21 ก.พ. – การประมูลคลื่นความถี่ในระบบเอฟเอ็ม สำหรับการให้บริการกระจายเสียงประเภทกิจการบริการทางธุรกิจ ซึ่ง บมจ.อสมท ได้ร่วมการประมูลประวัติศาสตร์ครั้งนี้ด้วย
การประมูลคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงในระบบเอฟเอ็ม สำหรับการให้บริการกระจายเสียง ประเภทกิจการบริการทางธุรกิจ รอบที่ 1 จำนวน 18 คลื่นความถี่ มีการต่อเวลาออกไปอีกครั้งละ 5 นาที และจนถึงขณะนี้ยังสู้ราคาประมูลกันอยู่ อย่างไรก็ตาม หากมีผู้เสนอราคาสูงสูดเท่ากัน และเมื่อไม่มีการเสนอราคาเพิ่มเติม จึงต้องให้ผู้เข้าร่วมประมูลที่เสนอราคาเท่ากันจับสลากเพื่อหาผู้มีสิทธิ์เป็นผู้เสนอราคาสูงสุด
รอบแรก อสมท ยื่นประมูล 15 คลื่นความถี่ สำหรับคลื่นที่มีผู้ประมูลลรายเดียวถือว่าเป็นผู้ชนะการประมูลในส่วนของกรุงเทพฯ ได้แก่
FM 95.00 ► 50,591,000 บาท
FM 99.00 ► 50,148,000 บาท
FM 96.5 ► 50,449,000 บาท
FM 100.5 ► 50,127,000 บาท
Fm 107.00 ► 48,795,000 บาท
FM. 106.50 ► 55,330,000 บาท
FM 105.50 ► 36,784,000 บาท
FM 98.50 ► 40,234,000 บาท
ขณะนี้ยังไม่มีการประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูล ทำให้มีเฉพาะผู้ที่ยื่นประมูลเท่าจะทราบผลว่าตนเองชนะการประมูล
สำหรับราคาเริ่มต้นการประมูลคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงในครั้งนี้ ได้มีการคำนวณโดยคำนึงถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีราคาเริ่มต้นการประมูลสูงสุดอยู่ที่ 54,8300,000 บาท ส่วนพื้นที่ให้บริการในเขตภูมิภาคราคาเริ่มต้นการประมูลต่ำสุดคือ 105,000 บาท โดยการเสนอราคาแต่ละคลื่นจะแปรผันไปตามมูลค่าคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียง โดยการเสนอราคาต่อครั้งสูงสุดคือ 500,000 บาท และต่ำสุดคือ 4,000 บาท
![](https://tna.mcot.net/wp-content/uploads/2022/02/1223-1-1024x530.jpg)
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. เปิดเผยว่า การประมูลครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่กิจการวิทยุจะเข้าสู่ระบบใบอนุญาตถึงปี 2567 จำนวนคลื่นความถี่ที่ประมูลมีจำนวน 74 คลื่นความถี่ แต่มีผู้ยื่นประมูล 71 คลื่นความถี่ จาก 30 นิติบุคคล คาดรายได้จากการประมูลอย่างน้อยสุด 400 ล้านบาทขึ้นไป การยื่นประมูลครั้งนี้ กสทช. ไม่ได้หวังที่ตัวเลขรายได้ แต่ต้องการให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้เข้าถึง ซึ่งจะเห็นว่าหลายคลื่นความถี่ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 100,000 เศษเท่านั้น เพื่อให้มีการนำคลื่นความถี่ไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด สำหรับอีก 3 คลื่นความถี่ ที่ไม่มีเอกชนยื่นข้อเสนอ จะนำเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช.เพื่อกำหนดนโยบายจะประมูลต่อหรือไม่. – สำนักข่าวไทย