ครม. เห็นชอบผลเจรจาไทย-EU และไทย-อังกฤษ Brexit ไม่กระทบโควตาภาษีสินค้าไทย


กรุงเทพฯ 28 ต.ค. – ครม.เห็นชอบผลการเจรจาไทย-สหภาพยุโรป ไทย-สหราชอาณาจักร Brexit ไม่กระทบโควตาภาษีสินค้าไทยส่งออกไปสหภาพยุโรป


นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ว่า ครม. เห็นชอบร่างความตกลงระหว่างไทยและสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการจัดสรรปริมาณสินค้าที่มีโควตาภาษีของสหภาพยุโรป และร่างหนังสือแลกเปลี่ยน (Exchange of letter) ระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับการจัดสรรปริมาณสินค้าที่มีโควตาภาษีของสหราชอาณาจักร รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งสาเหตุที่ต้องมีการลงนามในครั้งนี้ เนื่องจากสหราชอาณาจักรจะออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Brexit) ในวันที่ 1 มกราคม 2564 ส่งผลให้สหภาพยุโรปต้องแก้ไขตารางข้อผูกพันทางภาษีภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) และสหราชอาณาจักรต้องจัดทำตารางข้อผูกพันทางภาษีภายใต้ WTO ใหม่ ซึ่งกระทบต่อการจัดสรรปริมาณสินค้าที่มีโควตาภาษีที่ไทยเป็นผู้ส่งออกสำคัญ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก เป็นต้น ทั้งนี้ ร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ได้ผ่านการเจรจาอย่างรัดกุมแล้ว จึงไม่มีสาระใดกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศ การเจรจายึดหลักผลประโยชน์โดยรวมที่ไทยจะได้รับหลังจากสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป ต้องไม่น้อยไปกว่าที่เคยได้รับเมื่อครั้งสหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้


1)ร่างความตกลงระหว่างไทยและสหภาพยุโรป เกี่ยวกับการจัดสรรปริมาณสินค้าที่มีโควตาภาษีของสหภาพยุโรป เป็นการจัดสรรปริมาณโควตาสินค้าที่มีโควตาภาษีที่สหภาพยุโรปให้แก่ไทย หลังจากสหราชอาณาจักรออกจากสมาชิกสหภาพยุโรป โดยการจัดสรรสัดส่วนใหม่นี้จะไม่รวมปริมาณโควตาของสหราชอาณาจักร



2)ร่างหนังสือแลกเปลี่ยน (Exchange of letter) ระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร เกี่ยวกับการจัดสรรปริมาณสินค้าที่มีโควตาภาษีของสหราชอาณาจักร เป็นการจัดสรรปริมาณโควตาสินค้าที่มีโควตาภาษีที่สหราชอาณาจักรให้แก่ไทย หลังจาก สหราชอาณาจักรออกจากสมาชิกสหภาพยุโรป โดยมีปริมาณโควตาเท่ากับสัดส่วนที่เหลือจากการจัดสรรของสหภาพยุโรป


นางสาวรัชดา กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อนำปริมาณโควตาสินค้าที่จัดสรรให้แก่ไทยมารวมกันทั้ง 2 ฉบับแล้ว จะเท่ากับปริมาณโควตาสินค้าที่ไทยเคยได้รับเมื่อครั้งสหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และเนื่องจากร่างฯ ทั้ง 2 ฉบับ ถือเป็นหนังสือสัญญาที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม หรือการค้า หรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวาง ตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ จึงต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งจะเสนอต่อรัฐสภาภายในเดือนพฤศจิกายน 2563 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันวันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป โดยในเบื้องต้นจะมีการลงนามย่อกำกับในร่างทั้ง 2 ฉบับ เพื่อรับรองว่าเนื้อหาสาระสำคัญจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการลงนามย่อจะไม่มีผลผูกพันใดๆกับไทย จนกว่าร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับจะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและได้มีการลงนาม . – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง