ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์

11 ตุลาคม 2566 ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การทำกิจกรรม หรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพใช้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย หลอกลวงทรัพย์สินได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุบายการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ จากสถิติของศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่ามีเฟซบุ๊ก 7 รูปแบบที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอก ดังนี้ 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์ 1.เพจหน่วยงานราชการปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นข้าราชการระดับสูง สามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางคดี ให้บริการรับแจ้งความ หรือร้องทุกข์ออนไลน์ รวมถึงการรับทำเอกสารราชการออนไลน์ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ บัตรประจำตัวประชาชน อ่านบทความอุบายหลอกแจ้งความปลอม : ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน , ทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยไม่ต้องไปขนส่ง จริงหรือ ? 2.เพจบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม หุ้นปลอม ชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงินดิจิทัล เงินสกุลต่างประเทศ หุ้นพลังงาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ดื่มน้ำเย็น ทำให้ไขมันจับตัวเป็นก้อน จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปเตือนว่า การดื่มน้ำเย็นจะทำให้ไขมันจับตัวแข็งอุดตันในร่างกายนั้น สรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับดร.วราภรณ์ มลิลาศ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า เมื่อน้ำเย็นเจออุณหภูมิในปากจะถูกเปลี่ยนให้เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อร่างกายคือ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งไขมันไม่สามารถเป็นไขได้ในอุณหภูมิดังกล่าว ภาพที่เห็นในคลิปเป็นเพียงการทดลองว่าเมื่อน้ำบางประเภทถูกอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจะทำให้เป็นไข หากใช้น้ำอุ่นเลียนแบบอุณหภูมิร่างกายก็ไม่มีผลให้เกิดเป็นไข จึงควรระวังการกินไขมันมากกว่ากลัวว่าไขมันจะจับตัวเป็นไขในร่างกาย อย่างไรก็ตาม แม้น้ำเย็นจะสร้างความสดชื่นเวลาออกกำลังกาย แต่ควรกินน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่นมากกว่าน้ำเย็น เพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงานที่ต้องปรับอุณหภูมิที่เย็นเข้าสู่อุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกาย

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังเบอร์โทรอันตราย จริงหรือ ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เรื่อง เบอร์อันตราย ห้ามรับสายเด็ดขาด หากรับสายจะเป็นการยืนยันสมัครสมาชิก ทำให้เสียเงินทุกเดือนนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ⚠️ เบอร์โทรนี้ เคยเป็นข่าวในอดีต ⚠️ คือ เป็นของบริษัทให้บริการเนื้อหาเสียงแห่งหนึ่ง ที่เคยถูกร้องเรียนเกี่ยวกับการยกเลิกบริการได้ยากแต่ต่อมาได้มีการชี้แจงและแก้ไขแล้ว ตั้งแต่ราวปี 2558 อย่างไรก็ตาม ข้อความที่แชร์กัน มีส่วนที่คลาดเคลื่อน คือ การรับสายในประเทศไทย ไม่มีผลทำให้เสียค่าบริการ หรือเป็นการสมัครบริการโดยอัตโนมัติแต่อย่างใดจะต้องมีการกดยืนยันการสมัครก่อนเสมอและการจำเพียงเบอร์โทรต่าง ๆ นั้น ก็อาจจะไม่สามารถป้องกันได้ 100% เพราะมีเบอร์โทรอีกมากมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพียงเข้าใจหลักการ และ ไม่หลงกดปุ่มตามโดยทันที ที่อาจมีเบอร์โทรใดโทรมาเชิญชวนหรือเร่งเร้าให้กดยืนยันสิทธิ์ ดูเพิ่มเติม 18 พ.ค. 2564ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท ———– ข้อความที่แชร์กัน ————-บอกเพื่อนของคุณทุกคนเพื่อป้องกันการถูกแฮ็ก ทักทายด้วยคำพูดของคุณเองและส่งเฉพาะภาพและวิดีโอที่คุณสร้างขึ้นเพื่อทักทายคุณเท่านั้นสิ่งนี้ปลอดภัยสำหรับคุณครอบครัวและเพื่อนของคุณ โปรดเข้าใจว่าฉันหมายถึงอะไรให้ถูกต้อง! โทรศัพท์มือถือของทุกคนแนบบัตรธนาคารและโทรศัพท์มือถือของทุกคนมีรายชื่อติดต่อมากมาย รูปภาพทักทายแบบนี้ที่แฮกเกอร์สร้างขึ้นไม่เพียง แต่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อตัวคุณเอง แต่ยังคุกคามผู้ติดต่อทั้งหมดในโทรศัพท์เพื่อนและคนรู้จัก นี่คือความจริงที่โหดร้าย! ‼️ ! ‼️ ! […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถยนต์เกียร์ออโต้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ จริงหรือ ?

