ผนึกกำลังเร่งพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้นักศึกษา

29 ม.ค. – สภาดิจิทัลฯ ผนึกกำลัง สสอท. ร่วมลงนาม MOU เร่งเครื่องพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษากว่า 200,000 คนทั่วประเทศ พร้อมจับมือกับสถานประกอบการร่วมเป็นฐานแพลตฟอร์มสำคัญเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ได้จากประสบการณ์จริง ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์พัฒนาคนรองรับตลาดแรงงานยุค 4.0 เสริมแกร่งให้ประเทศไทยเข้าสู่ Digital Economy อย่างมีประสิทธิภาพ


ดร.พรชัย มงคลวนิช นายกสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) และนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ร่วมลงนาม (MOU) ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสภาดิจิทัลฯ และ สสอท. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ เพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนด้านดิจิทัล และยกระดับความรู้ด้านดิจิทัล Upskill และ Reskill ให้กับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด สสอท.ทั่วประเทศกว่า 200,000 คน ทั้งในระดับประกาศนียบัตร และปริญญา ครอบคลุมมหาวิทยาลัย 41 สถาบัน วิทยาลัย 17 สถาบัน และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ เพื่อรองรับตลาดดิจิทัลที่เปลี่ยนไปนำไปสู่ความแข็งแกร่งให้ประเทศไทยในอนาคต

ดร.พรชัย มงคลวนิช นายกสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) เปิดเผยว่า การลงนามความร่วมมือกับสภาดิจิทัลฯ ครั้งนี้ ถือเป็นการเชื่อมโยงภาคการศึกษากับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูงขึ้นที่ตอบสนองความต้องการภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และแข่งขันได้ในประชาคมโลกได้ในอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล การร่วมมือกับสภาดิจิทัลฯ จะช่วยให้เกิดการยกระดับบัณฑิตไทยให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในด้านดิจิทัล และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ประเทศไทยพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 สอดคล้องกับความมุ่งหวังของ สสอท.ที่จะผลิตบัณฑิตรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพและมีทักษะด้านดิจิทัลออกสู่ตลาดแรงงานในปัจจุบัน


นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ความร่วมมือในการลงนาม MOU ครั้งนี้ถือเป็นมิติใหม่ของสภาดิจิทัลฯ ในฐานะองค์กรสำคัญที่ทำงานร่วมกับภาคเอกชน รัฐบาล และภาคประชาชน ที่มุ่งเน้นการ “พัฒนาคน” โดยต้องการส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานสากล ซึ่งจะช่วยเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการพัฒนาด้าน “เศรษฐกิจดิจิทัล” หรือ Digital Economy ให้กับประเทศไทย ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบายพันธกิจของสภาดิจิทัลฯที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

“ความร่วมมือระหว่างสภาดิจิทัลฯ กับ สสอท.ครั้งนี้ ตั้งเป้าหมายการพัฒนานิสิตนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษากว่า 200,000 คน จะเสริมสร้างศักยภาพให้ประเทศมหาศาล โดยเฉพาะการสร้างงานสร้างโอกาสในภาวะเศรษฐกิจยุคโควิด ที่นักศึกษาจบใหม่ต้องประสบปัญหาการว่างงานจำนวนมาก หากมีทักษะด้านดิจิทัล จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานและผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามลำดับ เพราะทิศทางเศรษฐกิจนับจากนี้ จะขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างแท้จริง และจะมีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าน้ำมันต่อไปในอนาคต”ประธานสภาดิจิทัลฯ กล่าว

ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย กล่าวต่อไปว่า การผนึกกำลังร่วมกันครั้งนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านดิจิทัลในสาขาที่สอดคล้องกับแรงงานตลาด มาร่วมเป็นอาจารย์ในการเรียนการสอน รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของ สสอท. คณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญในสถานประกอบการ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ จากสภาดิจิทัลฯ ที่จะช่วยกันประเมินผลสัมฤทธิ์ในการจัดการการศึกษา โดยเน้นให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จริง รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย พัฒนานวัตกรรมและแพลทฟอร์มใหม่ๆ ในการเรียนการสอนที่สภาดิจิทัลฯได้พัฒนาขึ้นมา ตลอดจนความร่วมมืออื่นๆ ที่ทั้งสององค์กรให้ความเห็นชอบร่วมกันในอนาคตอีกด้วย ขณะเดียวกันในอนาคตข้างหน้าสภาดิจิทัลฯ จะเดินหน้าสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยภาครัฐต่อไปอีกด้วยเพื่อให้เกิดการผลักดันยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้คนรุ่นใหม่ในทุกภาคส่วนเพื่อช่วยยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยต่อไป


ขอบเขตความร่วมมือมี 4 ด้าน สำคัญ คือ 1. ร่วมสร้างกำลังคนที่มีศักยภาพสูงและมีความรู้ ความสามารถด้านการใช้ระบบสารสนเทศดิจิทัล มีคุณลักษณะและสมรรถนะตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม 2.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ระหว่างบุคลากรของสถาบันสมาชิกของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ และสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย 3. เพื่อให้สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ และสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย บูรณาการความร่วมมือในการจัดการการศึกษาเชิงบูรณาการระหว่างการเรียนรู้ในสถาบันกับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการต่าง ๆ 4. เพื่อร่วมกันสร้างดิจิทัล Platform เพื่อรองรับการจ้างงานของบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัล และการพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลในลักษณะ Reskill/Upskill ที่จัดขึ้นโดยสถาบันการศึกษา สมาคม และหน่วยงานอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ให้สามารถต่อยอดเพื่อการพัฒนา Platform การเรียนรู้ร่วมกันในอนาคต. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร