สภาพัฒน์ ปรับลด GDP ปี 64 เหลือโต 0.7-1.2% จากเดิมคาด 1.5-2.5%

กรุงเทพฯ 16 ส.ค.- สภาพัฒน์ ปรับลด GDP ปี 64 เหลือโต 0.7-1.2% จากเดิมคาด 1.5-2.5% จากวิกฤติการระบาดของโควิด-19 ระลอกนี้ ขณะที่ไตรมาสที่ 2 ยังขยายตัวที่ 7.5% พร้อมชี้ปัจจัยเสี่ยงเฝ้าระวังเชื้อกลายพันธุ์ ปัญหาหนี้ครัวเรือน การจ้างงาน และการระบาดที่กระทบภาคโรงงานผลิตเพื่อการส่งออก


  นายอนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงการขยายตัวเศรษฐกิจไทย GDP ในไตรมาส 2/64 ขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/63 และขยายตัว 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/64 ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 2/64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับของปีก่อน มาจากการบริโภคภาคเอกชน ที่ขยายตัว 4.6% และการลงทุนรวมขยายตัว 8.1% โดยการลงทุนจากภาคเอกชนขยายตัว 9.2% และการลงทุนภาครัฐขยายตัว 5.6% ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัว 36.2%  ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจครึ่งปีแรกขยายตัวราว 2% จากฐานปีก่อนที่ต่ำผิดปกติ และมีการขยายตัวในบางสาขาสำคัญ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคส่งออกเป็นหลัก ส่วนภาคการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว

โดยสภาพัฒน์  ยังคาดการณ์ขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะขยายตัว  0.7-1.2  % จากประมาณการเดิม 1.5-2.5%  โดยผลจากการระบาดโควิดระลอก 3 ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้การขยายตัวเศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณขยายตัวลดลง   จนถึงการประกาศใช้มาตรการควบคุมสูงสุดเข้มงวด(แดงเข้ม)  29 จังหวัด  โดย สภาพัฒน์ ใช้สมติฐานการประมาณยอดติดเชื้อจากกระทรวงสาธารณสุขว่า  ยอดติดเชื้อจะสูงสุดช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้   และเริ่มลดลงช้าๆ ในเดือนกันยายน  ทำปลายปีเชื่อว่าจะสามารถผ่อนคลายเปิดพื้นที่เศรษฐกิจได้ ในไตรมาสที่ 4   และปัจจัยจะมีการกระจายวัคซีนได้  85 ล้านโดส ในปลายปี 2564 ด้วย ท่ามกลางการขยายตัว เศรษฐกิจโลกที่ประมาณการว่าในปีนี้จะขยายตัวที่  6 % 


เลขาฯสภาพัฒน์ ยังกล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงในช่วงที่เหลือของปี  2564 ประกอบด้วยปัจจัย  การกลายพันธุ์เชื้อ โควิด-19 ที่จะทำให้การควบคุมการระบาด โควิด-19 ทำได้ยาก ,  หนี้ภาคครัวเรือนที่สูง , ปัญหาการจ้างงาน การตกงานจากภาคท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบหนักจากการระบาด  , ความไม่แน่นอนภาคการส่งออก ต้องระวังผลกระทบการระบาดต่อการผลิต ในโรงงาผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งเป็นภาคที่ยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอยู่

ส่วนเรื่องที่ต้องทำในการบริหารเศรษฐกิจ 7 เรื่องขณะนี้ คือ ต้องควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดเร็วที่สุด ,การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ,  การสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อการระบาดคลี่คลายลง ,การขับเคลื่อนการส่งออกให้เติบโตต่อเนื่อง ,การขับเคลื่อนการลงทุน และการใช้จ่าย จากเม็ดเงินการลงทุนภาครัฐ  การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน และ การดูแลเสถียรภาพการเมืองและเศรษฐกิจ .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง