อย.ชี้แจงกรณีเครื่องตรวจวัดออกซิเจนในเลือดที่ปลายนิ้ว

อย.24 พ.ค.-อย.ขอประชาชนทำความเข้าใจเครื่องตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดที่ปลายนิ้วไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อโควิด -19 แต่ใช้เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการเฝ้าระวังและติดตามอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ทำหน้าที่ตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดของร่างกายและอัตราการเต้นของหัวใจ นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (รองเลขาธิการ อย.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีสื่อต่างๆ โฆษณาแนะนำให้ประชาชนหาซื้อเครื่องตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดที่ปลายนิ้ว มาไว้ติดบ้านเพื่อวัดระดับออกซิเจนในร่างกายและตรวจสอบว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเรียนว่า เครื่องตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดที่ปลายนิ้วไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 แต่ใช้ตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อประเมินสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือติดตามอาการของผู้ป่วย รองเลขาธิการ อย.กล่าวต่อไปว่า เครื่องตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดที่ปลายนิ้ว ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ เช่น ติดตามโรค หรืออาการบาดเจ็บ จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ อย.ผู้ที่ประสงค์จะผลิตหรือนำเข้าต้องดำเนินการยื่นขออนุญาตกับทาง อย. เสียก่อน รวมไปถึงการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวด้วย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)มีการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ทั้งในกระบวนการผลิตและการนำเข้า รวมถึงมีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ท้องตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยในการใช้งาน และตรวจสอบการโฆษณาไม่ให้มีการกล่าวอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง แต่สำหรับเครื่องตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดรูปแบบอื่นๆหากไม่ได้ใช้งานทางการแพทย์ เช่น การกีฬาหรือการท่องเที่ยว จะไม่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์และไม่ต้องขออนุญาตกับ อย. .-สำนักข่าวไทย

ปลัด สธ.แจงแผนวัคซีนโควิดผันแปรตามสถานการณ์ระบาด

สธ.24 พ.ค.-ปลัด สธ.แจงเหตุแผนวัคซีนโควิดเปลี่ยนตลอดเวลา เนื่องจากผันแปรตามสถานการณ์การระบาดและนโยบายพื้นที่เศรษฐกิจ แต่ให้ความมั่นใจกระจายวัคซีนทั่วถึง ประชาชนได้ฉีดแน่ แจงวัคซีนแอสตราฯ มาตามสัญญา มิ.ย.นี้ นพ.เกียรติภูมิ วงค์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ปลัด สธ.) กล่าวว่า แผนการกระจายวัคซีนโควิดเพื่อฉีดให้ประชาชนในขณะนี้ มีการปรับเปลี่ยนผันแปรตามสถานการณ์ทุกสัปดาห์ โดยก่อนหน้าที่เตรียมกระจายไปในทุกจังหวัด เอาจำนวนประชากรเป็นที่ตั้ง พร้อมคำนึงถึงจำนวนประชากรแฝง และสัดส่วนต้องเกินร้อยละ 70 แต่เมื่อมีเรื่องของนโยบายขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ที่กำหนดฉีดพื้นที่เศรษฐกิจ เช่น ภูเก็ต และการควบคุมโรค จากปัญหาการแพร่ระบาดในพื้นที่ เช่น จ.สมุทรสาคร กทม. ที่ต้องเร่งด่วนการควบคุมโรค ก็ต้องนำจำนวนวัคซีนมาหักออก ยังไม่นับการฉีดกลุ่มเสี่ยง เช่น ครู ที่ใกล้เปิดเทอม หรือการฉีดให้กับแรงงาน ตามมาตรา 33 ทุกอย่างจึงเป็นสาเหตุที่แผนการบริหารกระจายวัคซีนเปลี่ยนไป นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า แต่หลักการกระจายวัคซีนยังเหมือนเดิมและทุกคนจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนแน่นอน ส่วนเรื่องที่สถานพยาบาลวชิรพยาบาล ประกาศเลื่อนการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา เข็ม 2 ออกไป นั้น เป็นไปตามรอบการนัดหมาย การฉีดวัคซีนแอสตราฯ ที่กำหนดฉีดเข็ม 2 ต้องห่างจากเข็มแรก12-16 […]

