปี และคิดเป็นราวร้อยละ 76 ของการเดินทางเยือนแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศของปี 2019 สถาบันฯ ระบุตัวเลขคาดการณ์รายได้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวภายในประเทศของปีนี้อยู่ที่ราว 4 ล้านล้านหยวน (ราว 20.16 ล้านล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 89 จากปีก่อน และคิดเป็นราวร้อยละ 71 ของรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวภายในประเทศของปี 2019 นอกจากนั้น ยังคาดการณ์สภาวะตลาดการท่องเที่ยวขาออกต่างประเทศของปีนี้ในเชิงบวก โดยจำนวนการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศของชาวจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบปีต่อปี อยู่ที่ราว 90 ล้านครั้ง- สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230221/363795f28ea6402a91f9bdae6f83a119/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/340652_20230221ขอบคุณภาพจาก Xinhua

เทสลาเริ่มส่งมอบรถยนต์ “รุ่นผลิตในจีน” สู่ลูกค้าในไทย

เทสลา (Tesla) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ได้เริ่มส่งมอบรถยนต์ รุ่นโมเดล3 (Model 3) และรุ่นโมเดล วาย (Model Y) ที่ผลิตในจีนให้กับลูกค้าในประเทศไทยชุดแรก

จีนพบ “ลาป่ามองโกเลีย” สัตว์หายาก ใกล้พรมแดนตอนเหนือ

ทีมเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนป่า เขตปกครองตนเองมองโกเลีย พบฝูง “ลาป่ามองโกเลีย” สัตว์หายาก จำนวน 8 ตัว ในเขตอนุรักษ์ ใกล้พรมแดนตอนเหนือ

นครเหอเฝยเริ่มให้บริการ “รถเมล์ไร้คนขับ” บนท้องถนน

รถโดยสารประจำทางขับเคลื่อนอัตโนมัติ 2 คัน เริ่มให้บริการในนครเหอเฝย เมืองเอกของมณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน บนเส้นทางความยาวรวม 15 กิโลเมตร

“เครื่องจักรสร้างตึกสูง” สร้างเสร็จ 1 ชั้น ในเวลา 4 วัน

อู่ฮั่น, 19 ก.พ. (ซินหัว) — พาชมหนึ่งในเครื่องจักรสร้างตึกระฟ้าของจีนที่สถานที่ก่อสร้างในนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีน ซึ่งสามารถสร้างโครงสร้าง 1 ชั้นได้ในเวลาประมาณ 4 วัน ปัจจุบันจีนจำเป็นต้องสร้างตึกสูงเพิ่มขึ้นควบคู่กับการขยายตัวของความเป็นเมือง จึงนำไปสู่การคิดค้นเครื่องจักรเทคโนโลยีขั้นสูงหลายรูปแบบ เช่น เครื่องสร้างตึกระฟ้า ซึ่งประยุกต์ใช้สารพัดเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เปาเจ๋อติ่ง เจ้าหน้าที่บริษัท ไชน่า สเตต คอนสตรักชัน เอ็นจิเนียริง คอร์เปอเรชัน จำกัด หรือซีเอสซีอีซี กรุ๊ป (CSCEC Group) เผยว่าเครื่องจักรดังกล่าวเป็นแพลตฟอร์มแบบบูรณาการที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้คนงานสามารถทำงานที่โครงสร้างเหล็กด้านบน โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกบางส่วนติดตั้งอยู่บนแพลตฟอร์ม เช่น ห้องน้ำ เครื่องเกลี่ยคอนกรีต ลิฟต์ และอุปกรณ์ดับเพลิง เปาระบุว่าเครื่องจักรสร้างตึกระฟ้าทำให้คนงานมีสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงบนที่สูง โดยสามารถต้านทานพายุไต้ฝุ่นรุนแรงระดับ 10 ขณะความเร็วของงานก่อสร้างที่สนับสนุนโดยเครื่องจักรขนาดยักษ์นี้อาจเพิ่มได้มากกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับโครงการทั่วไป นอกจากนั้นเปากล่าวว่าเครื่องจักรข้างต้นมีเสาสีแดง 12 ต้นคอยรองรับ ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถการรับน้ำหนักในแนวดิ่ง พร้อมเสริมว่าการสร้างอาคารสูงระฟ้าด้วยเครื่องจักรนี้ค่อนข้างประหยัดค่าใช้จ่าย โดยหลังจากจบงานนี้เราจะส่งมอบให้โครงการถัดไป – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230217/14f54f71334342328e3654a25f352f39/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/340110_20230219ขอบคุณภาพจาก Xinhua

1 14 15 16 17 18 29
...