กรุงเทพฯ 30 ธ.ค. – โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงความสำคัญของแผนปฏิบัติการ ฯ 7 สาขาอาชีพเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างต้นแบบการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มีการยกระดับการเรียนการสอนทั้งในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม สร้างกำลังคนคุณภาพของประเทศให้มีเพียงพอ เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S – Curve) และรองรับการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 4.0 . – สำนักข่าวไทย
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – 2565 จำนวน 7 สาขาอาชีพ ได้แก่ 1) โลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน 2) โลจิสติกส์และซัพพลายเชน 3) หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 4) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ 5) อาหารและเกษตร 6) ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน และ 7) แม่พิมพ์ ซึ่ง (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ได้ประมาณการความต้องการกำลังคนในแต่ละสาขาอาชีพ ความสามารถในการผลิตกำลังคน จำนวนที่ต้องผลิตกำลังคนเพิ่มเติม ได้แก่
- สาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน (ช่างซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง) ความต้องการกำลังคน (Demand) 7,280 คน (วิศวกรและช่างเทคนิค) ความสามารถการผลิตกำลังคน (Supply) มีเพียง 5,670 คน
2.สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน [นักวางแผนอุปสงค์ พนักงานควบคุมยานพาหนะมืออาชีพประเภทรถบรรทุกและนักจัดการโลจิสติกส์มืออาชีพด้านสินค้าเกษตรที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ] มีความต้องการกำลังคน (Demand) 6,623,713 คน ความสามารถการผลิตกำลังคน (Supply) 38,970 คน
3.สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ [ผู้ปฏิบัติงานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม] ความต้องการกำลังคน (Demand) 11,521 คน ความสามารถการผลิตกำลังคน (Supply) 7,140 คน - สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ (9 สาขา ได้แก่ นักพัฒนาระบบและนักทดสอบระบบ นักพัฒนาเกมและแอนิเมชัน, นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ และนักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นักพัฒนาการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ ช่างโครงข่ายปลายทางด้านเครือข่ายใยแก้วนำแสง และนักบริหารโครงการสารสนเทศ) ความต้องการกำลังคน (Demand) มากกว่า 87,427 คน ความสามารถการผลิตกำลังคน (Supply) 29,670 คน
- สาขาอาชีพอาหารและเกษตร [นักจัดการความปลอดภัยอาหาร นักพัฒนาอาหาร เกษตรกรอัจฉริยะ กลุ่มอาชีพโคนม กลุ่มอาชีพข้าว เป็นต้น] ความต้องการกำลังคน (Demand) 177,314 คน ความสามารถการผลิตกำลังคน (Supply) 48,864 คน
- สาขาอาชีพปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน (ช่างเทคนิค สาขาสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และช่างเทคนิคสาขาการกลั่นและปิโตรเคมี) ความต้องการกำลังคน (Demand) 2,137คน ความสามารถในการผลิตกำลังคน (Supply) 500 คน
- สาขาอาชีพแม่พิมพ์ โดยนำร่องในสาขาอาชีพช่างแม่พิมพ์ ยังไม่มีข้อมูล Demand และ Supply เนื่องจากจะนำร่องในสาขาอาชีพแม่พิมพ์โดยจัดทำโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องและต่อเนื่องกันไป ทั้งนี้ คาดว่า 7 สาขาอาชีพจะใช้งบประมาณเบื้องต้นรวมทั้งสิ้น 5,687.71 ล้านบาท
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงความสำคัญของแผนปฏิบัติการ ฯ 7 สาขาอาชีพเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างต้นแบบการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มีการยกระดับการเรียนการสอนทั้งในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม สร้างกำลังคนคุณภาพของประเทศให้มีเพียงพอ เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S – Curve) และรองรับการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 4.0 . – สำนักข่าวไทย