อินเดียมียอดตายโควิดทะลุ 300,000 คน

นิวเดลี 24 พ.ค. – อินเดียมียอดผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทะลุ 300,000 คนแล้ว ทำสถิติสูงเป็นอันดับสามของโลก รองจากสหรัฐและบราซิล เนื่องจากยอดผู้ป่วยติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นและระบบสาธารณสุขที่รองรับผู้ป่วยไม่เพียงพอ กระทรวงสาธารณสุขอินเดียรายงานว่า อินเดียมียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 4,454 คนในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ทำสถิติสูงเป็นอันดับสองรองจากตัวเลขผู้เสียชีวิตของวันพุธที่แล้วที่มี 4,529 คน ขณะนี้ อินเดียมียอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ทั้งหมด 303,720 คน หลังมีตัวเลขผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 50,000 คนภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ และมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 26.7 ล้านคน ก่อนหน้านี้ อินเดียพบยอดผู้ป่วยติดเชื้อและผู้เสียชีวิตรายวันมากเป็นประวัติการณ์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาท่ามกลางสถานการณ์ระบาดที่รุนแรง ผู้เชี่ยวชาญหลายรายเชื่อว่า ยอดผู้ป่วยติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่แท้จริงมีมากกว่าที่ทางการรายงาน โดยเฉพาะการระบาดจากเมืองใหญ่ไปสู่พื้นที่ชนบท ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวอินเดียส่วนใหญ่จากประชากรทั้งหมดราว 1,300 ล้านคน อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่บริการสาธารณสุขและการตรวจหาเชื้อโควิดเข้าไม่ถึง การระบาดระลอกล่าสุดในอินเดียไม่เพียงทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งรองรับผู้ป่วยติดเชื้อได้ไม่เพียงพอ แต่ยังทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนออกซิเจนและยาจำเป็น นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่ภาพการเข้าคิวยาวเหยียดเพื่อเผาศพผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยการก่อกองฟืนเผาศพชั่วคราวทดแทนสถานที่เผาศพและการฝังในสุสานที่มีไม่เพียงพอ อีกทั้งยังมีผู้พบเห็นศพที่คาดว่าเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ลอยไปตามแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ หรือถูกฝังไว้ในหลุมศพตื้น ๆ. -สำนักข่าวไทย

คมนาคมย้ำยังไม่เปิดฉีดวัคซีน walk in สถานีกลางบางซื่อ

กระทรวงคมนาคม แจ้งเปิดฉีดวัคซีนวันแรก 24 พ.ค. ที่สถานีกลางบางซื่อ เฉพาะผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชน ย้ำยังไม่เปิด walk in ให้เข้ามาฉีดโดยตรง

มาครบทุกสายพันธุ์รึยังโควิด ? ข่าวราดแกง “กำภู-รัชนีย์” ep49 (24 พ.ค.64)

– ติดเชื้อสูงทุกวัน ยังไม่หลุด 2 พัน – นายกฯ ฉีดเข็มสอง แอสตราฯ  – ญี่ปุ่นอาจทิ้งวัคซีน ชมข่าวราดแกงทุกตอนคลิก https://www.youtube.com/playlist?list=PLA7f2dLuNuJtdyem-8eY6So_-MCmXtct0

สิงคโปร์อนุมัติใช้เครื่องตรวจลมหายใจหาเชื้อโควิด

สำนักงานสาธารณสุขสิงคโปร์ (HSA) ประกาศอนุมัติใช้เครื่องตรวจลมหายใจเพื่อหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 อย่างมีเงื่อนไข เป็นเครื่องที่พัฒนาขึ้นเองภายในประเทศและทำให้ทราบผลตรวจได้ภายใน 1 นาที

นพ.ยง ตอบหลายคำถามการรับวัคซีน-การเตรียมตัว

กรุงเทพฯ 24 พ.ค.-นพ.ยง ตอบคำถามผู้แพ้ยา อาหารหรือภูมิแพ้ต่าง ๆไม่ได้เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีนโควิด ยกเว้นเป็นผู้ป่วยวิกฤต อยู่ในระยะสุดท้ายของโรคให้เลื่อนไปก่อน ส่วนการเตรียมตัวไปฉีดวัคซีน พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลาย ดื่มน้ำไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ รับประทานอาหารเต็มที่แบบปกติ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หรือ“หมอยง”หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด 19 วัคซีน ข้อห้ามหรือใครไม่ควรรับวัคซีน และการเตรียมตัว มีคำถามเข้ามามากจริงๆ จะรับวัคซีนได้ไหม ขอชี้แจงเลยว่าข้อห้ามสำหรับผู้ที่ไม่ควรรับวัคซีน1.ผู้ที่รับวัคซีนแล้วเกิดแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง ถึงขั้นช็อก (Anaphylaxis) วัคซีนนี้เป็นวัคซีนใหม่ถ้าให้เข็มแรกก็คงไม่มีใครรู้ ทุกคนจึงไม่อยู่ในข้อนี้ แต่ถ้าให้เข็มแรกแล้วแพ้รุนแรง เข็ม 2 ให้ไม่ได้แน่นอน ต้องเปลี่ยนชนิดวัคซีน ผู้ที่รู้ว่าแพ้ส่วนประกอบในวัคซีน ก็ไม่สมควรให้ ในทางปฏิบัติก็คงเป็นการยากพอสมควรที่แพ้ส่วนผสมในวัคซีน วัคซีนทั้งหลายขณะนี้ไม่มียาปฏิชีวนะ ไม่มีส่วนผสมของไข่ ดังนั้นผู้ที่แพ้ยา อาหาร หรือภูมิแพ้ต่างๆไม่ได้เป็นข้อห้ามแต่อย่างใด แต่ผู้ที่เคยแพ้อย่างรุนแรง หลังฉีดก็เฝ้าดูอาการอาจจะนานกว่าคนธรรมดาสักหน่อยก็ได้ 2.ผู้ที่เจ็บป่วย มีไข้ หรือเป็นโรคปัจจุบันที่ต้องการการรักษา ผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของโรค […]

สธ.ให้รอ ศบค.แถลงชัดเจนแผนกระจายวัคซีน

อธิบดีกรมควบคุมโรค ย้ำแผนกระจายวัคซีนเป็นอำนาจ ศบค. แต่เน้น 4 ปัจจัยที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นหลัก ส่วนการควบคุมเชื้อโควิดแอฟริกาในภาคใต้ เน้นการสุ่มตรวจรอบพื้นที่ เพื่อค้นหาผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่ม

รพ.ในโอซากาขาดเตียงคนไข้-เครื่องช่วยหายใจ

โรงพยาบาลหลายแห่งในเมืองโอซากา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของญี่ปุ่น กำลังเผชิญกับแรงกดดันจากยอดผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่พุ่งสูงขึ้น จนทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนเตียงและเครื่องช่วยหายใจ ในขณะที่แพทย์หลายรายเตือนว่าระบบสาธารณสุขอาจล่มสลาย และไม่แนะนำให้จัดการแข่งขันโอลิมปิกโตเกียว

ติดเชื้อรวม 2,713 ราย หายป่วย 1,565 ราย เสียชีวิต 30 ราย

โควิดวันนี้ ติดเชื้อรวม 2,713 ราย ติดเชื้อใหม่ 2,507 ราย ในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 206 ราย ยืนยันสะสม 103,350 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 1,565 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 30 ราย

ด.ญ.ป่วยโควิด สอบติด ม.1 แล้ว-หายป่วยได้กลับบ้าน

“น้องดาด้า” อายุ 12 ปี ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รักษาตัวที่โรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สอบเข้า ม.1 ได้สำเร็จตามที่ตั้งใจ หลังจากต้องนั่งสอบที่โรงพยาบาลสนามเมื่อวานนี้ และวันนี้หายป่วยได้กลับบ้านแล้ว

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

สธ.เผย รพ.บุษราคัม รับส่งต่อรวดเร็ว 9 วันแรกผู้ป่วยหายกลับบ้าน 33 ราย

นนทบุรี 23 พ.ค.- กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการดำเนินงานโรงพยาบาลบุษราคัม มีระบบรับส่งต่อรวดเร็วเป็นไปตามแผน 9 วันแรก รักษาผู้ป่วยหายกลับบ้านได้ 33 ราย ขณะนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ช่วยเตรียมทรัพยากรเตียง ยา เวชภัณฑ์ เพื่อเตรียมเปิดให้บริการเฟส 2 วันที่ 27 พฤษภาคมนี้ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่าวันนี้เป็นการดำเนินงานวันที่ 9 ของโรงพยาบาลบุษราคัม ภาพรวมถือว่าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีระบบการรับส่งต่อรวดเร็วเป็นไปตามแผน จากการประสานงานของศูนย์บริหารจัดการเตียง กรมการแพทย์ 1668 เครือข่าย UHOSNET และโรงพยาบาลต่างๆ และส่งต่อผู้ป่วยอาการหนักไปยังโรงพยาบาลที่มีทรัพยากรเหมาะสม ทั้งนี้ สามารถช่วยแบ่งเบาภารกิจของโรงพยาบาลใหญ่ ให้มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยอาการหนักได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้โรงพยาบาลบุษราคัมได้รับดูแลผู้ป่วยโควิด 19 แล้ว 647 ราย ส่งต่อรักษา 24 ราย ยังอยู่ระหว่างรักษา 590 ราย เป็นผู้ป่วยกลุ่มอาการเล็กน้อย 408 ราย กลุ่มอาการปานกลาง 182 ราย และหายกลับบ้าน […]

1 348 349 350 351 352 1,427
...