กินเจปีนี้ไม่คึกคัก! กลัวโควิด ข้าวของราคาแพง

กรุงเทพฯ 1 ต.ค.-ผลสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ไม่คึกคัก คนส่วนใหญ่กลัวติดเชื้อโควิดและมองเศรษฐกิจแย่ ทำให้ผลสำรวจปีนี้ยอดใช้จ่ายโดยรวมติดลบในรอบ 14 ปีเป็นครั้งแรก แนะรัฐเร่งจัดการปัญหาต่างๆเพื่อเรียกความมั่นใจให้ประเทศกลับมาดีขึ้น พร้อมระบุผลกระทบน้ำท่วมกระทบจีดีพีร้อยละ 0.1-0.2 เท่านั้น


รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวถึงผลสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลกินเจ ระหว่างวันที่ 4-13 ต.ค.64 นี้ ว่า ผลสำรวจประชาชนทางโทรศัพท์เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโควิดในช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยเสียงส่วนใหญ่ระบุว่า เทศกาลกินเจปีนี้ คนที่กินเจส่วนใหญ่ยังมีความต้องการที่จะร่วมกินเจเพื่อทำบุญและลดการบริโภคอาหารสัตว์ แต่ยอมรับว่าจากปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมมีปัญหา ทำให้เทศกาลกินเจในปีนี้ไม่คึกคักเหมือนปีที่ผ่านมา เนื่องจากยังวิตกจากปัญหาการติดเชื้อโควิดรายวันยังมีอัตราที่สูง จึงไม่อยากให้ติดเองต้องไปรับเชื้อจากโควิดเพิ่มเติม ทำให้การกินเจในปีนี้พฤติกรรมการกินเจจะเน้นไปสั่งซื้อสินค้าอาหารเจทางออนไลน์มาบริโภคแทนการออกไปนั่งกินหรือการไปกินเจตามสถานที่ต่างๆ เหมือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ถือว่าเทศกาลกินเจในปีนี้ ไม่คึกคักแม้คนส่วนใหญ่ยังสนใจที่จะบริโภคอาหารเจ แต่ด้วยปัญหาการติดเชื้อโควิดยังมีอัตราที่สูง และอาหารยังมีราคาสูง แม้ว่าภาครัฐจะคลายล็อกในหลายภาคธุรกิจมากขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ยังกลัวว่าโควิดที่จะติดเชื้อโควิดยังมีสูง ทำให้การกินเจในปีนี้ถือว่ายอดการใช้จ่ายตลอดการกินเจจะอยู่ 40,147 ล้านบาท ติดลบสูงถึงร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับเทศกาลกินเจในปี 63 ที่มีมูลค่า 46,967 ล้านบาท ถือว่าเทศกาลกินเจในปีนี้ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี จากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเซรษฐกิจในหลายๆด้านอยู่ในขณะนี้


ทั้งนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยยังมองว่า แม้ภาครัฐจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆจากปัญหาการแพร่ระบาดโควิดก็ตาม แต่สิ่งที่ประชาชนต้องการให้ภาครัฐเร่งดำเนินการหลังจากนี้ คือ เร่งการฉีดวัคซีนประชาชนที่เหลือให้มากขึ้น พร้อมเร่งหามาตรการช่วยเหลือภาคประชาชนและภาคธุรกิจต่างๆอย่างต่อเนื่องและให้มากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและเห็นผลโดยเร็ว และมองว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 1 และปีหน้าเศรษฐกิจจะโตร้อยละ 5 แต่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็คงจะต้องติดตามการเปิดประเทศของรัฐบาลจะส่งผลให้การท่องเที่ยวกลับมาดีขึ้นหรือไม่และการป้องกันเชื้อโควิดลดลงมากกว่าปัจจุบันแค่ไหน

ส่วนผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมใน 36 จังหวัดขณะนี้ เท่าที่ได้ประเมินคาดว่าจากผลกระทบน้ำท่วมดังกล่าวจะกระทบต่อบ้านเรือน ถนนหนทางและอื่นๆ กระทบด้านการเกษตร พืช ปศุสัตว์ การค้า โดยผลกระทบเหล่านี้ความเสียหายน่าจะมีมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.1-0.2 ของจีดีพี.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นศ.ซิ่งเก๋งชนเสาไฟล้ม 12 ต้น ทับรถ 3 คัน โค้งถนนกาญจนาภิเษก

นักศึกษาซิ่งเก๋งชนเสาไฟฟ้าล้ม 12 ต้น ทับรถที่วิ่งผ่านไปมาเสียหาย 3 คัน บริเวณโค้งถนนกาญจนาภิเษก ตัดเพชรเกษม ประชาชน 150 ครัวเรือนเดือดร้อนไฟดับ การไฟฟ้านครหลวงเร่งซ่อมแซม คาดเย็นนี้กลับมาใช้การได้ตามปกติ

นายหน้าลอยแพ 250 แรงงานไทย ไร้ตั๋วบินทำงานต่างประเทศ

ฝันสลาย แรงงานไทย 250 ชีวิต เหมารถมาสนามบินเก้อ หวังได้ไปทำงานในต่างประเทศ สุดท้ายไม่มีตั๋วบิน รวมตัวแจ้งความตำรวจ หวั่นถูกหลอกสูญเงินกว่า 12 ล้านบาท

สั่งปิดกิจการโรงงานลอบขนขยะอิเล็กทรอนิกส์

“เอกนัฏ” ลุยจับโรงงานลักลอบขนย้ายขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกยึดอายัดจากปราจีนบุรี มามหาชัย จ.สมุทรสาคร พบเป็นเครือข่ายเดียวกับ 2 โรงงานที่ถูกสั่งปิดก่อนหน้านี้ ขยายผลตามจับจนเจอขยะอิเล็กทรอนิกส์ลอตใหม่อีกกว่า 1,200 ตัน สั่งปิดกิจการทันที

ข่าวแนะนำ

ดิจิทัลวอลเล็ตเฟส3

“ประเสริฐ” มั่นใจดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 เสร็จทัน มี.ค.นี้ ได้บริษัททำแอปแล้ว

“ประเสริฐ” รมว.ดีอี มั่นใจดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 เสร็จทัน มี.ค.นี้ หลัง “ทักษิณ” ประกาศซ้ำ เผยล่าสุดได้บริษัทจัดทำแอปพลิเคชั่นแล้ว ทดลองระบบ 1 เดือน แย้ม มี.ค.รอบสุดท้าย

น้ำค้างแข็งดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์อุณหภูมิลดฮวบ เหลือ 0 องศาฯ

เหนือเย็นยะเยือกต่อเนื่อง ดอยอินทนนท์อุณหภูมิลดฮวบ เหลือ 0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิยอดหญ้าติดลบ เกิดน้ำค้างแข็งเป็นครั้งที่ 4 ของปี 2568 และเป็นครั้งที่ 12 ของหน้าหนาว

กต.เผยเมียนมาปล่อยนักโทษไทย 152 คน-ไม่มี 4 ลูกเรือประมง

กระทรวงการต่างประเทศ เผยเมียนมาปล่อยตัวนักโทษชาวไทย 152 คน แต่ยังไม่มี 4 ลูกเรือประมง ยืนยันพยายามอย่างเต็มที่