เร่งทำแนวกั้นน้ำกึ่งถาวรบริเวณพนังริมแม่น้ำเจ้าพระยาทรุด

นนทบุรี 14 พ.ค.- ปลัดกระทรวงเกษตรฯ สั่งกรมชลประทานเร่งช่วยเหลือประชาชนบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา อ. บางกรวย จ. นนทบุรีซึ่งพนังคอนกรีตป้องกันตลิ่งทรุดตัวเป็นแนวยาว 50 เมตร โดยจะสร้างทำนบกึ่งถาวรเพื่อแก้ปัญหาในระยะเร่งด่วน อธิบดีกรมชลประทานยืนยัน ทำนบกึ่งถาวรเสร็จภายใน 1 เดือน สามารถป้องกันน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ให้ไหลเข้าที่อยู่อาศัยริมตลิ่งได้แน่นอน นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ตรวจสอบสภาพพนังคอนกรีตป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีสูบน้ำบางกรวย ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยนายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทานรายงานแนวทางแก้ไขปัญหาซึ่งในระยะเร่งด่วนจะเร่งทำคันดิน จากนั้นจะสร้างทำนบกึ่งถาวรด้านหลังพนังคอนกรีตที่ทรุดตัวเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าที่อยู่อาศัยริมตลิ่ง ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ กำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงถึงสาเหตุที่พนังคอนกรีตป้องกันตลิ่งทรุดตัวเป็นแนวยาว 50 เมตร จากนั้นกรมชลประทานจะเร่งสร้างพนังป้องกันตลิ่งถาวรให้เร็วที่สุด นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า การสร้างทำนบกึ่งถาวรจะแล้วเสร็จภายใน 1 เดือนจึงอยากขอให้ประชาชนมั่นใจว่า ในช่วงฤดูฝนนี้ ทำนบกึ่งถาวรดังกล่าว จะสามารถป้องกันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้ามาในช่วงเวลาน้ำทะเลหนุนได้แน่นอน พร้อมกันนี้ขอความร่วมมือผู้ใช้เรือ ไม่ใช้พนังกั้นน้ำตลอดแนวในการผูกเรือเพื่อจอดเทียบเนื่องจากอาจทำให้โครงสร้างของพนังคอนกรีตเกิดการชำรุดได้ โครงสร้างพนังคอนกรีตแห่งนี้ ก่อสร้างตั้งแต่ปี 2555 จากการตรวจสอบเบื้องต้นคาดว่า เกิดการชำรุดจากการกัดเซาะของกระแสน้ำ ประกอบกับระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับต่ำจึงเกิดการทรุดตัวลง ส่งผลให้ปัจจุบันปริมาณน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถไหลผ่านพนังคอนกรีตที่ทรุดตัวเข้าคลองบางกรวยตามกระแสน้ำขึ้นลงได้ตลอดเวลา เบื้องต้นได้ติดป้ายประกาศแจ้งเตือนประชาชนที่ใช้สัญจรเดินผ่าน […]

กรมชลฯ​ เร่งทำแนวกันตลิ่งชั่ว​คราวที่จุดทรุดตัว​บางกรวย

กรมชลประทานเร่งทำแนวป้องกันตลิ่งชั่วคราวบริเวณที่แนว​ป้องกัน​ตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา​ อ.​บางกรวย​ซึ่งใช้งานตั้งแต่ปี 2552 ทรุดตัว

รมว. เกษตรฯ มอบรมช. ใหม่คุม 7 หน่วยงาน

กรุงเทพฯ 8 พ.ค. – รมว. ธรรมนัสมอบหมายให้รมช. เกษตรฯ คนใหม่กำกับดูแล 7 หน่วยงาน “อรรถกร” เริ่มออกงานเดี่ยวและเรียกประชุมหน่วยงานในกำกับนัดแรก ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง มอบหมายอำนาจหน้าที่ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมอบหมายให้นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำกับดูแล 7 หน่วยงานดังนี้ – กรมพัฒนาที่ดิน – กรมส่งเสริมสหกรณ์ – กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ – สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ – องค์การสะพานปลา – สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) – สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ในคำสั่งมอบหมายอำนาจหน้าที่ยังระบุว่า “รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจในการกำกับดูแลและปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ยกเว้น การบริหารงานบุคคล การอนุมัติงบประมาณ การอนุมัติ การอนุญาต การออกใบอนุญาตใดๆ ที่เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรี สำหรับงานส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน เรื่องที่เป็นงานนโยบาย เรื่องที่ต้องเสนอนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีของ […]

เตรียมแผนกระจายลำไย เหตุจีนลดการบริโภคชนิดอบแห้ง

กรุงเทพฯ 8 พ.ค.- กรมส่งเสริมสหกรณ์เตรียมแผนกระจายลำไยสดปีการผลิต 2567 เพื่อบรรเทาผลกระทบให้สมาชิกสหกรณ์และสร้างเสถียรภาพปริมาณและราคา สาเหตุจากจีนซึ่งเป็นประเทศที่นำเข้าลำไยอบแห้งจำนวนมาก ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคเป็นลำไยสดมากขึ้น จึงตั้งปรับแนวทางการกระจายผลผลิตให้เหมาะสม พร้อมสนับสนุนให้สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการรวบรวมและกระจายลำไย นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นประธานการประชุมหารือการบริหารจัดการสินค้าลำไยในสถาบันเกษตรกร โดยระบุว่า จะต้องปรับแผนการกระจายลำไยสดภายในประเทศ สาเหตุจากจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าใหญ่สุดที่เคยรับซื้อผลผลิตลำไยอบแห้งเป็นจำนวนมาก ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภค จากเดิมที่เคยบริโภคลำไยอบแห้งมาเป็นการบริโภคลำไยสดมากขึ้น ประกอบกับการขนส่งในปัจจุบันใช้ระยะเวลาลดลงจึงทำให้ผู้บริโภคในประเทศจีนสามารถทานลำไยสดทดแทนได้ ส่งผลให้การส่งออกลำไยอบแห้งจากไทยมีปริมาณน้อยลง ทั้งนี้ลำไยฤดูกาลผลิต ปี 2567 จะออกในเดือนมิถุนายน – กันยายนและจะมีผลผลิตออกมาสู่ตลาดมากในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ คาดการณ์ว่า ปีนี้จะมีผลผลิตลำไยสดเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 10% ผลผลิตลำไยที่กำลังจะมีในฤดูกาลนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ จำนวนผลผลิต 70 – 80% อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน กรมส่งเสริมสหกรณ์สนับสนุนให้สหกรณ์การเกษตรเข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการตลาดสินค้าลำไย โดยมีเป้าหมายกระจายลำไยสดไปทั่วภายในประเทศประมาณ 70,000 ตัน โดยใช้แนวทางสนับสนุนค่าบริหารจัดการลำไยให้กับสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการในการกระจายลำไยอยู่ที่กิโลกรัมละ 5 บาทและสนับสนุนเงินทุนกองทุนพัฒนาสหกรณ์ในการรวบรวมผลผลิตลำไยซึ่งอาจเป็นการชดเชยดอกเบี้ยให้สหกรณ์ร้อยละ 1 มีเป้าหมายเบื้องต้นคือ สหกรณ์ผู้ผลิตลำไย 20 แห่ง 6 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน เชียงราย […]

ราคาหมูหน้าฟาร์มทรงตัว ผู้เลี้ยงยังตั้งเป้าหมายให้แตะ 80 บาท/กก.

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เผยราคาหมูหน้าฟาร์มสัปดาห์นี้ทรงตัว 72-78 บาท/กก. เลขาธิการสมาคมฯ เผยผู้เลี้ยงยังคงประสบความสูญเสียจากโรคระบาดอยู่ ตั้งเป้าให้ถึง 80 บาท/กก. ซึ่งจะทำให้ผู้เลี้ยงอยู่ได้ โดยราคาดังกล่าว จะส่งผลให้ราคาหมูเนื้อแดงหน้าเขียงอยู่ที่ 140-145 บาท/กก. ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมกับค่าครองชีพในปัจจุบัน

ซ้อมใหญ่ครั้งที่ 2 พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

กรุงเทพฯ 7 พ.ค.- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมแล้ว ที่จะจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยวันนี้เป็นการซ้อมใหญ่ครั้งที่ 2 ปลัด​กระทรวง​เกษตร​ฯ​ ยืนยัน​ทุก​ฝ่ายเตรียม​การพร้อม​เต็มที่​ โดยเฉพาะ​ปี​นี้​เป็น​การจัดพระราชพิธี​เพื่อ​เฉลิมพระเกียรติเนื่อง​ในโอกาสมหามงคล​เฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ วันนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซ้อมใหญ่ครั้งที่ 2 การจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยในปี พ.ศ. 2567 นี้ กำหนดให้วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เป็นวันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลซึ่งเป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหาร จะประกอบพระราชพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ส่วนวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เป็นวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์ จะประกอบพระราชพิธี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนาคือ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมกับคู่หาบทองและหาบเงิน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีซึ่งจัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญแก่เกษตรกรไทย กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปีซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนา อันเป็นอาชีพหลักของคนไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะจัดพระราชพิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปีนี้เป็น​การจัดพระราชพิธี​เพื่อ​เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 […]

กทม. ฝนฟ้าคะนองจากแนวพัดสอบของลม อาจเกิดพายุฤดูร้อน

กรุงเทพฯ 7 พ.ค. – เช้านี้กทม. และปริมณฑลมีเมฆปกคลุมและฝนฟ้าคะนอง เหตุมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ที่พัดปกคลุมตอนบนของประเทศ ในขณะที่มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดอยู่ โดยอาจมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือน 60 จังหวัด นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า เช้าวันนี้ (7 พฤษภาคม) กทม. และปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนอง ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงเมฆฝนที่ยังปกคลุม โดยรวมถึงบริเวณภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้วย ระยะนี้สภาวะฝนฟ้าคะนองเกิดเพิ่มขึ้น จากอิทธิพลแนวสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก การกระจายของฝนเริ่มมากขึ้นและคลายร้อนได้บ้าง กลุ่มฝนจะเคลื่อนตัวจากทางด้านตะวันออกไปตะวันตกและต้องระวังพายุฤดูร้อน ส่วนภาคใต้ ลมตะวันออกจะเริ่มพัดปกคลุมมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนปานกลางถึงหนักบางพื้นที่และต้องระวังพายุฝนฟ้าคะนอง กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน จากแนวพัดสอบของลมดังกล่าว ประกอบกับที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้วันนี้มีพื้นที่เสี่ยงเกิดพายุฤดูร้อนรวม 60 จังหวัด ดังนี้ ลักษณะของอากาศจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ในวันที่ 8- 10 พฤษภาคม แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ด้วย ตั้งแต่วันที่ […]

ยกระดับการกำจัดปลาหมอสีคางดำเป็นวาระแห่งชาติ

สมุทรสงคราม 6 พ.ค.- รมว. ธรรมนัสสั่งตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอสีคางดำ ซึ่งเป็น Alien Species ต่างถิ่นซึ่งเรื้อรังมาถึง 18 ปี ประกาศยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อเยียวยาเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว ย้ำไม่ส่งเสริมให้เลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจแน่นอน ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตามแนวทางแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species) ที่จังหวัดสมุทรสงคราม ร้อยเอกธรรมนัสระบุว่า จะยกระดับการแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอสีคางดำเป็นวาระแห่งชาติเนื่องจากเป็นปัญหาเรื้อรังมา 18 ปี ปลาชนิดนี้เป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นอยู่ในสกุลปลานิลซึ่งกินเก่ง แพร่พันธุ์เร็ว และทำลายระบบนิเวศ การระบาดของที่พบในหลายจังหวัดส่งผลกระทบต่อเกษตรกรจึงสั่งการให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานในการแก้ปัญหา พร้อมกันนี้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรสำรวจความเสียหายของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำทุกจังหวัดที่มีการระบาดของปลาหมอสีคางดำเพื่อวางแผนการช่วยเหลือเยียวยาต่อไป ตลอดจนจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาทั้งชุดใหญ่และชุดจังหวัด โดยจะมีคณะกรรมการจากหลายภาคส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหาและกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเอาจริงเอาจังและเป็นรูปธรรมมากที่สุด นาบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า มาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำของกระทรวงเกษตรฯ ที่มอบหมายให้กรมประมงดำเนินการมีดังนี้ นายอรรถกรกล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ห่วงใยเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบจึงจะดำเนินมาตรการกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเด็ดขาด พร้อมย้ำว่า จะไม่มีการส่งเสริมให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจแน่นอน. 512 – สำนักข่าวไทย

