ชู “ทุเรียน” เป็นสินค้าเกษตร “หนึ่งประเทศหนึ่งผลิตภัณฑ์” ของไทย

กรุงเทพฯ 8 ก.ย. – กระทรวงเกษตรฯ กำหนดให้ “ทุเรียน” เป็นสินค้าเกษตรในโครงการหนึ่งประเทศหนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย ตามที่ FAO กำหนด เนื่องจากกลิ่น รสชาติ และลักษณะเนื้อที่มีอัตลักษณ์ แตกต่างจากทุเรียนของประเทศอื่นอย่างชัดเจน ทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 40 


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า เตรียมยกให้ “ทุเรียน” เป็นสินค้าเกษตร Special Agricultural Products (SAPs) ใน “โครงการหนึ่งประเทศหนึ่งผลิตภัณฑ์” ของไทย ซึ่งตามที่ FAO กำหนด สินค้า SAP ต้องเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรสีเขียวที่มีเอกลักษณ์ทั้งด้านแหล่งผลิต ขั้นตอนการผลิต การแปรรูป และรสชาติ ทั้งนี้ “ทุเรียน” เป็นไม้ผลที่ปลูกในรูปแบบเกษตรยั่งยืนและเกษตรสีเขียว แล้วแซมแปลงด้วยพืชสมุนไพรเพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยไม่ต้องใช้สารเคมี ไม่ก่อให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำธรรมชาติ สวนทุเรียนไทยตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขา ซึ่งต้นทุเรียนเป็นพืชที่มีรากแก้ว สามารถยึดเกาะพื้นดินได้แน่นและสามารถอุ้มน้ำได้ดี จึงมีส่วนช่วยในการรักษาทรัพยากรดิน น้ำ และระบบนิเวศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นส่วนประกอบสำคัญในการป้องกันการเกิดน้ำป่าไหลหลากและหน้าดินถล่ม ตลอดจนปลูกในลักษณะวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ มีระบบการบริหารจัดการที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ทุเรียนไทยได้รับมาตรฐาน GAP เป็นส่วนสำคัญในการขยายตลาดการส่งออกอีกด้วย

นอกจากนี้ ทุเรียนยังเป็นสินค้าเกษตรที่มีเอกลักษณ์ของแหล่งผลิต หลายพื้นที่ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI  มีอัตลักษณ์ด้านกลิ่น รสชาติ และลักษณะเนื้อ จึงมีคุณภาพระดับพรีเมียมที่โดดเด่นและแตกต่างจากทุเรียนต่างชาติอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นสินค้าเกษตรไทยที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกสูงที่สุด ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคง โดยในปีนี้ แนวโน้มการส่งออกทุเรียนไทยจะมีมูลค่าอยู่ที่ราว 2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 40 


นายเฉลิมชัยกล่าวต่อว่า กำลังพิจารณาสินค้าเกษตรอีกหลายชนิดเพื่อเสนอสินค้าเกษตรหลาย SAP ใน “โครงการหนึ่งประเทศหนึ่งผลิตภัณฑ์” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี ฉบับใหม่ของ FAO ที่มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบอาหารเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม ยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้น โดยไม่มีทิ้งใครไว้ข้างหลัง และได้ร่วมนำเสนอการดำเนินงานในการพัฒนาสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบาย 3S คือ Safety-ความปลอดภัยของอาหาร  Security-ความมั่นคงของภาคการเกษตรและอาหาร และ Sustainability-ความยั่งยืนภาคการเกษตร ขับเคลื่อนโดยกรอบยุทธศาสตร์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวด้านการเกษตร. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

อลังการเคาท์ดาวน์เชียงใหม่ดึงดูดผู้คนทั่วโลก

ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่เชียงใหม่กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ที่จะไปร่วมเฉลิมฉลองกันที่นั่นไม่ต่ำกว่า 3 แสนคน ซึ่งมีการจัดกิจกรรมนับถอยหลังสู่ปีใหม่ในหลายจุด โดยเฉพาะที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ซึ่งเต็มไปด้วยความสวยงามของดอกไม้และแสงไฟ เรียกว่าเป็นจุดเคาท์ดาวน์ที่สวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน

พ่อช็อก ลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์

พ่อช็อก น้ำตาคลอรู้ข่าวลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินเชจูแอร์ ไถลออกนอกรันเวย์ เผยเป็นลาง ลูกยื่นเงินหมื่นให้พ่อจ่ายเงินฌาปนกิจศพให้ตัวเอง

Jeju Air CEO apologises for plane crash at airport in South Korea

ซีอีโอเชจูแอร์ขอขมาผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชน

โซล 29 ธ.ค.- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ (CEO) ของสายการบินเชจูแอร์ (Jeju AIr) ขอขมาต่อผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชนรั้วกั้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดอยู่ที่ 124 คน จากจำนวนคนบนเครื่องบินทั้งหมด 181 คน นายคิม อีแบ ซีอีโอเชจูแอร์ แถลงต่อสื่อสั้น ๆ ว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและขอขมาต่อผู้โดยสารที่เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุครั้งนี้ รวมถึงครอบครัว บริษัทจะแก้ไขสถานการณ์อย่างรวดเร็วและให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้โดยสาร นอกจากนี้จะพยายามอย่างเต็มที่ในการหาสาเหตุร่วมกับรัฐบาล นายคิม กล่าวว่า บริษัทให้บริการเครื่องบินลำนี้โดยได้มีการซ่อมบำรุงตามปกติ และไม่พบสัญญาณใด ๆ ว่าเครื่องบินมีความผิดปกติ เชจูแอร์เป็นสายการบินต้นทุนต่ำของเกาหลีใต้ที่ตั้งขึ้นในปี 2548 ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย และมีเที่ยวบินในประเทศจำนวนมาก ด้านโบอิง บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินของสหรัฐ แถลงว่า กำลังประสานกับเชจูแอร์ กรณีเครื่องบินโบอิง 737-800 แบบ 2 เครื่องยนต์ เที่ยวบิน 7ซี2216 (7C2216) ชนที่ท่าอากาศยานทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ และพร้อมให้ความช่วยเหลือสายการบิน ขณะที่กระทรวงคมนาคมของเกาหลีใต้ ระบุว่า เครื่องบินลำนี้ผลิตในปี 2552 […]

ข่าวแห่งปี 2567 : สุดอาลัย…ดาวลับฟ้า ปี 2567

ตลอดปี 2567 นับเป็นปีที่สูญเสียบุคคลมีชื่อเสียง ทั้งในแวดวงบันเทิง ศิลปินแห่งชาติ และวงการสื่อสารมวลชน ที่มีคุณูปการต่อประเทศชาติ