กทม. ฝนฟ้าคะนองจากแนวพัดสอบของลม อาจเกิดพายุฤดูร้อน

กรุงเทพฯ 7 พ.ค. – เช้านี้กทม. และปริมณฑลมีเมฆปกคลุมและฝนฟ้าคะนอง เหตุมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ที่พัดปกคลุมตอนบนของประเทศ ในขณะที่มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดอยู่ โดยอาจมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือน 60 จังหวัด นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า เช้าวันนี้ (7 พฤษภาคม) กทม. และปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนอง ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงเมฆฝนที่ยังปกคลุม โดยรวมถึงบริเวณภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้วย ระยะนี้สภาวะฝนฟ้าคะนองเกิดเพิ่มขึ้น จากอิทธิพลแนวสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก การกระจายของฝนเริ่มมากขึ้นและคลายร้อนได้บ้าง กลุ่มฝนจะเคลื่อนตัวจากทางด้านตะวันออกไปตะวันตกและต้องระวังพายุฤดูร้อน ส่วนภาคใต้ ลมตะวันออกจะเริ่มพัดปกคลุมมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนปานกลางถึงหนักบางพื้นที่และต้องระวังพายุฝนฟ้าคะนอง กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน จากแนวพัดสอบของลมดังกล่าว ประกอบกับที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้วันนี้มีพื้นที่เสี่ยงเกิดพายุฤดูร้อนรวม 60 จังหวัด ดังนี้ ลักษณะของอากาศจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ในวันที่ 8- 10 พฤษภาคม แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ด้วย ตั้งแต่วันที่ […]

ยกระดับการกำจัดปลาหมอสีคางดำเป็นวาระแห่งชาติ

สมุทรสงคราม 6 พ.ค.- รมว. ธรรมนัสสั่งตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอสีคางดำ ซึ่งเป็น Alien Species ต่างถิ่นซึ่งเรื้อรังมาถึง 18 ปี ประกาศยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อเยียวยาเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว ย้ำไม่ส่งเสริมให้เลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจแน่นอน ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตามแนวทางแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species) ที่จังหวัดสมุทรสงคราม ร้อยเอกธรรมนัสระบุว่า จะยกระดับการแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอสีคางดำเป็นวาระแห่งชาติเนื่องจากเป็นปัญหาเรื้อรังมา 18 ปี ปลาชนิดนี้เป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นอยู่ในสกุลปลานิลซึ่งกินเก่ง แพร่พันธุ์เร็ว และทำลายระบบนิเวศ การระบาดของที่พบในหลายจังหวัดส่งผลกระทบต่อเกษตรกรจึงสั่งการให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานในการแก้ปัญหา พร้อมกันนี้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรสำรวจความเสียหายของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำทุกจังหวัดที่มีการระบาดของปลาหมอสีคางดำเพื่อวางแผนการช่วยเหลือเยียวยาต่อไป ตลอดจนจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาทั้งชุดใหญ่และชุดจังหวัด โดยจะมีคณะกรรมการจากหลายภาคส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหาและกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเอาจริงเอาจังและเป็นรูปธรรมมากที่สุด นาบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า มาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำของกระทรวงเกษตรฯ ที่มอบหมายให้กรมประมงดำเนินการมีดังนี้ นายอรรถกรกล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ห่วงใยเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบจึงจะดำเนินมาตรการกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเด็ดขาด พร้อมย้ำว่า จะไม่มีการส่งเสริมให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจแน่นอน. 512 – สำนักข่าวไทย

กรมชลฯ ระดมส่งน้ำช่วยสวนทุเรียนป่าละอู

กรมชลประทาน เร่งช่วยสวนทุเรียนป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเพื่อป้องกันผลผลิตเสียหายจากการขาดน้ำ ส่วนสถานการณ์ค่าความเค็มที่จุดสูบน้ำดิบสำแล คลี่คลายแล้ว แต่เฝ้าระวังต่อเนื่องในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงรอบใหม่

เขื่อนป่าสักฯ น้ำน้อย แต่มีพอจัดสรรตามแผนฤดูฝน

กรุงเทพฯ 5 พ.ค.- กรมชลประทานระบุ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำเหลือ 14% เหตุไม่มีน้ำไหลเข้าตั้งแต่เข้าฤดูแล้ง ส่วนการระบายเพื่อเจือจางค่าความเค็ม เป็นเพียงช่วงสั้นๆ และปริมาณไม่มาก ยืนยันเพียงพอสำหรับจัดสรรเพื่ออุปโภคบริโภคตลอดฤดูฝน 67 อย่างแน่นอน ส่วนค่าความเค็มที่จุดสูบน้ำดิบสำแล ไม่เกินมาตรฐานการผลิตประปาแล้ว นายธเนศ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทานกล่าวว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มี 135 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของความจุ โดยระบายน้ำเพื่อในอัตรา 40 ลบ.ม./วินาทีหรือวันละ 3.5 ล้านลบ.ม. โดยปรับเพิ่มจากช่วงก่อนหน้าเล็กน้อยเพื่อส่งไปเจือจางค่าความเค็มในห้วงน้ำทะเลหนุนสูงตั้งแต่วันที่ 8 – 11 พฤษภาคม ทั้งนี้ยืนยันว่า การใช้จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อเจือจางค่าความเค็มจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เช่นเดียวกับที่ระบายไปไล่น้ำเค็มที่จังหวัดฉะเชิงเทราและสมุทรปราการซึ่งตอนนั้นใช้น้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพียง 5 วันประมาณ 5 ล้านลบ.ม. ปีนี้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำน้อยเนื่องจากตั้งแต่เข้าสู่ฤดูแล้ง ไม่มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ แต่ยืนยันว่า วางแผนบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอตลอดฤดูฝนปี 2567 ส่วนสถานการณ์ค่าความเค็มบริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำทะเลหนุนสูงช่วง 25-30 เมษายนทำให้เกินมาตรฐานที่ 0.50 กรัมต่อลิตรบางช่วงเวลา ขณะนี้คลี่คลายแล้ว […]

เร่งช่วยสวนทุเรียนขาดน้ำ ผลแตกคาต้น

กรุงเทพฯ 4 พ.ค.- รมว. ธรรมนัสห่วงชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก ร้อนจัด-ขาดน้ำ ทำให้ผลทุเรียนแตกคาต้น สั่งกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตรให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาสวนทุเรียนและสวนผลไม้กระทบภัยแล้ง พร้อมให้กรมชลประทานส่งรถบรรทุกน้ำสนับสนุนต่อเนื่อง ไม่อยากให้เกษตรกรเพิ่มต้นทุนซื้อน้ำรดทุเรียน ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า เป็นห่วงชาวสวนผลไม้ภาคตะวันออก โดยเฉพาะสวนทุเรียนที่กำลังเริ่มตัดผลผลิตได้ โดยสภาพอากาศที่ร้อนจัดและบางพื้นที่ขาดน้ำทำให้ผลทุเรียนแตกคาต้น ได้รับรายงานว่า เกษตรกรต้องซื้อน้ำไปรดไม้ผล จึงสั่งการให้กรมชลประทานนำรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือเกษตรกรจนกว่าสถานการณ์จะเป็นปกติ นอกจากนี้ยังให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตรให้คำแนะนำชาวสวนในการแก้ปัญหาไม้ผลได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ล่าสุดกรมวิชาการเกษตรออกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภัยแล้งของทุเรียนและผลไม้อื่นในภาวะฉุกเฉินแล้ว นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวว่า ได้เร่งประสานกับกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อให้สำนักงานเกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอสำรวจความเสียหายของไม้ผล พร้อมเร่งให้ความรู้ทางวิชาการและคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาในภาวะฉุกเฉิน สำหรับแนวทางดูแลทุเรียนที่กำลังออกผลผลิต แต่ประสบปัญหาขาดน้ำและกระทบอุณหภูมิอากาศสูง จะต้องเพิ่มความชื้นในทรงพุ่ม โดยการให้น้ำปริมาณอย่างน้อย 200 ลิตรต่อต้นต่อวัน ด้วยการพ่นน้ำ หรือติดสปริงเกอร์บนต้นทุเรียนซึ่งต้องให้น้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ในช่วงเช้ามืดเวลา 6.00-8.00 น. หรือช่วงเย็น เวลา 15.00-17.00 น. และเพิ่มเวลาการให้น้ำมากกว่าในช่วงเวลาปกติ เพื่อเป็นการระบายความร้อน ลดอุณหภูมิของอากาศ และเพิ่มความชื้นให้กับต้นทุเรียน นอกจากนี้ต้องรักษาความชื้นในดิน โดยการคลุมดินด้วยเศษหญ้าหรือวัสดุคลุมโคนต้นทุเรียน ห้ามให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเพราะจะกระตุ้นให้พืชแตกใบอ่อนส่งผลให้มีการใช้น้ำมากขึ้น จำนวนผลที่ไว้ต่อต้นต้องเหมาะสม ถ้าติดผลมาก ต้องตัดทิ้งบางส่วนเพื่อให้ต้นอยู่รอด รวมทั้งตัดแต่งใบภายในทรงพุ่มออกเพื่อลดการคายน้ำ สามารถพ่นด้วยสารที่ช่วยลดความรุนแรงจากอากาศร้อนและแล้งเช่น […]

“ธรรมนัส” ห่วงสถานการณ์น้ำ สั่งช่วยเกษตรกรทุกพื้นที่

กรุงเทพฯ 4 พ.ค.- รมว. ธรรมนัสเรียกประชุมด่วน กำชับกรมชลประทานเร่งช่วยเหลือเกษตรกร บรรเทาปัญหาภัยแล้ง ย้ำใช้ “ศูนย์พิรุณราช” ทุกจังหวัดเป็นศูนย์รับแจ้งความเดือดร้อนของเกษตรกร เหตุกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ฤดูฝนจะเริ่มสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพ.ค. และอาจเกิดฝนทิ้งช่วง ด้านกรมชลประทานวางแผนบริหารจัดการน้ำฤดูฝน พร้อมรับทั้งภาวะน้ำน้อย-น้ำมาก ส่วนค่าความเค็มที่จุดสูบน้ำดิบสำแล ดีขึ้นตามลำดับ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประชุมด่วนที่กรมชลประทานเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ โดยมีนายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทานรายงานแผนบริหารจัดการน้ำ รวมถึงการบรรเทาภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ ร้อยเอกธรรมนัสสั่งการให้กรมชลประทานเร่งแก้ไขสถานการณ์น้ำแบบเชิงรุกเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดตลอดฤดูแล้งส่งผลให้หลายพื้นที่ซึ่งอยู่ในช่วงที่ผลผลิตกำลังจะออก ได้รับน้ำไม่เพียงพอ จึงให้ช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเร่งด่วน โดยระดมเครื่องจักร เครื่องมือ และบุคลากรแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรอย่างเต็มกำลัง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ ให้ใช้ “ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช” ทุกจังหวัด เป็นศูนย์รับแจ้งความเดือดร้อนของเกษตรกรจากภัยแล้ง โดยเน้นย้ำให้ขึ้นป้ายชัดๆ โดยเมื่อได้รับแจ้งแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาทันที พร้อมกันนี้ยังได้เน้นย้ำให้โครงการชลประทานทั่วประเทศ ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุดอีกด้วย นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า พืชฤดูแล้งเก็บเกี่ยวแล้ว 100 % สำหรับแผนบริหารจัดการน้ำฤดูฝน 2567 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมและสิ้นสุด […]

ปลัดเกษตรฯ เปิดส่งน้ำทำนาปีที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยา แนะปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง

ชัยนาท 2 พ.ค. – ปลัดเกษตรฯ Kick Off เปิดการส่งน้ำเพื่อเตรียมความพร้อมการทำนาปี 2567 สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา พร้อมแนะเกษตรกรปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ส่งเสริมปลูกพืชหลังนา พืชใช้น้ำน้อย เพิ่มรายได้แก่เกษตรกร นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่เปิดการส่งน้ำเพื่อเตรียมความพร้อม การทำนาปี 2567 โดยมีนายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทานรายงานถึงความพร้อมส่งน้ำให้นาปีที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเปิดประตูระบายน้ำเพื่อส่งน้ำเข้าระบบชลประทาน 3 จุด ประกอบด้วย จุดที่ 1 ปากคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพลเทพ, จุดที่ 2 ประตูระบายน้ำปากคลองส่งน้ำ 1 ซ้าย โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก  จุดที่ 3 ประตูระบายน้ำปากคลองส่งน้ำ 1 ขวา พร้อมแนะแนวทางการเพาะปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งแก่ชาวนาเพื่อประหยัดน้ำในการเพาะปลูก สำหรับการทำนาปีนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอให้ใช้น้ำฝนเป็นหลัก โดยการส่งน้ำให้ช่วงนี้ เป็นการส่งให้สำหรับเกษตกรในทุ่งลุ่มต่ำเพื่อจะเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนช่วงน้ำหลาก ส่วนนาในที่ดอนขอให้รอฝนตกสม่ำเสมอก่อนจึงค่อยเตรียมแปลง แล้วใช้น้ำชลประทานสนับสนุนซึ่งเป็นการวางแผนการใช้น้ำภาพรวมให้เพียงพอตลอดฤดูการเพาะปลูกข้าวนาปี 2567 ขณะเดียวกัน หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องในพื้นที่พร้อมสนับสนุน ส่งเสริมองค์ความรู้แก่เกษตรกรในด้านต่างๆ  ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ได้แก่ […]

อุตุฯ ชี้ ฤดูร้อนนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น 0.7-1.1 องศาฯ ทำลายสถิติ 41 พื้นที่

กรุงเทพฯ 2 พ.ค.- กรมอุตุนิยมวิทยาระบุ สภาวะอากาศประเทศไทย จะไม่ร้อนไปกว่านี้ เนื่องจากมีสัญญาณเปลี่ยนฤดูกาล จากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว โดยอุณหภูมิเฉลี่ยปี 67 สูงกว่าค่าปกติ 0.7-1.1 องศาเซลเซียส ส่วนเหตุรางรถไฟในภาคใต้คดงอ เหตุจากร้อนจัด ทำให้เหล็กยืดตัว เป็นไปได้เนื่องจากภาคใต้ร้อนสะสมเพราะปริมาณฝนน้อยมาก นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศกล่าวว่า ทิศทางลมที่ปกคลุมประเทศไทยเริ่มแปรปรวนเป็นสัญญาณการเปลี่ยนฤดูกาล จากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน ระหว่างวันนี้จนถึงวันที่ 11 พฤษภาคมต้องเฝ้าระวังพายุฤดูร้อนเนื่องจากลมระดับล่าง มีหลายกระแสพัดเข้าหากัน ส่วนระดับบนมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน เมฆและฝนเพิ่มขึ้น โดยจะตกในเวลาสั้นๆ ช่วงเย็นถึงค่ำ แต่ยังไม่ตกทั่วถึงทุกพื้นที่ สิ่งที่ต้องระวังคือ มีลมกระโชกแรงและลูกเห็บเกิดขึ้นได้ อาจเกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม. และปริมณฑล เมื่อมีฝนตกลงมาจะช่วยทำให้อากาศที่ร้อนจัดคลี่คลายบ้าง กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่า ประเทศจะเข้าสู่ฤดูฝนในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพฤษภาคม ดังนั้นช่วงที่ร้อนที่สุดผ่านไปแล้ว อุณหภูมิจะไม่สูงไปกว่านี้ โดยอุณหภูมิสูงสุดของฤดูร้อน 2567 อยู่ที่ 44.2 องศาเซลเซียสที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปางเมื่อวันที่ 22 เมษายนซึ่งยังไม่ทำลายสถิติที่เคยบันทึกได้ 44.6 […]

