รัฐสภาเห็นชอบกรอบ RCEP แล้ว

 นนทบุรี 10 ก.พ.-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ปลื้มผลการประชุมรัฐสภาเมื่อวานนี้ เห็นชอบกรอบการเจรจา RCEP แล้ว โดยโหวตเห็นชอบให้สัตยาบันความตกลง คาดมีผลบังคับใช้ปีนี้แน่นอน มั่นใจการค้าของไทยขยายตัวได้แน่นอน


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าการประชุมรัฐสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวานนี้ 9 ก.พ.64 ได้โหวตเห็นชอบให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ  RCEP(Regional Comprehensive Economic Partnership Agreement ) ด้วยคะแนนเสียง 526 เสียง ซึ่งการให้สัตยาบันการเข้าเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือที่เรียกว่าอาร์เซป โดยข้อตกลง RCEP นั้นถือเป็นการต่อยอด FTA ระหว่างอาเซียน +1 กับประเทศต่างๆ เช่น อาเซียน + จีน,อาเซียน + ญี่ปุ่น,อาเซียน + เกาหลี ,อาเซียน + ออสเตรเลีย,อาเซียน + นิวซีแลนด์ และอาเซียน + อินเดีย รวมกันจะกลายมาเป็น RCEP ซึ่ง RCEP นี้ถือเป็น FTA ฉบับที่ 14 ของประเทศไทยถ้ามีผลบังคับใช้ในอนาคต

ทั้งนี้ ประเทศที่เข้าร่วมลงนามมีทั้งหมด 15 ประเทศ ผลของการบรรลุข้อตกลง RCEP และการลงนามนี้ RCEP จะกลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมี GDP รวมกันถึง 1 ใน 3 ของโลก และประชากรในกลุ่มประเทศ RCEP 15 ประเทศนี้ มีด้วยกัน 2,200 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากรโลก มูลค่าการค้าของไทยกับประเทศอาเซียนคิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าการค้าระหว่างไทยทั้งหมด ตกเป็นมูลค่าการค้า 8.5 ล้านล้านบาท ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับถ้าข้อตกลง RCEP มีผลบังคับใช้ เราจะได้รับประโยชน์ทั้งในเรื่องของการค้าสินค้าและบริการ สำหรับสินค้าจะประกอบไปด้วย สินค้าทางด้านเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม


สำหรับสินค้าเกษตรที่จะได้รับประโยชน์ เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง สินค้าประมง เป็นต้น สำหรับอาหาร เช่น ผัก ผลไม้สดและแปรรูป สินค้าอุตสาหกรรม ประกอบด้วยอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า กระดาษ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องแต่งกาย และมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น สำหรับภาคบริการ เช่นธุรกิจก่อสร้างที่ปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในเรื่องนี้รวมทั้งธุรกิจในเรื่องของการค้าปลีกและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ และธุรกิจดิจิตอลคอนเทนท์ เช่น ภาพยนตร์ บันเทิง อนิเมชั่น เป็นต้น

นอกจากนี้ หลังที่ประชุมรัฐสภาถ้าให้ความเห็นชอบหน่วยงานของรัฐยังมีภารกิจอีก 4 เรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการก่อนส่งเรื่องไปให้สัตยาบันกับเลขาธิการอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา ประกอบด้วย 1.เรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกรมศุลกากรต้องมีการปรับพิกัดอัตราศุลกากรจาก HS 2012 ให้เป็น HS 2017 รวมทั้งต้องออกประกาศกระทรวงการคลัง เพื่อยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรภายใต้ความตกลง RCEP 2.เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการของกรมศุลกากรให้สอดคล้องกับข้อตกลง RCEP

3.เกี่ยวข้องกับกรมการค้าต่างประเทศ ต้องไปหารือกับกลุ่มประเทศสมาชิกในเรื่องแนวปฏิบัติของการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าหรือที่เรียกกันว่าใบ C/O และปรับแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อตกลง 4.สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจะต้องออกประกาศกระทรวงฯเรื่องเงื่อนไขการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่จะนำเข้ามาผลิตรถยนต์ 125 รายการ ซึ่งใน  4 เรื่องที่หน่วยงานของรัฐจะต้องไปดำเนินการหลังจากที่ประชุมรัฐสภาให้ความเห็นชอบ


สำหรับในปี 2563 การค้าของไทยกว่าครึ่งพึ่งพาตลาด RCEP โดยการค้ารวมระหว่างไทยกับสมาชิก RCEP มี มูลค่า 2.52 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.87 ล้านล้านบาท (57.5% ของการค้ารวมของไทย) โดยไทยส่งออก ไป RCEP มูลค่า 1.23 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.83 ล้านล้านบาท (53.3% ของการส่งออกไทย) สินค้า ส่งออกสำคัญ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง น้ามันสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีสมาชิกในที่ประชุมสภา ต่อการเสนอให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ การให้สัตยาบัน การเข้าเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership Agreement : RCEP) นั้น ว่าเหตุใดรัฐบาลจึงต้องเร่งรีบนำเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมของรัฐสภา หรือเป็นเพราะต้องการเร่งสร้างผลงานก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่นั้น ตนคิดไม่ถึงว่าเรื่องนี้แทนที่จะกลายเป็นเรื่องบวก แต่กลับเป็นเรื่องคิดลบได้ขนาดนี้ เพราะความจริงแล้วไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย รัฐบาลได้เสนอเรื่องนี้มาตั้งแต่ยังไม่มีญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะว่าเป็นเจตจำนงร่วมกันกับทั้ง 15 ประเทศที่ต้องการให้อาร์เซ็ปมีผลบังคับใช้โดยเร็วและทันทีที่มีการลงนามวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ตนได้สั่งการให้กรมเจรจาการค้าได้รีบดำเนินการในการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเพราะยังมีภารกิจหลังจากนี้อีก 4 – 5 เรื่อง กว่าจะนำไปเสนอการให้สัตยาบันต่อเลขาธิการอาร์เซ็ป ที่จาการ์ตาได้

 “จากการที่มีสมาชิกรัฐสภา แสดงความเห็นใจว่าการเจรจานั้นดำเนินการมายาวนาน หลายรัฐบาล และทราบดีว่าเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งเรื่องดังกล่าวตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ ได้เข้าไปดูแลกระทรวงพาณิชย์ทราบว่าเรื่องนี้ไม่ง่ายเลย ถึงต้องยาวนานมาหลายรัฐบาล ซึ่งเหนื่อยทั้งข้าราชการประจำ เหนื่อยทั้งภาคการเมือง เพราะกว่าจะผ่านไปได้แต่ละเรื่องก็จะต้องมีการเจรจาทั้งระดับเจ้าหน้าที่ ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส เพราะฉะนั้นหลายรัฐบาลที่ผ่านมากว่าจะผ่านทีละข้อบทมาให้ 7 ข้อบท และมาเร่งดำเนินการอีก 13 ข้อบทนี้ จึงต้องใช้พลังมหาศาลในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี “นายจุรินทร์  กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง