ชัวร์ก่อนแชร์ : เลือกน้ำดื่ม ต้องดูค่าความด่าง จริงหรือ ?
จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์
จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์
สิ่งนี้…โจมตีเป้าหมายด้วยทักษะทางคอมพิวเตอร์ สิ่งนี้…ขับเคลื่อนด้วยอุดมการณ์ของกลุ่มผู้กระทำ และสิ่งนี้…พบเป็นคดีเจาะฐานข้อมูลคนไทย 55 ล้านรายชื่อ จากช่องโหว่เว็บไซต์หน่วยงานรัฐ คือคำว่าอะไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัย HACKTIVISM คืออะไร ? : กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ใช้เทคโนโลยีในการแฮกข้อมูล วัตถุประสงค์ คือ : เคลื่อนไหวทางการเมืองบนโลกออนไลน์ เพื่อบอกไอเดีย จุดยืน หรืออุดมการณ์ ตัวอย่าง HACKTIVISM -เหตุการณ์ 9Near การแฮกข้อมูลของคนทั้งประเทศสร้างความหวาดหวั่นให้แก่ชาวไทยเป็นอย่างมาก โดยอ้างว่าจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของชาวไทย 55 ล้านคน วันที่ 2 เมษายน 2566 มีการประกาศเป้าหมายทางการเมืองและการแถลงยุติปฏิบัติการทางกลุ่มแฮกเกอร์ประกาศผ่านเว็บไซต์ว่าจะยุติปฏิบัติการนี้แล้ว โดยระบุว่า… “พวกตนไม่ต้องการทำร้ายคุณทุกคน และเราไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติการทางการเมืองตามแผนการที่พวกเขาวางไว้ ซึ่งมันกำลังสกปรกยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เราจึงไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะก่อพิบัติภัยด้านความเป็นส่วนตัวต่อไปอีก” “อย่างน้อยในช่วงไม่กี่วันมานี้ เราได้เห็นการขับเคลื่อนประเด็นที่ว่าภาครัฐควรให้ความใส่ใจกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของประชาชนอย่างไร” นอกจากนี้ พวกเขายังขัดแย้งกับกลุ่มคนที่เสนอซื้อข้อมูลหรือสปอนเซอร์กับการนำข้อมูลนี้ไปใช้ในทางที่พวกเขาไม่เห็นด้วย พวกเขาประกาศชัดเจนว่า พวกเขาเป็น Hacktivist “ข้อมูลที่พวกเขามี […]
ไม่จริง ไม่ควรแชร์
นอกจากระยะเวลาจะเป็นปัจจัยสำคัญแล้ว ปริมาณของมลพิษทางอากาศก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน
23 เมษายน 2566ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand | ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องเมืองไทยตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ | ทำงานร่วมกับ Juan Piero Solis จาก Verificador, La República เปรู ตามที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวสเปนคนหนึ่ง กล่าวในรายการโทรทัศน์เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ระบุว่า “ในประเทศไทย หากผู้ชายพยายามข่มขืน หรือ ข่มขืนผู้หญิง ชายคนนั้นจะถูกตัดอัณฑะ (physically castrated)” ซึ่งมีการแชร์และการปฏิสัมพันธ์บน Twitter Instagram และ Tiktok กว่า 20,000 ครั้งนั้น บทสรุป ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รับการประสานตรวจสอบจาก Verificador หน่วยตรวจยืนยันข้อมูล ของสื่อ La República ในประเทศเปรู ว่า มีการกล่าวอ้างที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย โดยมีนักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรีชื่อ […]
