ทช. แจ้งด่วนทุกจังหวัด เตือนกินหมึกบลูริงพิษถึงตาย

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสั่งหน่วยงานภูมิภาคทุกจังหวัด ประชาสัมพันธ์ประชาชน ห้ามบริโภคหมึกบลูกริง เลี่ยงสัมผัส และแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบทันที พร้อมขยายผลเฝ้าระวังปลาปักเป้า แมงกะพรุนกล่อง และเหรา

เร่งแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งสงขลา

สงขลา 29 พ.ย. 63 – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ วาง 3 มาตรการช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลสงขลาหวังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่ติดตามสถานการณ์ และแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณแหลมสมิหลา และหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา เพื่อรักษาระบบนิเวศชายฝั่ง และลดผลกระทบประชาชนพื้นที่ในอนาคต ทั้งนี้นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายจตุพร​ บุรุษพัฒน์​ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​​ ,อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง​ ,อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี​ ,อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ​ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือบูรณาการทำงานแก้ปัญหาร่วมกัน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวด้ลอม กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหา​การกัดเซาะชายฝั่ง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจธรรมชาติ​ให้มากที่สุด แล้วนำมาปรับใช้แก้ปัญหาอย่างเหมาะสม โดยทุกหน่วยงานจะต้องบูรณาการร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างยั่งยืน ทั้งการแก้ไขเฉพาะหน้า​ และในระยะยาว ​ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญและห่วงใยผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน​ โดยการแก้ไขปัญหา​จุดหนึ่งจะต้องไม่กระทบอีกจุดหนึ่ง​ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ให้ความสำคัญและเข้าใจในเรื่องนี้​  โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน​ ​มอบหมายกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง​ แบ่งกลุ่มหาดในประเทศไทยออกเป็น​ 8​ กลุ่มหาด  และกำหนด 3 มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่น ประกอบด้วย​ 1.มาตรการสีขาว​ เช่น​ การกำหนดพื้นที่ถอยร่นให้พื้นที่ชุมชนที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง 2.มาตรการสีเขียว เป็นการใช้โครงสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม​ เช่น​ การปลูกป่าช่วยชายฝั่งทะเลถูกคลื่นกัดเซาะ การปักเสาไม้ไผ่ดักตะกอนป่าชายเลน​ และ 3.มาตรการสีเทา​ เป็นการใช้โครงสร้างแข็งช่วยในการป้องกันคลื่น​ เช่น​ การสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันคลื่นชายฝั่ง เป็นต้น​  อย่างไรก็ตามกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ จะเป็นหน่วยงานหลักประสานกับทุกหน่วยงาน​ ร่วมกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะให้มีประสิทธิภาพ และไม่เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง ระบบนิเวศทางทะเล ที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตของประชาชน​อย่างยั่งยืน .-สำนักข่าวไทย

เร่งแก้ปัญหากลุ่มชาติพันธุ์เกาะหลีเป๊ะ​

สตูล 28 พ.ย.63 – เปิดโครงการส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์เกาะหลีเป๊ะ​ จ.สตูล​  ชูการอนุรักษ์วิถีชีวิตท้องถิ่น กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นายวราวุธ​ ศิลปอาชา​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​  (รมว.ทส.)​  พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง​ฯ​ ลงพื้นที่​ชุมชนชาวเลเกาะหลีเป๊ะ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล​ เพื่อติดตามการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลในพื้นที่ผืนสุดท้ายที่ชนะคดีความ​ โดยเยี่ยมชมชุมชนกลุ่มบ้านปาดัก​ และรับฟังปัญหาข้อคิดเห็น​ ข้อเสนอแนะ​ ของชาวเลกรณีที่ดิน​ สค1 เลขที่​ 11​ ออกเอกสารสิทธิเกินพื้นที่มากกว่า​ 30​ ไร่​ ทับซ้อนพื้นที่ชุมชนชาวเล​ 125​ ครอบครัว​  ซึ่งปัจจุบันไม่มีสิทธิในการซ่อมแซมและปรับปรุงบ้าน​ จากนั้นได้รับฟังข้อเสนอแนวทางการใช้พื้นที่สุสานเป็นพื้นที่สาธารณะ​ และร่วมพิธี​ “ปูญาลาโว้ย” สู่เขตคุ้มครองทางวัฒนธรรม​  โดยขบวนเรือได้แห่เรือเข้าฝั่ง​ ซึ่งนายวราวุธ ได้ทำการผูกผ้าหัวเรือ เป็นประธานเปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล​ ครั้งที่​ 11​ และเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือ​ “ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ สถาบันวิจัยสังคม​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน​ (องค์การมหาชน)​ ศูนย์มานุษยาสิรินธร​ (องค์การมหาขน)​ มูลนิธิชุมชนไท​ มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ​ เครือข่ายชาวเล​ และเครือข่ายกะเหรี่ยง​ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กล่าวว่า ขอบคุณและขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเกาะหลีเป๊ะทุกกลุ่ม​ โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและมีความห่วงใยในการแก้ไขปัญหา​ เนื่องจากปัญหามีความสลับซับซ้อน​  มีความเกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน​ สะสมมานาน​ ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาจะทำทีเดียวไม่ได้​อาจต้องใช้เวลา แต่พร้อมนำข้อเสนอหารือกับภาคส่วนต่างๆ ให้เกิดการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุด ในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ จะเป็นกลไกลสำคัญที่จะผลักดันในการแก้ไขปัญหา​ทั้งในเรื่องที่ดินทำกิน​ ซึ่งหน้าที่ของกระทรวงฯ​ จะทำอย่างไรที่จะดูแล​ รักษา​ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของแผ่นดินไทยให้คงอยู่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง​ๆ​ และประชาชนอย่างยั่งยืน อีกทั้งจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง​ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาให้พี่น้องชาวเลและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ​ ให้สามารถดำรงชีวิตและอาศัยในแผ่นดินเกิดอันเป็นที่รักของตนได้​ รวมทั้งส่วนสำคัญในการอนุรักษ์และรักษาวิถีชีวิตชาวเลในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ จิตวิญญานรักและหวงแหนในแผ่นดินแห่งนี้​ สามารถเริ่มต้นที่ตัวเรา​ จาก​ 1 ตารางเมตร​ที่เรายืน​ เห็นขยะที่ไหน​ เก็บที่นั่น​ เห็นความไม่สวยงาม​ ความไม่ถูกต้อง​ ​ให้ช่วยกัน​คนละไม้คนละมือ .-สำนักข่าวไทย

พบเสือลายเมฆในป่าพนมดงรักครั้งแรกรอบ 20 ปี

พนมดงรักเตรียมจัดชุดเจ้าหน้าที่ออกติดตามรอยเท้า “เสือลายเมฆ” ที่กล้องดักถ่ายถ่ายไว้ได้ เพื่อสำรวจพื้นที่หากิน จำนวนประชากร ใช้เป็นข้อมูลในการอนุรักษ์ต่อไป เนื่องจากเป็นใกล้สูญพันธุ์ โดยที่เทือกเขาพนมดงรักนี้พบครั้งแรกในรอบ 20 ปี

พบเสือลายเมฆครั้งแรก รอบ​ 20​ ปี

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก พบเสือลายเมฆครั้งแรก​ในรอบ​ 20​ ปี บริเวณแถบป่าเทือกเขาพนมดงรัก​ ถือเป็นความสำเร็จด้านการลาดตระเวนเพื่อคุ้มครองพื้นที่ป่า​และการจัดการพื้นที่ทุ่งกบาลกะไบ

จับมือชาวตรังลดขยะพลาสติก ฟื้นความสมบูรณ์ทะเล

ตรัง 26 พ.ย.63 – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ รณรงค์ชาวจังหวัดตรง ลดการใช้พลาสติก กำจัดขยะพลาสติกให้เป็นศูนย์ หวังเป็นส่สนช่วยฟื้นฟูทะเลตรัง แหล่งขยายพันธุ์พะยูนไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานนำหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ระหว่าง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมควบคุมมลพิษ จังหวัดตรัง องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลิบง สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง มูลนิธิอันดามัน และชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังลงนามบันทึกข้อตกลง “ขับเคลื่อนตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาขยะทะเลและอนุรักษ์พะยูน” เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะทะเลและอนุรักษ์พะยูน รวมทั้งเดินหน้าจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง พร้อมอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเล ปลุกคนไทยอย่าลืมบทเรียน “น้องมาเรียม” ตายจากขยะพลาสติก อีกทั้งยังส่งผลให้ปัจจุบันยังมีสัตว์ต้องตายจากขยะพลาสติกอีกมาก โดยยังได้เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนทะเลตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ที่บริเวณหาดยาว บ้านเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่อชีวิตของประชาชนและระบบนิเวศ โดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่งซึ่งมีขยะจำนวนมากถูกพัดพาลงไปสู่ทะเลจนเกิดผลกระทบและความสูญเสียตามมาอย่างมากมาย เช่นกรณี น้องมาเรียม ลูกพะยูนขวัญใจคนไทยที่ต้องมาเสียชีวิตจากการกินเศษขยะพลาสติกในทะเล ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่คนไทยจะต้องตื่นรู้และให้ความสนใจกับการจัดการขยะให้มากยิ่งขึ้น  โดยที่ผ่านมาแม้จะมีสัญญาณดีหลายอย่างเกี่ยวกับการจัดการปัญหาขยะในประเทศไทย เช่น ผลจากมาตรการงดใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ต และร้านสะดวกซื้อ ที่ทำให้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 สามารถลดปริมาณการใช้ถุงหูหิ้วพลาสติกได้ถึง 11,958 ล้านใบ หรือคิดเป็น 108,220 ตัน และเมื่อรวมกับการดำเนินโครงการอื่น ๆ สามารถลดอันดับของประเทศไทยจากประเทศที่มีขยะสูงสุดเป็นอันดับ 6 ของโลก ให้มาอยู่ที่อันดับ 10 แต่ถือเป็นเพียงก้าวแรกของการทำงานเท่านั้น เพราะข้อเท็จจริงแล้วปัญหาจากขยะและขยะทะเลยังไม่จบ วันนี้เรายังคงได้ยินข่าวการสูญเสียสัตว์จากการกินขยะพลาสติกเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องร่วมมือกันสู้ต่อไป เชื่อมั่นว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้น จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีในอนาคต เพราะหากเราไม่ร่วมมือกันวันนี้ก็ไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะต้องมีเพื่อนของน้องมาเรียม หรือสัตว์อื่น ๆ ที่ต้องตายจากไปจากปัญหาขยะ  ซึ่งหลังจากนี้ผู้เกี่ยวข้องจะต้องไปคิดกันต่อว่าจะขยายผลความร่วมมือในลักษณะนี้ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปได้อย่างไร ที่สำคัญขอความร่วมมือจากคนไทยทุกคนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองเพื่อลดขยะที่ไม่จำเป็นและขยะพลาสติกลงให้มากที่สุด เช่น การนำหลัก 3R Reduce, Reuse, Recycle มาใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ที่ตัวเราว่าจะยอมปล่อยให้พลาสติกเป็นปัญหาที่จะทำให้สภาพแวดล้อมโลกเลวร้ายลงต่อไปหรือไม่ ด้านนายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า หัวใจสำคัญของความร่วมมือทุกภาคส่วนครั้งนี้ จะทำให้เกิดความร่วมมือดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะทะเลจากต้นทาง ทั้งกิจกรรมการท่องเที่ยวปลอดขยะพลาสติกและโฟม ขับเคลื่อนครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ การนำขยะจากกิจกรรมในทะเลกลับคืนสู่ฝั่ง  มีการพัฒนาระบบการคัดแยกขยะ จัดเก็บ และการขนส่งขยะ ให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล รวมทั้งสนับสนุนธุรกิจซื้อขายขยะรีไซเคิล รวมทั้งการพัฒนามาตรการด้านการเงินการคลัง เช่น ระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียม หรือภาษีท้องถิ่นหรือภาษีสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย  ขณะที่จะต้องพัฒนาการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำบรรจุภัณฑ์กลับสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยประสานความร่วมมืออนุรักษ์พะยูน คุ้มครองแหล่งที่อยู่อาศัย หญ้าทะเล และระบบนิเวศทะเล  รวมทั้งพัฒนาและสนับสนุนกลไกความร่วมมือ อาสาสมัคร เครื่องมือ หรือกระบวนการในการจัดการ การติดตามและเฝ้าระวัง เพื่อแก้ไขปัญหาขยะทะเลและอนุรักษ์พะยูน ขับเคลื่อนตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากประชาชนในจังหวัดตรัง มีกลไกการทำงานที่สำคัญ คือคณะทำงานขับเคลื่อนตรังยั่งยืนฯ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังมาเป็นประธานด้วยตัวเอง และมีตัวแทนจากภาคีความร่วมมือต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อแก้ไขปัญหาขยะโดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่ง 5 อำเภอประกอบด้วย อ.สิเกา อ.กันตัง อ.ปะเหลียน อ.หาดสำราญ และ อ.ย่านตาขาว ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกิดการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเลให้เกิดความยั่งยืนต่อไป .-สำนักข่าวไทย

