ไทยออยล์พร้อมเพิ่มกำลังผลิตน้ำมันเครื่องบินรองรับเปิดประเทศ

กรุงเทพฯ  1 เม.ย.-บมจ.ไทยออยล์พร้อมเพิ่มกำลังกลั่นน้ำมันเครื่องบินรองรับแผนเปิดประเทศ ด้านธุรกิจมุ่งสู่องค์กร 100 ปี ทำ 3 แผนหลักปรับพอร์ตกำไรธุรกิจน้ำมันเหลือร้อยละ 40 ใน10 ปีข้างหน้า ลุยหาพันธมิตรร่วมทุนทั้งในและต่างประเทศด้านโอเลฟินส์ รองรับ CFP  


นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยออยล์ (TOP) กล่าวว่า บมจ.ไทยออยล์พร้อมเพิ่มกำลังกลั่นน้ำมันเครื่องบิน ส่งเสริมนโยบายเปิดประเทศที่จะทยอยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ โดยปีที่แล้วจากสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทางไทยออยล์เป็นเพียงโรงกลั่นเดียวที่ยังคงกลั่นน้ำมันเครื่องบิน แต่ก็ลดกำลังกลั่นจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 ของกำลังกลั่นไทยออยล์ 275,000 บาร์เรล/วัน ซึ่งเชื่อว่า นับจากนี้ การใช้น้ำมันในประเทศน่าจะขยายตัวดีขึ้น

ส่วนราคาน้ำมันที่ขยับสูงขึ้นมากในไตรมาส 1 ปีนี้ คงต้องจับตาดูว่า ประเทศต่าง ๆ จะเปิดประเทศได้มากน้อยเพียงใด หลังวัคซีนออกมาเพิ่มขึ้น ซึ่งล่าสุดการที่ยุโรปหลายประเทศล็อกดาวน์อยู่ก็ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันเช่น โอเปกพลัส   คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันปรับเพิ่มขึ้น 5.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2564 ลดลงจากคาดการณ์ในครั้งก่อน  300,000 บาร์เรลต่อวัน 


ส่วนโครงการพลังงานสะอาด(CFP) ที่ ไทยออยล์ปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นและขยายกำลังการกลั่นน้ำมันจากเดิม 275,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 400,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2566  ขณะนี้มีความคืบหน้าแล้วร้อยละ 60 โดยยอมรับว่าในช่วงโควิด-19 ปีที่แล้วโครงการล่าช้ากว่าแผนเล็กน้อย เนื่องจากมีการสั่งซื้อชิ้นส่วนทั่วโลก ทำให้เกิดปัญหาการส่งมอบล่าช้าบ้างในขณะนี้ก็เร่งงานให้เป็นไปตามกำหนด โดยโครงการนี้ลงทุนรวม 150,000 ล้านบาท และมีการจ้างงานในพื้นที่ 15,000 คน หากรวมกับการจ้างงานของพนักงานรับช่วงและซัพพลายเออร์ต่างๆแล้วคาดว่าจะมีการจ้างงานรวม 50,000 คนช่วยเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะเดินหน้าโครงการ Beyond CFP เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ ต่อยอดจาก CFP เพราะจะมีผลพลอยได้เป็นวัตถุดิบ (feedstock) เพิ่มขึ้นประมาณ 2.2 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) ประมาณ 600,000 ตัน Light naphtha ประมาณ 700,000 ตันต่อปี ใช้เป็นวัตถุดิบในสายโอเลฟินส์ และ Heavy naphtha ประมาณ 900,000ตันต่อปี จะใช้เป็นวัตถุดิบในสายอะโรเมติกส์ โดยไทยออยล์กำลังเจรจากับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศเพื่อร่วมทุนในการผลิตแทนที่จะต้องก่อสร้างโรงงานโอเลฟินส์ใหม่ ที่ต้องใช้เวลานาน โดยสร้างซีเอฟพีเสร็จอีก  2 ปี  หากลงทุนโรงโอเลฟินส์ใหม่ ต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปี รวมใช้เวลา  7-8 ปีหลังจากนี้ ดังนั้น หากเข้าไปร่วมทุนกับผู้ที่มีโรงงานอยู่แล้วก็จะได้ผลตอบแทนรวดเร็วที่เรียกว่า   ได้ fast track  ส่วนสายอะโรเมติกส์ ไทยออยล์มีโรงงาน ไทยพาราไซลีนอยู่แล้วก็จะมีการศึกษาเรื่องการขยายขนาดกำลังการผลิตให้เหมาะสมต่อไป   ซึ่งบริษัทก็เตรียมพร้อมด้านการเงิน โดยมีกระแสเงินสดอยู่ที่ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 60,000 ล้านบาทซึ่งเตรียมไว้สำหรับ CFP และการลงทุนใหม่