23 เมษายน 2566 กรุงเทพฯ – 23 เมษายน 2566 — กองทุนสื่อฯ ร่วมกับ Wisesight จัดประชุมเสวนาออนไลน์ วิเคราะห์ผลการศึกษาการสื่อสารในโลกออนไลน์ของสังคมไทยในปี 2565 และแนวโน้มทิศทางในปีถัดไป ภายใต้หัวข้อ “จาก Trend ในโลกออนไลน์ปี 65 สู่การวิเคราะห์ทิศทางการสื่อสารออนไลน์ ปี 66” ในปัจจุบันข้อมูลในโลกออนไลน์มีความสำคัญ และถูกใช้ต่อยอดในสื่อหลักมากขึ้น จนเรียกได้ว่าสื่อออนไลน์กลายเป็นสื่อกระแสหลักแทนที่สื่อหลักเดิม ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ตามมาคือ สื่อจะขับเคลื่อนด้วยการค้ามากขึ้น เช่น ต้องการจำนวนยอดไลก์ จำนวนคลิกเบตเพื่อหวังรายได้ จึงเห็นได้ว่า สื่อในยุคปัจจุบันการพาดหัวให้ดึงดูด หรือทำให้ผู้เสพสื่อมีอารมณ์ร่วมเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันการใช้ข้อมูลหลักจากโลกออนไลน์ ก็ส่งผลต่อคุณภาพของสื่อที่ลดลงเช่นกัน ดร. ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนสื่อฯ กล่าวว่า “Digital Society ทำให้ทุกคนเป็นสื่อ เราไม่ได้เป็นเพียงผู้รับอย่างเดียว” ซึ่งผู้ใช้สื่อออนไลน์ในปัจจุบัน มีความเป็น Smart Consumer คือจะปกป้อง และให้ความสำคัญกับสิทธิของตัวเองมากขึ้น อีกทั้งยังมีการแสดงออกทางความคิดอย่างเปิดเผย โดย Wisesight […]
ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ | ชัวร์ก่อนแชร์ CLASSIC COLLECTION ตามที่มีการแชร์ ให้ระวัง “ข้าวหอมและไม่หอม ยี่ห้อที่ไม่ควรซื้อ เพราะมีอันตราย” นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ชุดข้อความดังกล่าวมีการเผยแพร่ส่งต่อกันตั้งแต่ปี 2556 สืบเนื่องมาจากกรณีเหตุการณ์ภายหลัง นายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ พิธีกรรายการ คนค้นฅน ได้โพสต์ข้อความบน Facebook ส่วนตัว เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 ซึ่งมีเนื้อหาเตือนให้ระวังอันตรายข้าวจากโรงสีข้าวบางแห่ง และข้าวที่รับซื้อไปจำหน่าย ซึ่งในขณะนั้นทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง จนทำให้บริษัทและโรงสีข้าวที่ถูกกล่าวถึงออกมาตอบโต้และฟ้องร้องดำเนินคดี เว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ รายงานเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2556 บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตข้าวสารบรรจุถุงตราฉัตร แจ้งความดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ด้านเจ้าของโรงสีข้าวทรัพย์อนันต์ ได้เข้าแจ้งความที่ สภ.เมืองสุรินทร์ ขณะที่ บริษัท เอเชีย […]
21 เมษายน 2566เรียบเรียง : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล โรคลมแดด หรือ ฮีตสโตรก (Heat Storke) เกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัยด้วย พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน เกิดจากการอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิต กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ของวันที่ 21-13 เมษายน พ.ศ. 2566 หลายพื้นที่ค่าดัชนีความร้อนสูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียส และมีบางพื้นที่อุณหภูมิสูงมากกว่า 50 องศาเซลเซียส ดัชนีความร้อน คืออะไร “ดัชนีความร้อน” คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้นว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปรากฏในขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยค่าดัชนีความร้อนคำนวณมาจากค่าอุณหภูมิอากาศและค่าความชื้นสัมพัทธ์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ระบุความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนได้ เนื่องจากช่วงนี้ค่าดัชนีความร้อนสูงมากหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน จึงมีการเตือนภัยหลายระดับดังต่อไปนี้ สีเขียว เฝ้าระวัง ดัชนีความร้อน 27.0-31.9 องศาเซลเซียส ผลกระทบต่อสุขภาพ อ่อนเพลีย […]
แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม
การเลเซอร์ผ่านช่องปาก สามารถรักษาอาการนอนกรนได้เฉพาะผู้ป่วยบางรายเท่านั้น แพทย์อาจจะพิจารณาการรักษาซ้ำ หรือ แนะนำทางเลือกในการรักษาอื่น ๆ ที่เหมาะสมมากกว่าต่อไป
รายงานผู้ป่วยและเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศ นำมาจากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ผู้คนหวาดกลัวเกินจริง
20 เมษายน 2566เรียบเรียง : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล และ พีรพล อนุตรโสตถิ์ สาเหตุที่ 20 เมษา เป็นวันกัญชาโลก นั้น ยังมีข้อมูลหลายชุด แต่ชุดข้อมูลที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาอธิบาย คือจุดเริ่มต้นของ “วันกัญชาโลก” (World Cannabis Day) มาจากเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ. 2514 ที่กลุ่มนักเรียนไฮสคูลซาน ราฟาเอล จำนวน 5 คน ในเมืองซานราฟาเอล รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เรียกกลุ่มตนเองว่า เดอะวอลโดส์ (The Waldos) นัดกันทำกิจกรรมตามหาไร่กัญชาที่เชื่อว่าถูกทิ้งร้างอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งของเมืองกลุ่มนักเรียนใช้รูปปั้นของหลุยส์ ปาสเตอร์ ในโรงเรียนเป็นสถานที่นัดพบกันเวลา 4.20 p.m. (ช่วงสี่โมงเย็น) เพื่อสูบกัญชาและเริ่มต้นแสวงหากัญชาในตำนาน โดยเรียกแผนนี้ว่า “สี่ยี่สิบหลุยส์” แต่แผนการล้มเหลวหลายครั้งและไม่เคยพบกัญชาที่ซ่อนอยู่ ช่วงหลัง ๆ เรียกชื่อแผนย่อเหลือแค่คำว่า “สี่ยี่สิบ” จนต่อมากลายเป็นรหัส 420 (Four […]
วิธีหลอก : ปลอมบัญชีสื่อสังคมออนไลน์เป็นบุคคลที่เรารู้จักอุบาย : พูดคุยสร้างความน่าเชื่อถือ ใช้ความรัก หรือคำพูดที่ดูน่าสงสาร มาหลอกลวงให้โอนเงินช่องทาง : แอปพลิเคชัน LINE และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ตำรวจไซเบอร์เตือนประชาชน ระมัดระวังมิจฉาชีพปลอมบัญชีสื่อสังคมออนไลน์เป็นบุคคลที่รู้จัก สร้างโปรไฟล์ปลอมมาพูดคุย ใช้ความรัก และคำพูดที่ดูน่าสงสาร หลอกให้เหยื่อโอนเงินให้ ทำให้สูญเงินจำนวนหลายแสนบาท กรุงเทพฯ 20 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ฝากเตือนประชาชน ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีผู้เสียหาย ซึ่งเป็นภรรยาของนักร้องเพลงร็อกชื่อดัง ถูกมิจฉาชีพใช้บัญชีไลน์ปลอมของบุตรชายติดต่อเข้ามาพูดคุย สร้างความน่าเชื่อถือโดยการใช้ชื่อบัญชี ภาพโปรไฟล์ปลอม ใช้ความรัก และคำพูดที่ดูน่าสงสาร เพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้เชื่อว่า เป็นบุตรชายของตนจริง กระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อรีบโอนเงินให้มิจฉาชีพจำนวนหลายแสนบาท ต่อมาทราบว่าถูกหลอกลวงจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้สืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย สถิติความเสียหายรวมมากกว่า 312 ล้านบาทบช.สอท. ได้เปิดเผยรายงานสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ นับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 65 – 16 […]