สถานีไฟฟ้าพลังน้ำ ‘ไป๋เฮ่อทาน’ ทดสอบหน่วยผลิตสุดท้ายสำเร็จ

สถานีไฟฟ้าพลังน้ำไป๋เฮ่อทานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้ดำเนินการทดสอบหน่วยผลิตจนเป็นที่ยอมรับครบทั้ง 16 หน่วยแล้ว เมื่อนับถึงวันจันทร์ (27 ก.พ.) หลังจากหน่วยผลิตหมายเลข 9 ผ่านการทดสอบเป็นที่เรียบร้อย

หนิงเซี่ยบูรณะถ้ำเก่าแก่ 1,500 ปี คืบหน้าแล้วกว่าครึ่ง

กู้หยวน, 2 มี.ค. (ซินหัว) — สำนักการจัดการโบราณวัตถุหมู่ถ้ำซวีหมีซาน (Xumishan Grottoes) ในเขตหยวนโจว เมืองกู้หยวน เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ได้จัดส่งบุคลากรมืออาชีพและเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคร่วมดำเนินงานอนุรักษ์และบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในถ้ำอย่างเป็นระบบตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังของถ้ำแห่งนี้ นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง (ปี 1644-1911) โดยขณะนี้การดำเนินงานคืบหน้าแล้วมากกว่าครึ่ง หมู่ถ้ำซวีหมีซานถูกสร้างขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปี 386-534) และมีประวัติยาวนานกว่า 1,500 ปี ถือเป็นซากโบราณสถานประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญบนเส้นทางสายเหนือส่วนตะวันออกของเส้นทางสายไหมโบราณ ทั้งยังเป็น 1 ใน 10 ถ้ำชั้นนำของจีน ทั้งนี้ จิตรกรรมฝาผนังของหมู่ถ้ำซวีหมีซานเผชิญสารพัดปัญหา เช่น การหลุดลอกของพื้นผิว การหลุดร่อนของสี รอยแตก ขณะถ้ำบางแห่งมีน้ำไหลซึมอย่างรุนแรง เนื่องจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติและความเสียหายที่เกิดจากฝีมือมนุษย์เป็นเวลาหลายปี – สำนักข่าวซินหัว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/342778_20230302ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนพบ ‘แหล่งน้ำมัน-ก๊าซ’ ขนาดใหญ่ในทะเลโป๋ไห่

เทียนจิน, 2 มี.ค. (ซินหัว) — เมื่อวันพุธ (1 มี.ค.) บริษัทน้ำมันนอกชายฝั่งแห่งชาติจีน (CNOOC) ประกาศการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซในทะเลโป๋ไห่ โดยคาดการณ์ว่ามีปริมาณสำรองน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสูงเกิน 100 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมัน บ่อน้ำมันโป๋จง 26-6 (Bozhong 26-6) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณน่านน้ำตอนใต้ของทะเลโป๋ไห่ ณ ความลึกเฉลี่ย 22.1 เมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครเทียนจินทางตอนเหนือของจีนราว 170 กิโลเมตร บ่อน้ำมันแห่งใหม่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้วสูงเกิน 130 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมัน ซึ่งจะสามารถผลิตน้ำมันดิบมากกว่า 20 ล้านตัน และก๊าซธรรมชาติมากกว่า 9 พันล้านลูกบาศก์เมตร หากอ้างอิงอัตราการนำมาใช้ตามปกติ โจวซินหวย ซีอีโอของบริษัทฯ ระบุว่าการค้นพบบ่อน้ำมันโป๋จง 26-6 ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการค้นพบเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ของแหล่งน้ำมันและก๊าซสำรองแบบภูเขาใต้ดินทางตอนใต้ของทะเลโป๋ไห่ ทั้งยังเผยโอกาสอันสดใสของการสำรวจน้ำมันและก๊าซในพื้นที่ดังกล่าวด้วย – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230301/36de9a347a4242db85d9f1238c97849b/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/342664_20230302ขอบคุณภาพจาก Xinhua

เสฉวนจับภาพล้ำค่า ‘แพนด้ายักษ์’ หาน้ำดื่มกลางกองหิมะขาว

เมื่อไม่นานนี้ เจ้าหน้าที่ประจำอุทยานแห่งชาติแพนด้ายักษ์เขตหวังหล่าง อำเภอผิงอู่ เมืองเหมียนหยาง มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ ได้เผยแพร่ภาพอันล้ำค่าของแพนด้ายักษ์ป่าขณะด้อมๆ มองๆ หาน้ำดื่มกลางผืนหิมะขาว

ปักกิ่งออก ‘กฎประหยัดน้ำ’ ลงโทษใช้น้ำสิ้นเปลือง

ปักกิ่ง, 1 มี.ค. (ซินหัว) — วันพุธ (1 มี.ค.) กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน เริ่มบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ว่าด้วยการประหยัดน้ำ ซึ่งมุ่งมอบความคุ้มครองทางกฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับความพยายามในการอนุรักษ์น้ำ เมื่อเทียบกับคำสั่งฉบับก่อนหน้า กฎระเบียบใหม่ได้ยกระดับและปรับปรุงกรอบทางกฎหมายของมาตรการประหยัดน้ำ โดยมีผลครอบคลุมกระบวนการใช้น้ำทั้งหมด รวมถึงกำหนดบทลงโทษทางกฎหมายกรณีการใช้น้ำโดยสิ้นเปลืองอย่างรอบด้านยิ่งขึ้น “ในอดีต เราไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายที่จะลงโทษการใช้น้ำเพื่อจัดสวนและดับเพลิงอย่างไม่ถูกต้อง แต่กฎระเบียบใหม่ได้กำหนดบทลงโทษการกระทำดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้ว” จางเลี่ยง เจ้าหน้าที่องค์การน้ำประปากรุงปักกิ่งกล่าว จางระบุว่าบุคคลและหน่วยงานที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะอย่างผิดกฎหมายจะถูกปรับสูงสุด 10,000 หยวน (ราว 50,600 บาท) และ 100,000 หยวน (ราว 507,000 บาท) ตามลำดับ อนึ่ง กรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นบ้านของประชากรกว่า 21 ล้านคน ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมาเป็นเวลานาน และปัจจุบันพึ่งพาน้ำประปาที่ถ่ายโอนมาจากภูมิภาคตอนใต้เป็นหลัก องค์การฯ เปิดเผยว่าโครงการผันน้ำจากใต้สู่เหนือของจีนได้ถ่ายโอนน้ำกว่า 8.4 พันล้านลูกบาศก์เมตรจากแม่น้ำสายหลักทางตอนใต้ของประเทศมายังกรุงปักกิ่ง ตลอดช่วงปี 2014-2022. – สำนักข่าวซินหัว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://english.news.cn/20230301/deeb35a7fc094fc3a9b804fc423abb99/c.htmlขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนขุดพบ ‘คูน้ำป้องกันเมือง’ ฝีมือมนุษย์ เก่าแก่ 6,000 ปี

สถาบันโบราณคดีเมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน เปิดเผยการค้นพบคูน้ำป้องกันเมืองที่มีอายุย้อนไปราว 6,000 ปีก่อน ที่แหล่งโบราณคดีซูหยางในอำเภออี๋หยาง หลังจากเริ่มงานขุดค้นเมื่อต้นปี 2021

ท่องแลนมาร์กวัฒนธรรมแห่งใหม่ของเซี่ยงไฮ้ ใน 1 นาที

เซี่ยงไฮ้, 28 ก.พ. (ซินหัว) — สำนักข่าวซินหัวพาบินโดรนผ่านมุมมองบุคคลที่หนึ่ง (FPV drone) เพื่อลัดเลาะสำรวจเสน่ห์ของแลนมาร์กเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ในนครเซี่ยงไฮ้ทางตะวันออกของจีน อาทิ ชุมชนสวนจาง (Zhang Yuan) ห้องสมุดสวีเจียฮุ่ย (Zikawei Library) และย่านการค้าและวัฒนธรรมเซี่ยงไฮ้ ซูเหอวาน ว่านเซี่ยง เทียนตี้ (Shanghai Suhewan MIXC World) ทั้งนี้ การท่องเที่ยวของเซี่ยงไฮ้เริ่มกลับมาฟื้นตัว หลังแลนมาร์กใหม่เหล่านี้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้แวะเวียนมาเยี่ยมชมได้เป็นจำนวนมาก – สำนักข่าวซินหัว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/342318_20230228ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ยูนนานออกกฎพิทักษ์ “ต้นชาโบราณ” เกือบ 20 ล้านต้น

คุนหมิง, 28 ก.พ. (ซินหัว) — มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้ออกข้อบังคับ 30 ประการ ซึ่งมุ่งคุ้มครองต้นชาโบราณอายุกว่า 100 ปี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. เป็นต้นไป การแถลงข่าวจากคณะกรรมการถาวรประจำสภาประชาชนมณฑลอวิ๋นหนาน เมื่อวันจันทร์ (27 ก.พ.) ระบุว่าข้อบังคับทั้งหมด 30 ประการ มุ่งแก้ไขสารพัดปัญหาอันเกี่ยวข้องกับการปกป้อง การจัดการ การวิจัย และการใช้ประโยชน์จากต้นชาป่าและต้นชาปลูกอายุกว่า 100 ปี ข้อบังคับข้างต้นกำหนดบทบัญญัติเพื่อการปกป้องทรัพยากรต้นชาโบราณตามหลักวิทยาศาสตร์อย่างครบวงจร การจัดการการเจริญเติบโตของต้นชาโบราณ การคุ้มครองทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปลูกถ่าย การใช้ประโยชน์ และการกำจัดต้นชาโบราณ ทั้งนี้ อวิ๋นหนานมีทรัพยากรต้นชาโบราณอยู่มากมาย โดยผลสำรวจเบื้องต้นชี้ว่ามีต้นชาโบราณกระจายตัวอยู่ทั่วมณฑลเกือบ 20 ล้านต้น ทำให้อวิ๋นหนานกลายเป็นภูมิภาคผลิตชาที่มีนัยสำคัญ ขณะที่ชาถือเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมจีนมาตั้งแต่โบราณกาล โดยมีการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป และเติมรสชาติมาเนิ่นนานหลายยุคหลายสมัย จีนนั้นเป็นต้นกำเนิดชา 6 ชนิด ได้แก่ ชาเขียว ชาเหลือง ชาแดง […]

ประชากร “โลมาหัวบาตรหลังเรียบแยงซี” ในจีน ทะลุ 1,200 ตัว

ปักกิ่ง, 28 ก.พ. (ซินหัว) —วันอังคาร (28 ก.พ.) กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีน แถลงผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของกระทรวงฯ ในปี 2022 พบจำนวนโลมาหัวบาตรหลังเรียบแยงซีอยู่ที่ 1,249 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.42 จากเมื่อ 5 ปีก่อน หม่าอี เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีน ระบุว่าจำนวนโลมาหัวบาตรหลังเรียบแยงซีที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากคำสั่งห้ามจับปลาตามน่านน้ำสำคัญของลุ่มแม่น้ำแยงซี ระยะ 10 ปี ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2021 ด้วยเป้าหมายอนุรักษ์ระบบนิเวศวิทยา โดยโลมาชนิดนี้หรือที่รู้จักในชื่อ “แพนด้ายักษ์แห่งผืนน้ำ” เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาในลุ่มแม่น้ำแยงซี ขณะเดียวกันทรัพยากรชีวภาพสัตว์น้ำสายพันธุ์อื่นๆ ตามน่านน้ำสำคัญของลุ่มแม่น้ำแยงซีมีการฟื้นตัวขึ้นเช่นกัน โดยมีการตรวจพบปลาในลุ่มแม่น้ำแยงซีในปี 2022 จำนวน 193 สายพันธุ์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2020 ราว 25 สายพันธุ์ หม่ากล่าวว่าความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำในลุ่มแม่น้ำแยงซียังคงค่อนข้างต่ำ จึงเน้นย้ำความจำเป็นของการเพิ่มความพยายามบังคับใช้คำสั่งห้ามจับปลา และดำเนินมาตรการคุ้มครองสายพันธุ์สัตว์น้ำในลุ่มแม่น้ำแยงซีอย่างเป็นระบบ-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230228/7f62a5b5e3e94b18a4946a8abb7eef8c/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/342347_20230301ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ส่องศูนย์ถ่ายทำ ‘หนัง-ละคร’ ย้อนยุคราชวงศ์ในกุ้ยโจว