“ธรรมนัส” สั่งคุมเข้มการส่งน้ำ รับแล้ง-ฝนทิ้งช่วง

กรุงเทพฯ 2 พ.ค. – รมว. เกษตรฯ สั่งชลประทานคุมเข้มการจัดสรรน้ำรับแล้งช่วงโค้งสุดท้าย เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดจะประกาศเข้าสู่ฤดูฝนปลายเดือนพ.ค. ย้ำจะต้องลดการส่งน้ำในพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้ว พร้อมจัดรอบเวรรับน้ำอย่างเคร่งครัด กรมชลประทานขออย่าทำนาปรังรอบ 2 เหตุต้องสงวนสำหรับอุปโภคบริโภค พร้อมเร่งแก้ค่าความเค็มจุดสูบน้ำดิบสำแลที่ส่งน้ำเข้าระบบประปาของกทม. และปริมณฑล ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า สั่งการให้กรมชลประทานคุมเข้มการจัดสรรน้ำในระยะนี้เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า จะประกาศเข้าสู่ฤดูฝนในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพฤษภาคมซึ่งช้ากว่าค่าปกติ 1-2 สัปดาห์ ขณะนี้อุณหภูมิหลายพื้นที่ยังสูงอยู่มาก อีกทั้งภาวะโลกเดือดส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของทั่วโลกสูงขึ้นซึ่งไทยได้รับผลกระทบด้วย ดังนั้นคนไทยต้องปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเพาะปลูกในฤดูแล้งซึ่งต้องปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยหรือทำเกษตรประเภทอื่นทดแทนการทำนาซึ่งใช้น้ำมาก โดยกระทรวงเกษตรฯ จะส่งเสริมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อรายได้ ตั้งแต่เข้าสู่ฤดูแล้ง ได้ขอความร่วมมือมาตลอดว่า เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้ว ขอความร่วมมืองดทำนาปรังรอบ 2 โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาเนื่องจากกรมชลประทานจะลดการส่งน้ำเข้าระบบเพื่อสงวนน้ำไว้ใช้สำหรับรักษาระบบนิเวศและอุปโภคบริโภค เมื่อฝนจะมาช้าอาจต้องพิจารณาจัดรอบเวรรับน้ำเพื่อให้มีน้ำต้นทุนเพียงพอจนกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝน รวมถึงสำรองกรณีฝนทิ้งช่วงด้วย นอกจากนี้ยังสั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเร่งทำฝนหลวงในพื้นที่ที่สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติการ ขณะที่กรมพัฒนาที่ดินต้องเร่งเจาะบ่อจิ๋วเพื่อคลี่คลายภัยแล้งด้วย สำหรับระยะนี้เป็นช่วงท้ายของสภาวะเอลนีโญ โดยในฤดูฝนจะเข้าสู่สภาวะลานีญาทำให้ปลายฤดูจะมีฝนตกมากกว่าค่าปกติ นายกรัฐมนตรีสั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อรองรับฝนที่จะตกลงมาเพื่อเก็บกักไว้เป็นน้ำต้นทุนสำหรับฤดูแล้งต่อไป นายธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยากล่าวว่า ชาวนาทุ่งลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา 11 ทุ่งสามารถทำนาปีได้แล้วตั้งแต่วานนี้ (1 พ.ค.) แต่พื้นที่ดอน ขอให้รอน้ำฝนเป็นหลัก นอกจากนี้ยังพบว่า […]

“ธรรมนัส” มั่นใจรมช. ใหม่ เด็กปั้นร่วมขับเคลื่อนงานเกษตรฯ

กรุงเทพฯ 1 พ.ค.- รมว. ธรรมนัสนำรมช. เกษตรฯ คนใหม่ ร่วมประชุมผู้บริหารกระทรวง เชื่อฝีมือเด็กปั้นจากพรรคพลังประชารัฐ จากนี้การขับเคลื่อนงานกระทรวงเกษตรฯ จะชัดเจนและไปในทิศทางเดียวกัน ย้ำนโยบายเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร 3 เท่า ใน 4 ปี “อรรถกร” เผยพร้อมทำงานเต็มที่ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยนำนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมรับฟังการมอบนโยบายด้วย พร้อมระบุว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ คนใหม่จะทำงานได้ หลังจากเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณแล้ว ทั้งนี้ช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ สามารถขับเคลื่อนงานและสร้างผลงานได้อย่างชันเจนและเป็นรูปธรรม ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ เมื่อสามารถนำงบประมาณประจำปี 2567 มาใช้ได้แล้ว เชื่อมั่นว่า การปฏิบัติงานต่างๆ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีและนโยบายรัฐบาลที่สำคัญ 9 ข้อซึ่งต้องการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร 3 เท่า ภายในระยะเวลา 4 ปี ร้อยเอกธรรมนัสกล่าวว่า มั่นใจในฝีมือของนายอรรถกรซึ่งเป็นโฆษกพรรคพลังประชารัฐ โดยสร้างผลงานในการทำงานในสภาผู้แทนราษฎรอย่างโดดเด่นมาแล้ว อีกทั้งปั้นมากับมือ เมื่อมาทำหน้าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการจะทำให้จากนี้การขับเคลื่อนงานของกระทรวงเกษตรฯ […]