หนุนผลิตกระป๋องรีไซเคิล ต้นแบบรีไซเคิลครบวงจร

กทม. 25 พ.ย.63 – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ จับมือ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย หนุนผลิตกระป๋องรีไซเคิล หวังเป็นต้นแบบรีไซเคิลครบวงจร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จับมือภาคีเครือข่าย 6 องค์กร ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ ,มูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (3R) ,สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ,มหาวิทยาลัยมหิดล ,บริษัทไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด และหน่วยงานพันธมิตร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ส่งเสริมการผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่สามารถรีไซเคิล เพื่อสนับสนุนการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำร่องบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ประเภทกระป๋องอลูมิเนียม ด้วยการหมุนเวียนนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างครบวงจร เพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน  โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี โดยจะร่วมกันจัดทำ Roadmap ให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะทำหน้าที่สื่อสาร รณรงค์ สร้างความรู้ความเข้าใจ สนับสนุนการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนองค์ความรู้ สารสนเทศ และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน […]

ทส.เร่งตรวจสอบกระดูกวาฬโบราณบ้านแพ้ว

รมว.ทส.ติดตามการสำรวจขุดค้นโครงกระดูกวาฬ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เผยคืบหน้าร้อยละ 80 คาดรู้อายุและซากสิ่งมีชีวิตในอีก 1 เดือน

ทส.เดินหน้าลดมลพิษทางอากาศภาคเหนือ

ทส. 22 พ.ย.63 – วราวุธ มอบนโยบาย เชิงรุก ชิงเก็บ ป้องกันไฟป่าและหมอกควัน หวังลดมลพิษทางอากาศให้ได้ผลพร้อมชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ลดการใช้พาสติกในที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกตรวจราชการในช่วงวันหยุดยาว 19-21 พฤศจิกายน 2563 ติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้มอบนโยบายและแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน โดยใช้มาตรการเชิงรุก “ชิงเก็บ” แก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จ.เชียงราย  พร้อมลงนาม MOU โครงการประชาสัมพันธ์การจัดการเชื้อเพลิงจ.ลำพูน  และรณรงค์เชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมกันลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วฯ ตลาดจริงใจ-จ.เชียงใหม่ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเรื่องการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันอย่างมาก ทั้งเรื่องของการเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงปัญหาPM2.5 และลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรม เน้นการมีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่ ลดการสร้างปัญหากับพี่น้องประชาชนรวมทั้งดึงมาเป็นเครือข่ายช่วยกันแก้ปัญหา  อีกทั้งยังมีจัดระเบียบการเผา ลดเชื้อเพลิงในการเกิดไฟป่า จุดเริ่มต้นสำคัญการป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า การเตรียมความพร้อม ในการบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และใช้เทคโนโลยี ด้านสารสนเทศ เข้ามาดำเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหมอกควันไฟป่า  สำหรับมาตรการ “ชิงเก็บ” หมายถึงการบริหารเชื้อเพลิง การเก็บเอาต้นไม้ใบไม้ที่ร่วงลงดินแล้ว แปรสภาพเป็นสินค้าที่สามารถขายได้ ซึ่งหากทุกจังหวัดในภาคเหนือสามารถที่จะรวบรวมวัสดุเหลือใช้ เศษใบไม้  เศษเชื้อเพลิงเหล่านี้ไปบริหารจัดการขายได้แล้ว จะเกิดรายได้กับประชาชน และเกษตรกรจำนวนมาก โดยมั้นใจว่าจะเป็นส่วนสำคัญลดปริมาณจุดความร้อน หรือ hot spot โอกาสในการที่จะเกิดไฟป่าน้อยลงไปได้  นอกจากนี้ได้ตรวจเยี่ยมและให้ขวัญกาลังใจเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ณ อุทยานแห่งชาติขุนแจ อำเภอเวียงป่าเป้าจังหวัดเชียงราย พร้อมเยี่ยมชมกิจกรรมการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชุมชนเครือข่ายการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์ต้นน้าลาว ต่อมา รมว.ทส. ได้เดินทางมายังหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ 3 (ทุ่งกิ๊ก) อุทยานแห่งชาติแม่ปิง อ.ลี้ จ.ลำพูนเป็นประธานเปิดโครงการประชาสัมพันธ์การจัดการเชื้อเพลิงและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่า พร้อมเป็นประธานในพิธีลงนาม MOU ระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำคณะผู้บริหารกระทรวงฯลงพื้นที่ตรวจติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ อีกทั้งได้มอบบ้านในโครงการซ่อมแซมบ้านผู้พิทักษ์ จำนวน 2 หลังให้แก่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ซึ่งประสบเหตุวาตภัยในห้วงเวลาที่ผ่านมา และเยี่ยมชมกิจกรรมการบริหารจัดการเชื้อเพลิงของเครือข่ายหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ชมรมผู้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจิตอาสาแก้ปัญหาไฟป่าจังหวัดลำพูน ส่วนการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานทางธรรมชาติ ได้เดินทางไปมอบนโยบายที่จังหวัดเชียงใหม่ เดินรณรงค์การลดใช้ถุงพลาสติดแบบใช้ครั้งเดียว ที่ ตลาดจริงใจมาร์คเก็ต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยได้มอบถุงผ้า พร้อมกับปิ่นโตให้กับประชาชนที่มาจับจ่ายซื้อสินค้าในตลาดแห่งนี้ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากประชาชนในพื้นที่มนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชนต่อไปในอนาคต ด้วยจะเป็นแนวทางที่ภาครัฐและประชาชนจะได้ร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด .-สำนักข่าวไทย 

ทส.เดินหน้าป้องกันไฟป่าภาคเหนือ

เชียงราย 19 พ.ย.63 – วราวุธ ตรวจความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าภาคเหนือช่วงวันหยุด มอบนโยบายชิงเก็บก่อน ลดปริมาณเกิดไฟป่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ศูนย์ฝึกอบรมที่ 4 (เชียงราย) มอบนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันให้กับส่วนราชการต่างๆ ในระดับจังหวัดโดยมี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมอบนโยบาย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเรื่องการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันอย่างมาก โดยเฉพาะการเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ตระหนักถึงปัญหาPM2.5 และลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับแนวทางการป้องกันแก้ไข  มีทั้งการแจ้งเตือน เน้นการมีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่ ลดการสร้างปัญหากับพี่น้องประชาชน มาช่วยกันแก้ปัญหา มีจัดระเบียบการเผา ลดเชื้อเพลิงในการเกิดไฟป่า จุดเริ่มต้นสำคัญการป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า การเตรียมความพร้อม ในการบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือและใช้เทคโนโลยี ด้านสารสนเทศ เข้ามาดำเนินการ ในการปฎิบัติงานในพื้นที่ อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหมอกควันไฟป่าและการเผาไหม้ในที่โล่งเหมือนในต้นปี 2563 จึงต้องมีมาตรการหลายๆ อย่างในการป้องกัน เช่น ชิงเก็บก่อน หมายถึงการบริหารเชื้อเพลิง การเก็บเอาต้นไม้ใบไม้ที่ร่วงลงดินแล้ว ซึ่งจะเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี เก็บออกมาภายนอก ไม่ว่าจะเป็นนอกเขตป่าอนุรักษ์ หรือนอกเขตป่าสงวน  จากนั้นนำมาแปรสภาพใบไม้เศษไม้หรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรให้เป็นสินค้าที่สามารถขายได้ เช่น นำใบไม่มาบดอัดไปเผาจนกลายเป็นถ่านอัดแท่ง หรืออการนำเอาใบไม้เหล่านี้ไปเป็นเชื้อเพลิง RDF ในการเอาเศษวัสดุเหลือใช้ด้านการเกษตรไปแปรรูปเป็นสินค้าชนิดอื่นๆ  ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นมาตรการให้พี่น้องประชาชนลดปริมาณการเผาในฤดูกาลเผาที่จะเกิดขึ้นในปี2564  ที่สำคัญสิ่งต่างๆที่เก็บออกมาสามารถนำไปขายสร้างรายได้  นอกจากเราจะป้องกันปัญหาการเกิดฝุ่นควันหรือว่าปัญหาหมอกควันแล้ว ประชาชนในพื้นที่ก็จะได้รับประโยชน์มีรายได้เสริมจากการเก็บวัสดุเหล่านี้ออกมาขายให้กับภาคเอกชน หรือ บริษัทห้างร้านต่างๆ ขณะนี้ก็มีบริษัทเอกชนหลายรายให้ความสนใจและแสดงเจตจำนงที่จะรับซื้อใบไม้แห้ง สูงถึง400-500ตัน  ซึ่งหากทุกจังหวัดในภาคเหนือสามารถที่จะรวบรวมเอาวัสดุเหลือใช้ เศษใบไม้  เศษเชื้อเพลิงเหล่านี้ไปบริหารจัดการขายได้แล้ว จะเกิดรายได้กับประชาชน และเกษตรกรอย่างมหาศาล มั้นใจว่าเมื่อถึงช่วงมกราคม-มีนาคม ที่เข้าสู่ฤดูการเผา เชื่อว่าจะทำให้ปริมาณhot spot หรือโอกาสในการที่จะเกิดไฟป่า น้อยลงอย่างชัดเจน จากนั้น รมว.ทส. ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมและให้ขวัญกาลังใจเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ณ อุทยานแห่งชาติขุนแจอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เยี่ยมชมกิจกรรมการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชุมชนเครือข่ายการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์ต้นน้าลาว .-สำนักข่าวไทย

1 35 36 37 38 39 43
...