 “นโยบายของไทยออยล์ คือจะ fast track  ร่วมทุนสายโอเลฟินส์ ทั้งภายในกลุ่ม ปตท. และนอกกลุ่ม ทั้งในและต่างประเทศ  โดยเฉพาะในประเทศที่มีความต้องการใช้(ดีมานด์)    เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม คาดว่าจะสรุปความชัดเจนในการเลือกพันธมิตรร่วมลงทุนได้เร็วสุดภายในปีนี้  ซึ่งจากวิกฤติ โควิด-19 หลายคนที่ลงทุนก่อสร้างโรงงานโอเลฟินส์ที่ต่างประเทศก็อยากจะหาพาร์ทเนอร์และเงินลงทุนก็น้อยกว่าปกติ ฉะนั้นเรามองว่าเป็นช่วงเวลาที่วิกฤตเป็นโอกาส” นายวิรัตน์ กล่าว


นายวิรัตน์  กล่าวอีกว่าไทยออยล์ครบรอบ 60 ปีในปีนี้จากกำลังกลั่นเริ่มต้นปี 2504 เพียง 35,000 บาร์เรลต่อวัน  ขณะนี้ 275,000 บาร์เรลต่อวัน   เมื่อ CFP แล้วเสร็จปี 2566  จะเพิ่มเป็น 400,000 บาร์เรลต่อวัน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นด้านการกลั่น รับน้ำมันดิบที่หลากหลายและวาง 3 กลยุทธ์หลัก พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่องค์กร 100 ปีและตั้งเป้าพอร์ตกำไรใน 10 ปีข้างหน้า จะประกอบไปด้วย ธุรกิจปิโตรเคมี ร้อยละ 40 ธุรกิจการกลั่นร้อยละ 40 ธุรกิจไฟฟ้าร้อยละ 15 และ ธุรกิจใหม่ ร้อยละ  5

 สำหรับ 3 กลยุทธ์ หลักได้แก่  1. การต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าให้แก่ทุกโมเลกุลที่ผลิต (Hydrocarbon Value Chain Maximization) เร่งหาโอกาสลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีต่อยอด จากโครงการ CFP  มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High-value Products) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและลูกค้า 2. การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการเติบโต (Supply Chain Management as a Growth Platform) เพื่อสร้าง Platform สำหรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคตทั้งในประเทศและผ่านบริษัทในกลุ่มที่ตั้งอยู่ที่ต่างประเทศ  เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากโครงการ CFP  3. การกระจายความเติบโตเพื่อลดความผันผวนของกำไร (Earnings Diversification)  ไปยังธุรกิจที่มีรายได้ที่มั่นคง รวมถึงธุรกิจใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือธุรกิจใหม่เชิงนวัตกรรมที่สอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคต (New S Curve) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้พอร์ตการลงทุนและเพิ่มเสถียรภาพของกำไร รองรับความผันผวนจากธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี  ซึ่งขณะนี้มีการจัดตั้งกองทุนร่วมทุน  30 ล้านเหรียญสหรัฐ ลงทุนในสตาร์ทอัพ ซึ่งในขณะนี้ร่วมทุนแล้วในสหรัฐและอิสราเอล

ส่วนการขยายธุรกิจด้านไฟฟ้า พอร์ตจะเติบโตไปพร้อมกับบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จํากัด (มหาชน) หรือ GPSC ที่ไทยออยล์ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 20 ปัจจุบันไทยออยล์มีพอร์ตไฟฟ้ารวม 1,000 เมกะวัตต์  นอกจากนี้ บริษัทยังมองหาโอกาสในธุรกิจใหม่(New Business) ตั้งเป้าหมายจะมีกำไร 5% ของพอร์ตธุรกิจ จะมุ่งไปใน 2 ด้าน คือ Green Business เช่น การที่บริษัทได้เข้าไปลงทุนในธุรกิจเอทานอลในทรัพย์ทิพย์และอุบลไบโอเอทานอล  ซึ่งพันธมิตรทั้ง 2รายยังมีแผนต่อยอดการเติบโตธุรกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และยังมองโอกาสเข้าร่วมลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก(โครงการนำร่อง)อีกด้วย  -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ศึกชิงนายก อบจ.เพชรบุรี แชมป์เก่ายังแรง

เลือกตั้งนายก อบจ.เพชรบุรี ไม่คึกคัก ผลไม่เป็นทางการ “ชัยยะ อังกินันทน์” แชมป์เก่า คะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่ง ด้านเลขาฯ กกต. เผยภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด คนมาใช้สิทธิน้อย คาดเบื่อเลือกตั้ง 2 รอบ

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

ลุ้นผลเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ขณะนี้การนับคะแนนตามหน่วยต่างๆ เสร็จสิ้นแล้ว อยู่ในขั้นตอนการรวมคะแนน ซึ่งในเขตเมือง ผลปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคประชาชนมีคะแนนนำ แต่อำเภอรอบนอก ตัวแทนพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำอยู่หลายหน่วยเลือกตั้ง