จีนเผยผลคัดเลือก “เมืองมีความสุขที่สุด” ประจำปี 2022

หางโจว, 21 ธ.ค. (ซินหัว) — วันพุธ (21 ธ.ค.) การประชุมที่จัดขึ้นในนครหางโจว เมืองเอกของมณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน เปิดเผยว่า 10 เมืองเอกและเมืองหลัก รวมถึง 11 เมืองระดับแคว้น ถูกจัดเป็นเมืองที่มีความสุขที่สุดของจีนประจำปี 2022 เมืองที่มีความสุขที่สุดของจีนในปีนี้ ได้แก่ เฉิงตู หางโจว หนิงโป ซีหนิง กว่างโจว ฉางซา เสิ่นหยาง เหอเฝย ชิงเต่า และหนานจิง ขณะเดียวกันยังมีอีก 10 เมืองระดับอำเภอและ 10 เขตเมือง ได้รับเลือกเป็นสถานที่ที่มีความสุขที่สุดในประเทศด้วย เมืองเหล่านี้ได้รับคัดเลือกโดยนิตยสารออเรียนทัล เอาท์ลุค (Oriental Outlook) และสถาบันเลี่ยววั่ง (Liaowang Institute) ซึ่งทั้งสองดำเนินงานโดยสำนักข่าวซินหัว โดยกระบวนการคัดเลือกใช้เวลานาน 2 เดือน ประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลขนานใหญ่ การสำรวจด้วยแบบสอบถาม และการอภิปรายเป็นคณะ คณะผู้จัดทำเปิดเผยว่าเมืองเหล่านี้ได้รับการคัดเลือกจากความพยายามเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและการแสวงหาการพัฒนาที่มีคุณภาพ การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และระบบการจัดการที่ดี โดยส่วนสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีความสุขยังคงเกี่ยวข้องกับการศึกษา การจ้างงาน […]

ชาวบ้านจูจี้ ‘ตากปลาแห้ง’ แผงใหญ่ส่งท้ายปี

จูจี้, 20 ธ.ค. (ซินหัว) — ชาวบ้านริมทะเลสาบไป๋ถ่า ตำบลเตี้ยนโข่ว เมืองจูจี้ มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน จับปลาดำ ปลาทรายแดง และปลาลายขาว ที่เลี้ยงไว้มาตากแดดตากลมทำปลาตากแห้งในช่วงใกล้สิ้นปี โดยปลาดำหนึ่งตัวมีน้ำหนักกว่า 5 กิโลกรัม และสามารถขายได้ราคากว่า 100 หยวน (ราวกว่า 499 บาท) อนึ่ง ทะเลสาบไป๋ถ่ามีพื้นที่ผิวน้ำใหญ่กว่า 6,000 หมู่ (ราว 2,500 ไร่) โดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมทะเลสาบต่างมีประเพณีตากปลาแห้งในฤดูหนาวมาเนิ่นนาน และหลายครอบครัวท้องถิ่นได้จำหน่ายปลาแห้งผ่านช่องทางค้าปลีกและอินเทอร์เน็ต ทำให้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยเพิ่มรายได้เข้ากระเป๋า – สำนักข่าวซินหัว 点击浏览中文新闻(คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://csj.news.cn/2022-12/21/c_1310685132.htmอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/327524_20221220ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนเผย “10 ศัพท์ยอดฮิต” ประจำปี 2022

ปักกิ่ง, 20 ธ.ค. (ซินหัว) — วันอังคาร (20 ธ.ค.) จีนเปิดเผย 10 คำศัพท์ยอดฮิตประจำปี 2022 โดยมีคำว่าความทันสมัยแบบจีน (Chinese modernization) ครองอันดับหนึ่ง รายการคำศัพท์ยอดฮิตยังประกอบด้วย ประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งกระบวนการ เศรษฐกิจดิจิทัล คำที่เกี่ยวข้องกับภารกิจสถานีอวกาศ และการแข่งขันปักกิ่ง โอลิมปิก ฤดูหนาว 2022 ส่วนรายการคำศัพท์ภาษาจีนใหม่ในปี 2022 ได้แก่ เศรษฐกิจฤดูหนาว และเอ็นเอฟที คอลเลกชัน (NFT collection) เสถียรภาพและการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) ครั้งที่ 20 ถูกคัดเลือกเป็นคำศัพท์แห่งปีของจีน ส่วนสงครามและความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนถูกคัดเลือกเป็นคำศัพท์แห่งปีของทั่วโลก รายการคำศัพท์เหล่านี้จัดทำโดยใช้อัลกอริทึมที่อิงตามคลังตัวอักษรจีน และมีคณะผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยยืนยันผลลัพธ์สุดท้าย โดยกิจกรรมนี้มีขึ้นต่อเนื่องมานาน 17 ปีแล้ว และเป็นงานประจำปีที่ร่วมจัดโดยศูนย์ติดตามและวิจัยทรัพยากรภาษาแห่งชาติจีน สำนักพิมพ์ซางอู้ และอื่นๆ-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20221220/2ed5e406846241dbb6b9a19b05f607ca/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/327428_20221220ขอบคุณภาพจาก Xinhua

