รฟม. ย้ำค่าโดยสาร MRT ถูก!


กรุงเทพฯ 19 เม.ย.- รฟม.สวนแรง ข้อมูล “สามารถ ราชพลสิทธิ์” พร้อมแจงข้อมูลค่าโดยสารของ MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน จะต่ำกว่าประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เผยแพร่ข้อมูลชี้แจง กรณีนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ให้ข่าวระบุหัวข้อว่า “ดูกันชัดๆ อีกที ค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม. หรือ รฟม. ถูกกว่า?” นั้น


โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ดังนี้

1)การเดินทางที่ไกลที่สุดจาก MRT สายสีม่วงไปยัง MRT สายสีน้ำเงินอยู่ที่ประมาณ 59 กิโลเมตร โดยมีอัตราค่าโดยสาร 70 บาท ซึ่งหากพิจารณาแล้วจะเห็นว่า ประชาชนมีภาระค่าโดยสารเฉลี่ยเพียง 1.18 บาท/กิโลเมตร เท่านั้น ซึ่งถูกกว่าภาระค่าโดยสารเฉลี่ยของ กทม. และไม่ได้เป็นไปตามที่ถูกกล่าวอ้าง

2)เนื่องจากโครงการ MRT สายสีน้ำเงิน เป็นโครงการก่อสร้างที่มีแนวเส้นทางเป็นโครงสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินกว่าร้อยละ 50 อีกทั้งยังมีแนวเส้นทางที่ต้องผ่านพื้นที่ชั้นในเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ลอดผ่านใต้แม่น้ำเจ้าพระยา มีความยากในการก่อสร้างและมีความเสี่ยงในการดำเนินการหลายแห่ง จึงทำให้มูลค่าลงทุนโครงการสูงกว่าโครงการรถไฟฟ้ายกระดับ (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) ถึง 3 เท่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าที่ผู้รับสัมปทานต้องแบกรับด้วย ในทางกลับกันปริมาณผู้โดยสารของโครงการ MRT สายสีน้ำเงิน กลับน้อยกว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวกว่ากึ่งหนึ่ง จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ รฟม. (ภาครัฐ) ต้องเป็นผู้รับภาระค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางโยธา เพื่อจูงใจให้เอกชนสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการ เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ภาคเอกชนลงทุนโครงการทั้งหมด


3)การพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม มีปัจจัยสำคัญประกอบการพิจารณา ได้แก่ พฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสาร ระยะเดินทางเฉลี่ยของผู้โดยสาร ความเต็มใจในการจ่ายค่าโดยสารของประชาชน (Willingness to pay) เป็นต้นดังนั้น หากเปรียบเทียบการเดินทางเฉลี่ยของประชากรใน กทม. บนโครงข่ายรถไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 8 สถานีต่อเที่ยว จะเห็นได้ว่า การเดินทางใน MRT สายสีม่วง จะมีค่าโดยสารอยู่ที่ 33 บาท และ MRT สายสีน้ำเงินอยู่ที่ 31 บาท ในขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีค่าโดยสารเมื่อเดินทาง 8 สถานี ในโครงสร้างอัตราค่าโดยสารปัจจุบันอยู่ที่40 บาท ซึ่งจะพบว่าอัตราค่าโดยสารของ MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน จะต่ำกว่าประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทั้งนี้ แนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสารของ รฟม. เป็นไปตามผลการคัดเลือกเอกชนที่กำหนดภาระของรัฐและประชาชนที่ต่ำที่สุดมาโดยตลอดและมิอาจเปรียบเทียบกับแนวทางอื่นๆ ตามที่นักวิชาการดังกล่าวกล่าวอ้างโดยปราศจากข้อมูลที่ รฟม. อ้างอิง.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ผู้ว่าฯ กทม. สั่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ครบ 7 วันเหตุแผ่นดินไหว อาคารถล่ม ล่าสุดผู้ว่าฯ กทม. สั่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหาย ใช้เครื่องจักรหนักรื้อถอนทุกโซน เบื้องต้นพบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมอีก 2 ร่าง ยังไม่สามารถนำออกมาได้

ยุน ซ็อก ยอล

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ถอดถอน ยุน ซ็อก ยอล จากตำแหน่ง ปธน.

ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้มีคำวินิจฉัยในวันนี้ให้ถอดถอนนายยุน ซ็อก ยอล ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีตามที่รัฐสภาลงมติไปก่อนหน้านี้ ทำให้เขาต้องพ้นจากตำแหน่งผู้นำเกาหลีใต้

เจาะโซน C และ D สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์-บันไดหนีไฟ

กู้ภัย เผยเจาะโซน C และ D ได้สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์และบันไดหนีไฟ เชื่อมีผู้สูญหายติดอยู่โซนนี้จำนวนมาก หลังพบเสียงขอความช่วยเหลือจากโซน B ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา

ลุ้นช่วยผู้รอดชีวิต หลังพบสัญญาณชีพ

ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ยังเดินหน้าต่อเนื่อง ขณะนี้ในพื้นที่เสียงเครื่องจักรหนักหยุดลง เป็นสัญญาณว่าทีมกู้ภัย ทั้งเจ้าหน้าที่ค้นหาและสุนัข K9 กำลังเข้าไปเดินสำรวจหลายจุด ซึ่งปฏิบัติการตลอดทั้งวันนี้เน้นจุดโซน B หลังจากช่วงคืนที่ผ่านมา (2 เม.ย.) มีสัญญาณตอบกลับจากผู้ที่คาดว่าจะรอดชีวิต