กุ้ยหยาง, 26 ก.พ. (ซินหัว) – ศูนย์การผลิตภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ฉินฮั่น มณฑลกุ้ยโจว ได้ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ในท้องถิ่น กลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการถ่ายทำภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ยอดนิยมของจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำรายได้แล้วกว่า 5.52 พันล้านบาท อู๋หงฮุย รองผู้จัดการทั่วไปของบริษัท การจัดการภาพยนตร์และโทรทัศน์กุ้ยโจว อวิ๋นอิ่ง จำกัด เผยว่าการก่อสร้างศูนย์ฯ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 695 หมู่ (ราว 289 ไร่) เริ่มต้นปี 2016 และแล้วเสร็จสิ้นปี 2017 ตั้งอยู่ในเมืองตูอวิ๋น มณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ของที่นี่อ้างอิงจากยุคสมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่น อนึ่ง ศูนย์ฯ ได้รับรองการถ่ายทำภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มากกว่า 100 เรื่องแล้ว และสร้างรายได้เกี่ยวกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์กว่า 1.1 พันล้านหยวน (ราว 5.52 พันล้านบาท) – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230224/70a8cae72ac343af8d5f89d7766daacb/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/341697_20230226ขอบคุณภาพจาก Xinhua

เฉียนชุน : ทางแยกต่างระดับ “วัดใจ” ในกุ้ยโจว

กุ้ยหยาง, 26 ก.พ. (ซินหัว) — ทางแยกต่างระดับเฉียนชุน ตั้งอยู่กลางหุบเขาที่นครกุ้ยหยาง เมืองเอกของมณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน สิ่งปลูกสร้างนี้แบ่งเป็น 5 ระดับ 11 ทางลาด และ 8 ทางเข้า-ออก โดยมีจุดดิ่งสูงสุดถึง 55 เมตร – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230226/be5c6ed138224775a100d61b18315e59/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/341804_20230226ขอบคุณภาพจาก Xinhua

นักวิจัยคาด “ทะเลทรายใหญ่สุด” ของจีน ก่อตัวเมื่อ 3 แสนปีก่อน

อุรุมชี, 22 ก.พ. (ซินหัว) — คณะนักวิจัยจีนค้นพบว่าทะเลทราย “ทากลามากัน”ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ อาจก่อตัวขึ้นเมื่อ 300,000 ปีก่อน เมื่อวันอังคาร (21 ก.พ.) จางหยวนหมิง ผู้อำนวยการสถาบันนิเวศวิทยาและภูมิศาสตร์ซินเจียง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน กล่าวว่าการค้นพบนี้มีขึ้นระหว่างการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 3 ของจีนในซินเจียง ซึ่งเริ่มต้นในเดือนธันวาคม 2021 และได้สร้างความคืบหน้าสำคัญหลายประการ ทีมนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าภูเขาเทียนซานและพื้นที่โดยรอบเป็นแหล่งสิ่งมีชีวิตในน้ำเย็นแห่งแรกของโลก โดยอ้างอิงจากการค้นพบสัตว์วงศ์แกมมาริด (gammaridea) สายพันธุ์ใหม่ ที่มีถิ่นกำเนิดในลุ่มน้ำของภูมิภาคนี้ การสำรวจดังกล่าวยังค้นพบแมลงศัตรูธรรมชาติปรสิตที่ถูกบันทึกครั้งแรกในจีน 39 ชนิด และพืชตะไคร่น้ำสายพันธุ์ใหม่อีก 2 ชนิด จางระบุเพิ่มเติมว่ามีการสร้างจุดเฝ้าสังเกตการณ์ระบบนิเวศอัตโนมัติ 26 แห่ง ในพื้นที่ที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ในซินเจียงระหว่างการสำรวจครั้งนี้ ผ่านการผสานรวมของโดรน ดาวเทียม และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT)- สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230222/33bb2886552e4c92abf5a67d272bb694/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/340919_20230222ขอบคุณภาพจาก Xinhua

1 15 16 17 18 19 31
...