หูหนานพบหลุมศพโบราณ ก่ออิฐทรงอักษรจีน ก่อดินปากแคบก้นกว้าง

ฉางซา, 19 ธ.ค. (ซินหัว) — สถาบันวัตถุทางวัฒนธรรมและโบราณคดีมณฑลหูหนานทางตอนกลางของจีน เปิดเผยการขุดพบโบราณวัตถุมากกว่า 150 รายการ ทั้งเครื่องปั้นดินเผา เครื่องโลหะ และเครื่องสัมฤทธิ์ ระหว่างการขุดค้นกลุ่มหลุมศพโบราณ บริเวณสุสานโบราณเหมียวจู๋ซาน อำเภออันเหริน เมืองเชินโจว ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่ากลุ่มหลุมศพโบราณข้างต้น จำนวน 14 หลุม มาจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจนถึงยุคราชวงศ์หมิง โดยแบ่งเป็นจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตอนกลางและตอนปลาย 11 หลุม ยุคหกราชวงศ์ 1 หลุม ยุคราชวงศ์ซ่ง 1 หลุม และยุคราชวงศ์หมิง 1 หลุม เฉินปิน หัวหน้าโครงการสำรวจสุสานฯ สังกัดสถาบันฯ ระบุว่าหลุมศพที่ขุดค้นแบ่งเป็นหลุมดินและหลุมก่ออิฐ โดยหลุมก่ออิฐมีลักษณะเป็นหลุมเดี่ยวรูปทรงตัวอักษร 凸ในภาษาจีน ประกอบด้วยช่องทางเข้า ประตูปิด ระเบียงทางเดิน และโถงกลาง เฉินอธิบายว่าหลุมก่ออิฐมาจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ส่วนผนังหลุมสร้างด้วยวิธีก่ออิฐเซาะร่อง ซึ่งเป็นลักษณะหลุมศพจากยุคเดียวกันที่ค้นพบในอำเภอเหิงตงและเมืองเหล่ยหยางที่อยู่ข้างเคียง โดยการค้นพบนี้มีคุณค่าต่อการศึกษาธรรมเนียมประเพณีการฝังศพและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สำหรับหลุมก่อจากดินเป็นหลุมศพจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งมีลักษณะเป็นแนวตั้งแบบปากหลุมแคบก้นหลุมกว้างที่มีความลึก 3.5-5 เมตร และมีการเททรายเป็นชั้นบางๆ ภายในหลุม ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับเพศของศพ นอกจากนั้นนักโบราณคดียังค้นพบร่องรอยการสลายตัวของโลงศพในหลุมศพจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก […]

เครื่องบินโดยสาร ARJ21 ฝีมือจีน บุกตลาดต่างแดนครั้งแรก

เซี่ยงไฮ้, 19 ธ.ค. (ซินหัว) — บริษัทอากาศยานพาณิชย์แห่งประเทศจีน (COMAC) เปิดเผยการส่งมอบเครื่องบินโดยสารระดับภูมิภาค รุ่นเออาร์เจ21 (ARJ21) แก่ลูกค้าในต่างประเทศรายแรกอย่างสายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) ของอินโดนีเซีย เมื่อวันอาทิตย์ (18 ธ.ค.) ที่ผ่านมา รายงานระบุว่าเครื่องบินโดยสารระดับภูมิภาค รุ่นเออาร์เจ21 ที่ส่งมอบสู่ตลาดต่างประเทศเป็นครั้งแรกนี้ ถูกออกแบบให้มีที่นั่งโดยสารชั้นประหยัด จำนวน 95 ที่นั่ง ส่วนรูปลักษณ์ภายนอกตัวเครื่องถูกทาสีน้ำเงิน สีเหลือง และสีเขียว อนึ่ง เครื่องบินโดยสารระดับภูมิภาค รุ่นเออาร์เจ21 ที่จีนพัฒนาภายในประเทศ มีพิสัยการบินระยะไกลถึง 3,700 กิโลเมตร สามารถทำการบินผ่านภูมิภาคเทือกเขาสูงชันและที่ราบสูง และสามารถปรับการดำเนินงานเข้ากับท่าอากาศยานต่างๆ บริษัทฯ เผยว่าปัจจุบันมีการส่งมอบเครื่องบินโดยสารระดับภูมิภาค รุ่นเออาร์เจ21 แก่ลูกค้าเกือบ 100 ลำ ซึ่งถูกใช้งานในเส้นทางบินกว่า 300 เส้นทางที่มีจุดหมายอยู่ในเมืองต่างๆ มากกว่า 100 แห่ง และขนส่งผู้โดยสารกว่า 5.6 ล้านคนแล้ว – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20221219/ecfb9b52c6514abb8c2b5fe9d0148765/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง […]

เรื่องเล่าจาก ‘ทุเรียน’ ดาวเด่นตลาดจีน พลิกชีวิตเกษตรกรไทย

ฉงชิ่ง, 18 ธ.ค. (ซินหัว) — เมื่อไม่นานนี้ บริษัท ฉงชิ่ง หงจิ่ว ฟรุต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายผลไม้ชั้นนำของจีน ได้รับการยกเป็นกรณีศึกษาการลดความยากจนที่ดีที่สุด และแบบอย่างของความร่วมมือใต้-ใต้ ณ กิจกรรมนำเสนอแนวทางลดความยากจนที่ดีที่สุด ครั้งที่ 3 กิจกรรมข้างต้นจัดขึ้นภายใต้การสนับสนุนร่วมจากศูนย์การลดความยากจนนานาชาติจีน (IPRCC) องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) บริษัท ฉงชิ่ง หงจิ่ว ฟรุต จำกัด ตั้งอยู่ที่เทศบาลนครฉงชิ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ทำธุรกิจนำเข้าและจัดจำหน่ายผลไม้หลายชนิด อาทิ ทุเรียนและลำไย ซึ่งมีต้นทางจากไทยและลาวเป็นหลัก ในกว่า 300 เมืองทั่วจีน โดยหงจิ่ว ฟรุต เข้าตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทุเรียนถือเป็นผลไม้นำเข้า “ดาวเด่น” ของหงจิ่ว ฟรุต โดยยอดจำหน่ายทุเรียนรายปีของหงจิ่ว ฟรุต ในปี 2021 สูงเกิน 9 หมื่นตัน คิดเป็นร้อยละ 10.06 ของทุเรียนนำเข้าจากไทยทั้งหมดในจีน หรือหมายความว่าทุเรียนหนึ่งในสิบลูกที่จำหน่ายในจีนมาจากหงจิ่ว […]

‘ทางรถไฟจีน-ไทย’ช่วยร่นเวลาเดินทาง กระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น

กรุงเทพฯ, 15 ธ.ค. (ซินหัว) — เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ทางรถไฟจีน-ไทย จะเป็นทางรถไฟจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่จังหวัดชายแดนอย่างหนองคาย ซึ่งจะมีสะพานเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ลาว ทำให้อนาคตสามารถเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ ผ่านลาว ไปสู่นครคุนหมิง ปัณรส บุญเสริม วัย 32 ปี นักแปลประจำโครงการก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย เล่าเรื่องราววัยเด็กเกี่ยวกับทางรถไฟที่เชื่อมโยงบ้านของเธอในจังหวัดเชียงใหม่ กับบ้านปู่ย่าตายายในนครราชสีมา ซึ่งทำให้ครอบครัวของเธอต้องใช้เวลามากมายยามสัญจรไปมาหาสู่กันด้วยรถไฟ ปัณรสกล่าวว่ารถไฟในไทยทำให้ผู้คนเหนื่อยล้าจากการเดินทางไกลเพราะให้บริการเชื่องช้าเกินไป และหวังว่าทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยจะเสร็จสมบูรณ์และเริ่มเปิดใช้โดยเร็วที่สุด ทางรถไฟจีน-ไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายทางรถไฟข้ามเอเชีย จะเป็นทางรถไฟความเร็วสูงรางมาตรฐานสายแรกของไทย โดยมีการคาดการณ์ว่าทางรถไฟฯ ระยะที่ 1 ที่เชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับจังหวัดนครราชสีมา จะลดระยะเวลาเดินทางจากเดิมมากกว่า 4 ชั่วโมง เหลือเพียงกว่า 1 ชั่วโมงเท่านั้น ปัณรสมีโอกาสเยี่ยมชมสถานที่หลายแห่งในจีน ขณะเดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยหนานไคในเทศบาลนครเทียนจินทางตอนเหนือของจีน และได้เห็นว่าทางรถไฟความเร็วสูงมีบทบาทยกระดับชีวิตคนในท้องถิ่น ทำให้เธอมองว่าทางรถไฟจีน-ไทยจะไม่เพียงอำนวยความสะดวกการเดินทางของผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น แต่ยังช่วยฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวและการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ โดยรอบ ปัณรสกล่าวว่าปกติการเดินทางด้วยรถยนต์ระหว่างกรุงเทพฯ กับนครราชสีมา จะกินเวลาราว 2 ชั่วโมง 30 นาที แต่การสัญจรจะสะดวกสบายและประหยัดเวลาขึ้นมาก หากโครงการทางรถไฟฯ ปัจจุบันเสร็จสิ้น ทั้งเสริมว่าการคมนาคมขนส่งสำคัญต่อการท่องเที่ยวมาก […]

งานสร้าง ‘บ้านไร้ตะปู’ แบบจีนดั้งเดิม

หนานหนิง, 13 ธ.ค. (ซินหัว) — คลิปวิดีโอชาวจีนร่วมแรงช่วยกันสร้างบ้านไร้ตะปู หรือบ้านยกพื้นสูงซึ่งเป็นอาคารไม้แบบดั้งเดิมของหลายกลุ่มชาติพันธุ์ทางตอนใต้ของจีน โดยมาพร้อมระบบระบายอากาศดีที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยอบอุ่นในฤดูหนาว และเย็นสบายในฤดูร้อน การสร้างบ้านรูปแบบนี้จะยึดโยงส่วนประกอบไม้หลายร้อยชิ้นด้วยข้อต่อรูและเดือย แทนการใช้ตะปูและสลักเกลียวแบบงานก่อสร้างทั่วไป – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20221213/62e82533fa5a4d49bbe33c75114ff8b8/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/326108_20221213ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนใช้ ‘เกสรโบราณ’ ชี้ช่วงเวลา ‘ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต’ ยกตัวสูงขึ้น

หลานโจว, 13 ธ.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์จีนใช้ละอองเกสรดอกไม้ของต้นไม้โบราณในการเปิดเผยช่วงเวลาที่พื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ยกตัวสูงขึ้นสู่ระดับความสูงปัจจุบัน ซึ่งบอกใบ้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการก่อตัวของหลังคาโลก การศึกษาที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ (9 ธ.ค.) ในวารสารไซเอนซ์ (Science) ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือนี้ยกตัวสูงขึ้นแตะระดับปัจจุบันอย่างรวดเร็วเมื่อเกือบ 8-10 ล้านปีที่แล้ว ระดับความสูงของที่ราบสูงฯ มีอิทธิพลต่อความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิอากาศของภูมิภาคแห่งนี้ อย่างไรก็ดี วิวัฒนาการพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบสูงฯ ได้รับการตรวจสอบน้อยกว่า แตกต่างจากพื้นที่ฝั่งตอนใต้ที่มีการศึกษาอย่างใกล้ชิด คณะนักวิทยาศาสตร์จีนนำโดยเหมียวอวิ๋นฟา นักวิจัยจากสถาบันสภาพแวดล้อมเชิงนิเวศวิทยาและทรัพยากรซีเป่ย (NIEER) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ประเมินข้อมูลตะกอนใหม่จากแอ่งไฉต๋ามู่ในที่ราบสูงฯ ซึ่งเป็นแหล่งสะสมละอองเกสรดอกไม้โบราณจากสนภูเขาที่เติบโตในระดับความสูงเฉพาะ คณะนักวิทย์จัดทำบันทึกการเปรียบเทียบขึ้นใหม่คู่กันสองรายการสำหรับการยกตัวของที่ราบสูงฯ ครอบคลุมระยะเวลา 16 ล้านปี โดยพบว่าเมื่อราว 15 ล้านปีก่อน ภูมิภาคทางตะวันออกและตะวันตกของพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบสูงฯ อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลราว 1,969 เมตร และ 1,449 เมตร ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือยกตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายล้านปีถัดมา โดยสูงขึ้นราว 2,000 เมตร ซึ่งภูมิภาคทางตะวันออกสูงแตะที่ราว 3,685 เมตรเมื่อประมาณ 11 ล้านปีก่อน ส่วนทางตะวันตกสูงแตะที่ 3,589 เมตรเมื่อประมาณ […]

1 23 24 25 26 27 31
...