ตั้งทีม “ปะ ฉะ ดะ” เอาผิดนายทุนสวมสิทธิ์ส.ป.ก. ทั่วประเทศ

กรุงเทพฯ 30 เม.ย. – รมว. ธรรมนัสสั่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบและพิจารณาความผิดในเขตปฏิรูปที่ดิน มอบ “ธนดล” ตรวจสอบนายทุนรายใหญ่สวมสิทธิ์ส.ป.ก. ทั่วประเทศ รวมทีมปะ ฉะ ดะ “อัจฉริยะ-มงคลกิตติ์-เอกภาพ–ทักษิณ” ลุยทั่วไทย kick off ภูเก็ต – กาญจนบุรีเร็วๆ นี้   นายธนดล สุวัณณะฤทธิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ได้เป็นประธานการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการตรวจสอบและพิจารณาความผิดเกี่ยวกับผู้ได้รับการจัดที่ดินและผู้ถือครองที่ดินมิชอบในเขตปฏิรูปที่ดินนัดแรก โดยเป็นคณะทำงานที่ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งขึ้น ให้มีหน้าที่และอำนาจให้คำปรึกษาและพิจารณาความผิดเกี่ยวกับการถือครองที่ดินและใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยมิชอบ ตามที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ส่งมาเพื่อให้ความเห็นในการดำเนินการเกี่ยวกับความผิดที่เกี่ยวกับการถือครองที่ดินโดยมิชอบในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ส่งมอบให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินคดีแพ่งและอาญาต่อไป ตลอดจนทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในการสืบสวนสอบสวน ร้องทุกข์ กล่าวโทษ ข้าราชการ หรือผู้ได้รับการจัดที่ดินและผู้ถือครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อพบการกระทำความผิดอาญา สำหรับองค์ประกอบของคณะทำงานชุดนี้ ประกอบด้วย นายธนดล สุวัณณะฤทธิ์ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน นายสุรชัย ยุทธชนะ รองเลขาธิการ ส.ป.ก. เป็นรองประธานคณะทำงาน และมีคณะที่ปรึกษาประกอบด้วย […]

เร่งช่วยชาวสวนมะพร้าว ภัยแล้ง-หนอนหัวดำระบาดกระทบผลผลิต

ประจวบคีรีขันธ์ 30 เม.ย. – รมว. เกษตรฯ ห่วงเกษตรกรชาวสวนมะพร้าว สั่งเร่งควบคุมการระบาดหนอนหัวดำมะพร้าวที่เกิดมาตั้งแต่ 63 โดยปัจจุบันใช้ทั้งแตนเบียน ควบคู่กับสารเคมี พร้อมสั่งกรมฝนหลวงฯ และกรมชลประทานช่วยบรรเทาภัยแล้งให้แหล่งปลูกมะพร้าวสำคัญ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า สั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตรเร่งถ่ายทอดความรู้ในการป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของมะพร้าว ทั้งนี้ได้รณรงค์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวแหล่งใหญ่ พร้อมมอบแตนเบียนบราคอนสำหรับควบคุมกำจัดหนอนหัวดำแก่เกษตรกร 8 อำเภอในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 – ปัจจุบัน โดยพบการระบาดของหนอนหัวดำ ใน 28 จังหวัด พื้นที่ 16,039.99 ไร่ นอกจากนี้ยังพบการระบาดของแมลงดำหนามร่วมด้วยใน 25 จังหวัด พื้นที่ 14,953.76 ไร่ จังหวัดที่พบการระบาดสูงสุด 5 จังหวัดได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชลบุรี เพชรบุรี และสมุทรสงคราม สำหรับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบการทำลายของหนอนหัวดำเพิ่มขึ้นช่วงต้นปี 2567 ในพื้นที่ 2 อำเภอได้แก่ อำเภอทับสะแกและอำเภอบางสะพาน กรมวิชาการเกษตรได้เผยแพร่ความรู้ในการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสานที่ใช้ทั้งแตนเบียนและสารเคมี โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้เร่งนำศัตรูธรรมชาติของหนอนหัวดำ 4 […]

1 9 10 11 12 13 470
...