กรมชลฯ ระดมส่งน้ำช่วยสวนทุเรียนป่าละอู

กรมชลประทาน เร่งช่วยสวนทุเรียนป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเพื่อป้องกันผลผลิตเสียหายจากการขาดน้ำ ส่วนสถานการณ์ค่าความเค็มที่จุดสูบน้ำดิบสำแล คลี่คลายแล้ว แต่เฝ้าระวังต่อเนื่องในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงรอบใหม่

เขื่อนป่าสักฯ น้ำน้อย แต่มีพอจัดสรรตามแผนฤดูฝน

กรุงเทพฯ 5 พ.ค.- กรมชลประทานระบุ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำเหลือ 14% เหตุไม่มีน้ำไหลเข้าตั้งแต่เข้าฤดูแล้ง ส่วนการระบายเพื่อเจือจางค่าความเค็ม เป็นเพียงช่วงสั้นๆ และปริมาณไม่มาก ยืนยันเพียงพอสำหรับจัดสรรเพื่ออุปโภคบริโภคตลอดฤดูฝน 67 อย่างแน่นอน ส่วนค่าความเค็มที่จุดสูบน้ำดิบสำแล ไม่เกินมาตรฐานการผลิตประปาแล้ว นายธเนศ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทานกล่าวว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มี 135 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของความจุ โดยระบายน้ำเพื่อในอัตรา 40 ลบ.ม./วินาทีหรือวันละ 3.5 ล้านลบ.ม. โดยปรับเพิ่มจากช่วงก่อนหน้าเล็กน้อยเพื่อส่งไปเจือจางค่าความเค็มในห้วงน้ำทะเลหนุนสูงตั้งแต่วันที่ 8 – 11 พฤษภาคม ทั้งนี้ยืนยันว่า การใช้จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อเจือจางค่าความเค็มจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เช่นเดียวกับที่ระบายไปไล่น้ำเค็มที่จังหวัดฉะเชิงเทราและสมุทรปราการซึ่งตอนนั้นใช้น้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพียง 5 วันประมาณ 5 ล้านลบ.ม. ปีนี้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำน้อยเนื่องจากตั้งแต่เข้าสู่ฤดูแล้ง ไม่มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ แต่ยืนยันว่า วางแผนบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอตลอดฤดูฝนปี 2567 ส่วนสถานการณ์ค่าความเค็มบริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำทะเลหนุนสูงช่วง 25-30 เมษายนทำให้เกินมาตรฐานที่ 0.50 กรัมต่อลิตรบางช่วงเวลา ขณะนี้คลี่คลายแล้ว […]

เร่งช่วยสวนทุเรียนขาดน้ำ ผลแตกคาต้น

กรุงเทพฯ 4 พ.ค.- รมว. ธรรมนัสห่วงชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก ร้อนจัด-ขาดน้ำ ทำให้ผลทุเรียนแตกคาต้น สั่งกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตรให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาสวนทุเรียนและสวนผลไม้กระทบภัยแล้ง พร้อมให้กรมชลประทานส่งรถบรรทุกน้ำสนับสนุนต่อเนื่อง ไม่อยากให้เกษตรกรเพิ่มต้นทุนซื้อน้ำรดทุเรียน ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า เป็นห่วงชาวสวนผลไม้ภาคตะวันออก โดยเฉพาะสวนทุเรียนที่กำลังเริ่มตัดผลผลิตได้ โดยสภาพอากาศที่ร้อนจัดและบางพื้นที่ขาดน้ำทำให้ผลทุเรียนแตกคาต้น ได้รับรายงานว่า เกษตรกรต้องซื้อน้ำไปรดไม้ผล จึงสั่งการให้กรมชลประทานนำรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือเกษตรกรจนกว่าสถานการณ์จะเป็นปกติ นอกจากนี้ยังให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตรให้คำแนะนำชาวสวนในการแก้ปัญหาไม้ผลได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ล่าสุดกรมวิชาการเกษตรออกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภัยแล้งของทุเรียนและผลไม้อื่นในภาวะฉุกเฉินแล้ว นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวว่า ได้เร่งประสานกับกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อให้สำนักงานเกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอสำรวจความเสียหายของไม้ผล พร้อมเร่งให้ความรู้ทางวิชาการและคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาในภาวะฉุกเฉิน สำหรับแนวทางดูแลทุเรียนที่กำลังออกผลผลิต แต่ประสบปัญหาขาดน้ำและกระทบอุณหภูมิอากาศสูง จะต้องเพิ่มความชื้นในทรงพุ่ม โดยการให้น้ำปริมาณอย่างน้อย 200 ลิตรต่อต้นต่อวัน ด้วยการพ่นน้ำ หรือติดสปริงเกอร์บนต้นทุเรียนซึ่งต้องให้น้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ในช่วงเช้ามืดเวลา 6.00-8.00 น. หรือช่วงเย็น เวลา 15.00-17.00 น. และเพิ่มเวลาการให้น้ำมากกว่าในช่วงเวลาปกติ เพื่อเป็นการระบายความร้อน ลดอุณหภูมิของอากาศ และเพิ่มความชื้นให้กับต้นทุเรียน นอกจากนี้ต้องรักษาความชื้นในดิน โดยการคลุมดินด้วยเศษหญ้าหรือวัสดุคลุมโคนต้นทุเรียน ห้ามให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเพราะจะกระตุ้นให้พืชแตกใบอ่อนส่งผลให้มีการใช้น้ำมากขึ้น จำนวนผลที่ไว้ต่อต้นต้องเหมาะสม ถ้าติดผลมาก ต้องตัดทิ้งบางส่วนเพื่อให้ต้นอยู่รอด รวมทั้งตัดแต่งใบภายในทรงพุ่มออกเพื่อลดการคายน้ำ สามารถพ่นด้วยสารที่ช่วยลดความรุนแรงจากอากาศร้อนและแล้งเช่น […]

“ธรรมนัส” ห่วงสถานการณ์น้ำ สั่งช่วยเกษตรกรทุกพื้นที่

กรุงเทพฯ 4 พ.ค.- รมว. ธรรมนัสเรียกประชุมด่วน กำชับกรมชลประทานเร่งช่วยเหลือเกษตรกร บรรเทาปัญหาภัยแล้ง ย้ำใช้ “ศูนย์พิรุณราช” ทุกจังหวัดเป็นศูนย์รับแจ้งความเดือดร้อนของเกษตรกร เหตุกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ฤดูฝนจะเริ่มสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพ.ค. และอาจเกิดฝนทิ้งช่วง ด้านกรมชลประทานวางแผนบริหารจัดการน้ำฤดูฝน พร้อมรับทั้งภาวะน้ำน้อย-น้ำมาก ส่วนค่าความเค็มที่จุดสูบน้ำดิบสำแล ดีขึ้นตามลำดับ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประชุมด่วนที่กรมชลประทานเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ โดยมีนายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทานรายงานแผนบริหารจัดการน้ำ รวมถึงการบรรเทาภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ ร้อยเอกธรรมนัสสั่งการให้กรมชลประทานเร่งแก้ไขสถานการณ์น้ำแบบเชิงรุกเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดตลอดฤดูแล้งส่งผลให้หลายพื้นที่ซึ่งอยู่ในช่วงที่ผลผลิตกำลังจะออก ได้รับน้ำไม่เพียงพอ จึงให้ช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเร่งด่วน โดยระดมเครื่องจักร เครื่องมือ และบุคลากรแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรอย่างเต็มกำลัง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ ให้ใช้ “ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช” ทุกจังหวัด เป็นศูนย์รับแจ้งความเดือดร้อนของเกษตรกรจากภัยแล้ง โดยเน้นย้ำให้ขึ้นป้ายชัดๆ โดยเมื่อได้รับแจ้งแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาทันที พร้อมกันนี้ยังได้เน้นย้ำให้โครงการชลประทานทั่วประเทศ ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุดอีกด้วย นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า พืชฤดูแล้งเก็บเกี่ยวแล้ว 100 % สำหรับแผนบริหารจัดการน้ำฤดูฝน 2567 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมและสิ้นสุด […]

1 7 8 9 10 11 468
...