ดัชนีเศรษฐกิจการค้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567

สนค.เผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทยเดือน พ.ย.67 เท่ากับ 108.47 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.95 พร้อมคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.2-0.8 (ค่ากลางร้อยละ 0.5) ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 68 คาดว่าจะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.3-1.3 (ค่ากลางร้อยละ 0.8)

ยูโอบี คาดเศรษฐกิจไทยปี 67 โต 2.8%

กรุงเทพฯ 12 มี.ค. – ยูโอบี คาดปี 2567 เศรษฐกิจไทยน่าจะเติบโต 2.8% ได้แรงหนุนจาก ใช้จ่ายผู้บริโภค-ท่องเที่ยว ยังต้องจับตาปัจจัยเสี่ยง เงินเฟ้อสูง-ภาวะเศรษฐกิจถดถอย-ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์

เงินเฟ้อไทยเดือน ก.พ. ติดลบต่อเนื่อง เหตุอาหาร พลังงานลดลง

ผอ.สนค. เผยอัตราเงินเฟ้อไทยเดือน ก.พ.67 ยังคงติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 อยู่ที่ร้อยละ 0.77 เหตุจากผลมาตรการลดค่าครองชีพพลังงาน ไฟฟ้า และกลุ่มอาหารสด แต่มั่นใจไม่เกิดเงินฝืดแน่นอน พร้อมติดตามมาตรการลดค่าครองชีพหลัง 19 เม.ย.67 จะต่ออีกหรือไม่

กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 35.55-36.25 บาท/ดอลล่าร์

กรุงเทพฯ 4 มี.ค. – กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 35.55-36.25 บาท/ดอลล่าร์ รอประธานเฟดแถลง ประเมินเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ.ของไทย ติดลบเป็นเดือนที่ 5

สนค.เผยอัตราเงินเฟ้อเดือนแรกปี 67 ยังติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4

ผอ.สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนแรกของปี 67 ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 1.11 แต่ยังไม่ถึงขั้นเงินฝืด แม้อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. ยังมีโอกาสติดลบต่อเนื่อง ประเมินเงินเฟ้อทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ร้อย -0.3-1.7

เงินเฟัอไทยตลอดปี 66 สูงขึ้นเพียงร้อยละ 1.23 ผลพลังงาน-ไฟฟ้าลด

กรุงเทพฯ 5 ม.ค.-สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์เผยอัตราเงินเฟ้อไทยตลอดปี 66 สูงขึ้นเพียงร้อยละ 1.23 ถือว่าสูงขึ้นใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้ ชี้มาจากมาตรการภาครัฐดูแลค่าครองชีพลดค่าน้ำมันและไฟฟ้ารวมถึงราคาน้ำมันตลาดโลกลดลง คาดอัตราเงินเฟ้อในปี 67 จะสูงเฉลี่ยอยู่ที่รัอยละ 0.3-1-7 ยังอยู่ในกรอบไม่สูงมาก นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนธันวาคม 2566 เท่ากับ 106.96 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งเท่ากับ 107.86 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 0.83 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 24 เดือนนับตั้งแต่เดือน มี.ค.64 แม้ว่าเงินเฟ้อจะลดติดต่อกัน 3 เดือนมาแล้ว ไม่ถือเป็นการเข้าสู่เงินฝืด เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ลดลงตามกระแสนโยบายลดค่าครองชีพของรัฐบาล โดยปัจจัยสำคัญมาจากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง และค่ากระแสไฟฟ้า ตามนโยบายลดภาระค่าครองชีพด้านพลังงานของรัฐบาล รวมทั้งเนื้อสัตว์และเครื่องประกอบอาหารที่ราคาลดลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ ผักสดราคาลดลงค่อนข้างมาก สำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 0.58 […]

เงินเฟ้อ ก.ย. ชะลอตัว จากราคาพลังงาน-อาหารลดลง

ผอ.สนค. เผยอัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย.66 ชะลอตัวจากราคาพลังงาน และอาหารลดลงครั้งแรกในรอบ 23 เดือน อยู่ที่ 0.30% จาก 0.88% เดือน ส.ค.66 ตามการชะลอตัวของราคาสินค้า พร้อมปรับคาดการณ์เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1.0–1.7%

เงินเฟ้อ ก.ค.66 บวกเพียงร้อยละ 0.38 อยู่ระดับต่ำต่อเนื่อง

นนทบุรี 7 ส.ค.-ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) เผย อัตราเงินเฟ้อเดือนก.ค.66 บวกเพียงร้อยละ 0.38 อยู่ระดับต่ำต่อเนื่อง แต่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ1.0 – 2.0 

อัตราเงินเฟ้อของไทยสูงขึ้น 0.53% เทียบกับเขตเศรษฐกิจต่างๆ

โฆษกรัฐบาลเผย อัตราเงินเฟ้อของไทย เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจต่างๆ (เดือน พ.ค.66 เทียบกับ พ.ค.65) พบว่าเงินเฟ้อของไทยสูงขึ้น 0.53% (YoY) อยู่ต่ำเป็นอันดับที่ 6 จาก 134 เขตเศรษฐกิจที่มีการประกาศตัวเลข

กรุงไทยวิเคราะห์ราคาอาหารสดและราคาพลังงานชะลอดันเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.ลง

กรุงเทพฯ 6 ก.ค.- กรุงไทยวิเคราะห์อัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.ชะลอลงสู่  0.23% จากราคาอาหารสด และราคาพลังงานและทาง Krungthai COMPASS ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีมีแนวโน้มชะลอลงมาสู่ระดับ 1.9% 

บล.CGS-CIMB  ชี้เงินเฟ้อชะลอตัวดีระยะสั้นตลาดหุ้นไทย

กรุงเทพฯ 7 มิ.ย.-นักวิเคราะห์ บล.CGS-CIMB  ประเมินอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัว ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทยในระยะสั้นยังต้องจับตานักลงทุนต่างชาติเทขายต่อเนื่อง

1 2 3
...