ไม่จริง ไม่ควรแชร์

น้ำมันเกียร์เมื่อใช้ไปสักพักจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม นาน ๆ เข้าก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำ และยังเหนียวหนืดกว่าเดิมอีกด้วย ซึ่งจะเกิดความร้อนในการทำงานของระบบเกียร์ และเศษโลหะที่เข้าไปปะปน จึงทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพลง

ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ จริงหรือ ?

9 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ เช่น อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ จุกแน่นท้อง เบื่ออาหาร จุกชายโครงขวา นอนไม่หลับ และคันตามผิวหนังนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย เนื่องจากอาการตับคั่งไขมัน หรือไขมันพอกตับส่วนใหญ่มักไม่มีสัญญาณบอกเหตุ ดังนั้นจึงไม่ควรกังวลเกินไปแต่หากสงสัยแพทย์มีวิธีสังเกต ดังนี้ 1. มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 (BMI > 23) หรือไม่ ? 2. ดูโรคร่วมว่ามีเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือไม่ ? 3. ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ค่าตับสูงหรือไม่ ? ข้อความที่แชร์มา 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ สัมภาษณ์เมื่อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุโรคตับคั่งไขมัน

2 ตุลาคม 2566 – ไขมันพอกตับ หรือ ตับคั่งไขมัน โรคที่หลายคนอาจเป็น แต่อาจไม่รู้ตัว โรคนี้เป็นอย่างไร และมีสาเหตุมาจากอะไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย สาเหตุของโรคตับคั่งไขมัน 1.กลุ่มโภชนาการเกิน โรคอ้วน ส่วนมากผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันมักมีรูปร่างอ้วนและมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน ทำให้เกิดการสะสมไขมันที่ตับ 2.กลุ่มสัมพันธ์โดยตรงกับโรคเบาหวาน ภาวะนี้มักเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพราะร่างกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการอักเสบของตับสูง ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของตับ นำไปสู่โรคตับคั่งไขมันได้ 3.กลุ่มซ่อนรูป คนที่มีรูปร่างผอมเพรียวก็อาจตรวจพบโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดมาจากพันธุกรรมเป็นเบาหวาน โรคตับคั่งไขมันอาการมักค่อยเป็นค่อยไป ทำให้หลายคนไม่ทราบว่ากำลังมีภาวะดังกล่าว ถึงแม้ว่าคนที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคตับคั่งไขมัน แต่ถ้าหากพูดถึงอาหารในแง่ของการเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคด้วยที่มีปัญหาเรื่องโรคตับคั่งไขมัน มักมีไขมันสะสมในเลือดสูง หลักการรักษาทำได้โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง ในกรณีผู้ป่วยเบาหวานให้ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สัมภาษณ์เมื่อ : 22 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : กล้วยเป็นสีดำ มีปรสิต ห้ามกิน จริงหรือ ?

6 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการคลิปและคำเตือนว่า กล้วยที่สุกจนเปลือกเป็นสีดำ เมื่อนำไปส่องกล้องจะพบว่ามีปรสิต พยาธิของหนอนแมลงวัน อันตรายสุด ๆ นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบ ผศ.ดร.เบญจคุณ แสงทองพราว อาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในคลิปเป็นปรสิต จริงหรือ ?ตอบ : ไม่ใช่ปรสิตหรือพยาธิแต่อย่างใด จริง ๆ แล้วเป็นหนอนแมลงวัน อาจารย์อธิบายว่า ในคลิปเป็นหนอนแมลงหวี่ แมลงหวี่เป็นแมลงวันอีกวงศ์หนึ่ง ที่มีขนาดเล็ก มักชอบตอมผลไม้ที่สุกงอม แมลงหวี่ก็มักจะมาตอม และวางไข่ ก็จะมีตัวหนอนมาชอนไชในเนื้อผลไม้ที่เราตั้งทิ้งไว้ กล้วยเป็นสีดำ เป็นกระบวนการค่อย ๆ เน่าโดยธรรมชาติแต่ไม่ใช่จุดดำจะมีหนอนเสมอไป และไม่ควรกินเมื่อผลไม้เริ่มเน่าเพราะอาจจะมีเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ปะปนอยู่ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : QUEERBAITING ? — การตลาดเจาะกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

7 ตุลาคม 2566 – สิ่งนี้…เป็นกลยุทธ์การตลาดที่นำอัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศมาเป็นจุดขาย ดึงดูดผู้คน และ สิ่งนี้…นำมาซึ่งเสียงสะท้อน ทำให้เกิดภาพจำแบบเหมารวม ด้วยความเข้าใจผิด ต่อความหลากหลายทางเพศ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนไม่หลับ

8 ตุลาคม 2566 – การนอนไม่หลับทางการแพทย์เป็นยังไง เราจะต้องรักษาและปรับวิธีพฤติกรรมอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวังเพจปลอม ! ชวนลงทุน แอบอ้าง AIS

7 ตุลาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ภาพโฆษณา “AIS ชวนลงทุนผ่านสื่อออนไลน์ รับผลตอบแทนสูง” นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อเพจปลอม แอบอ้างผู้บริหารของ AIS 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บริษัท AIS ออกประกาศยืนยันว่า ข้อความและภาพโฆษณาดังกล่าวไม่เป็นความจริง และทางบริษัทฯ ไม่มีนโยบายและไม่มีการโฆษณา เชิญชวนการลงทุนผ่านช่องทางออนไลน์ หรือสื่อโซเชียลต่าง ๆ ทั้ง เฟซบุ๊ก (Facebook) หรือ ไลน์ (LINE) ทั้งสิ้น 🎯อุบายของคนร้าย จะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมและจ่ายเงินซื้อโฆษณา ทำให้คนเห็นจำนวนมาก จงใจใช้ภาพโลโก้และภาพผู้บริหารของ AIS เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ รวมถึงใช้คำโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่เป็นความจริง ทั้ง การเทรดหุ้นระยะสั้นให้ผลตอบแทนสูงและมือใหม่ก็ลงทุนได้แม้ทุนน้อย หากสนใจจะต้องติดต่อผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งจะมีคนร้ายอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ จากนั้นจะหลอกล่อให้ผู้เสียหายโอนเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ 🎯ในข่าวประชาสัมพันธ์ของ AIS ระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการนำข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: โจรอ้าง กสทช. ใช้ซิมผิดกฎหมาย หลอกโอนเงินเกลี้ยง

6 ตุลาคม 2566 ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถือเป็นหนึ่งในอาชญกรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเสียหายให้กับคนจำนวนมาก มีรูปแบบการทำงานเป็นขบวนการ แบ่งหน้าที่กันทำ ทั้งการหลอกลวงผู้เสียหายให้เกิดความหวาดกลัว ใช้ความไม่รู้ของผู้เสียหายเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนในสังคม เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งสินค้า และแจ้งไปยังผู้เสียหายว่าบัญชีธนาคาร หรือพัสดุที่จัดส่งไปยังต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดกฎหมาย บัญชีธนาคารถูกอายัด หรือเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด รวมถึงหลอกสอบถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้แล้วยังมีการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของหน่วยงานปลอมที่สามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือและโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหายได้ และตอนนี้อุบายล่าสุดที่คนร้ายใช้ในการหลอกผู้เสียหาย คือ การแอบอ้างเป็นพนักงานผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดกลโกงกระบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้าง กสทช. ! เริ่มต้นมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหาย พร้อมบอกชื่อ นามสกุลอย่างถูกต้อง และแจ้งว่าผู้เสียหายได้เปิดใช้บริการซิมโทรศัพท์มือถือในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล โดยหมายเลขที่เปิดใช้บริการในชื่อของผู้เสียหายนั้น ถูกนำไปใช้กระทำผิดกฎหมาย หรือถูกนำไปใช้หลอกลวงบุคคลอื่น โดยแจ้งอีกว่า หากผู้เสียหายไม่ได้เป็นผู้เปิดใช้บริการ ให้ไปดำเนินการแจ้งความยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ถูกเปิดใช้งานดังกล่าว แต่หากไม่สามารถเดินทางไปได้ สามารถทำการแจ้งความออนไลน์ผ่านช่องทางไลน์ของสถานีตำรวจดังกล่าวได้ เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดต่อไปยังไลน์สถานีตำรวจซึ่งถูกมิจฉาชีพปลอมขึ้นแล้ว ระหว่างการติดต่อ ผู้เสียหายจะได้รับแจ้งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ต้องทำการโอนเงินที่มีอยู่ในบัญชีมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : ระวังมุกใหม่ ! รับสมัครนักพากย์เสียง ที่แท้หลอกโอนเงิน

6 ตุลาคม 2566 จากสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – วันที่ 30 กันยายน 2566 พบว่า การหลอกลวงโอนเงินเพื่อหารายได้เสริมจากการทำกิจกรรม มีผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์กว่า 44,250 เรื่อง หรือคิดเป็น 13.20% จากเรื่องการรับแจ้งความทั้งหมด สูงเป็นลำดับที่ 2 รองจากการหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์ โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 5,425 ล้านบาท สูงเป็นลำดับที่ 3 ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด รองลงมาจากการหลอกลวงให้ลงทุน และการหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นขบวนการ (แก๊ง Call Center) และตอนนี้หนึ่งในกลโกงที่มิจฉาชีพนำมาใช้หลอกผู้เสียหาย คือ การรับสมัครนักพากย์เสียงผ่านทางสื่อออนไลน์ โดยใช้รูปนักแสดงหญิงชื่อดังมาแอบอ้าง ทำให้มีคนหลงเชื่อและสูญเสียเงิน วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูกันว่า กระบวนการของมิจฉาชีพเป็นอย่างไร สร้างเพจปลอม ยิงโฆษณา หลอกทำภารกิจและให้โอนเงินก่อน ! เริ่มจากมิจฉาชีพจะสร้างบัญชีสื่อออนไลน์ปลอม ทั้ง  Facebook Page Instagram […]

1 71 72 73 74 75 278
...