สรรพากร ดึง 11 ธนาคารใช้ e-Withholding Tax

กรุงเทพฯ 27 ต.ค. 63 – กรมสรรพากรร่วมสถาบันการเงิน 11 ธนาคาร นำนวัตกรรมระบบหักภาษี ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e- Withholding Tax มาใช้ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นเรื่องง่าย พร้อมให้สิทธิพิเศษลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย จาก 3% เหลือ 2% จนถึงสิ้นปี 64 ชี้ไม่กระทบจัดเก็บรายได้เข้าคลัง


นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า การนำ e- Withholding Tax มาใช้นั้น จากเดิมที่ผู้จ่ายเงินต้องยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้สรรพากร และจัดทำเอกสารหลักฐานหนังสือรับรองให้ผู้รับเงินเอง จะเปลี่ยนมาเป็นการให้สถาบันการเงิน หรือ ธนาคารเป็นตัวกลางดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทน ซึ่งช่วยลดขั้นตอน ลดต้นทุน ลดปัญหาเรื่องของเอกสารสำหรับใช้ลดหย่อนภาษีสูญหาย และยังได้รับสิทธิ์ลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย จาก 3% เหลือ 2% ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2564 นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล สามารถจำกัดสิทธิการเข้าถึงและเปิดเผยข้อมูลได้ โดยได้เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม 2563 เป็นต้มมา

พร้อมยืนยันว่า การลดการจัดเก็บภาษี ณ ที่จ่ายดังกล่าว ซึ่งอยู่ในส่วนของการจ้างทำของ หรือ ค่าจ้าง ซึ่งในปีภาษีที่ผ่านมา การจัดเก็บในอัตรา 3% กรมฯ จะมีรายได้ประมาณ 40,000 ล้านบาท ซึ่งการลดการจัดเก็บลงเหลือ 2% จะทำให้เงินหายไปประมาณ 7 พันล้านบาท แต่ยืนยันว่าจะไม่กระทบกับรายได้ในภาพรวมของกรมสรรพากร เนื่องจากภาษีที่ถูกหักในส่วนดังกล่าวจะมีการยื่นขอคืนในช่วงปลายปีอยู่แล้ว ซึ่งในทางกลับกันยังส่งผลดีต่อสภาพคล่องของผู้รับเงินที่ถูกหักภาษีลดลงด้วย


ด้านนายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยขยายโครงสร้างทางภาษีของภาคธุรกิจให้เชื่อมกับระบบการชำระภาษี e – Withholding Tax ผ่านระบบ จะช่วยให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนการดำเนินงาน ไม่ต้องจัดเก็บเอกสารและสามารถตรวจสอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านบริการธนาคารสมาชิก 9 ธนาคาร และ 2 ธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาในไทยที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ยังเตรียมต่อยอดข้อมูลด้านธุรกิจมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่สามารถรองรับการขยายไปสู่ภาษีประเภทอื่นด้วย

สำหรับระบบ e – Withholding Tax ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้อง 4 ฝ่าย คือ ผู้จ่ายเงิน ธนาคารผู้ให้บริการ ผู้รับเงินซึ่งเป็นผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และกรมสรรพากร โดยผู้จ่ายเงินจะจ่ายผ่านธนาคารพร้อมแจ้งข้อมูลที่กำหนด เมื่อธนาคารได้รับเงินแล้วจะออกหลักฐานเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้จ่ายเงินและผู้รับเงิน พร้อมทั้งจ่ายเงินหลังหักภาษีให้แก่ผู้รับเงิน และนำส่งข้อมูลและภาษีที่หักไว้ไปยังกรมสรรพากรภายในเวลาไม่เกิน 4 วันทำการ ถัดจากวันที่ธนาคารได้รับเงิน จากนั้นกรมสรรพากรจะออกใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้จ่ายเงิน กรณีนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายขาดไป ผู้จ่ายสามารถนำส่งภาษีเพิ่มเติมผ่านระบบนี้ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้สามารถตรวจสอบหลักฐานหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ได้ตลอดเวลาที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th . – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผบช.น.ยอมรับการอบรมอาสาตำรวจให้คนจีนมีจริง-ตร.แค่เป็นวิทยากร

ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ยอมรับการอบรมอาสาตำรวจให้กับคนจีนมีจริง แต่เจ้าของโครงการ ไม่ใช่ตำรวจนครบาล 3 เพียงแต่ถูกเชิญไปเป็นวิทยากรเท่านั้น ส่วนเจ้าของโครงการ เป็นมหาวิทยาลัยชื่อดังย่านฝั่งธนบุรี

ชายวัย 53 เมาคว้าปืนลูกซองยิงเพื่อนบ้านวัย 60 ดับ ฉุนฉลองปีใหม่

ชายวัย 53 ปี อารมณ์ร้อน คว้าปืนลูกซองยิงชายวัย 60 ปี เสียชีวิต ฉุนนั่งย่างเนื้อให้ลูกๆ ที่กลับมาเยี่ยมบ้านฉลองปีใหม่

ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ

นึกว่าแจกฟรี ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น เมืองเชียงใหม่

เอาใจสายเนื้อ ขึ้นเหนือไปกินก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ย่านถนนราชดำเนิน กลางเมืองเชียงใหม่ ขายดิบขายดี นึกว่าแจกฟรี ลูกค้าต่อแถวยาวเหยียด

ข่าวแนะนำ

กต.เผยเมียนมาปล่อยนักโทษไทย 152 คน-ไม่มี 4 ลูกเรือประมง

กระทรวงการต่างประเทศ เผยเมียนมาปล่อยตัวนักโทษชาวไทย 152 คน แต่ยังไม่มี 4 ลูกเรือประมง ยืนยันพยายามอย่างเต็มที่

นศ.ซิ่งเก๋งชนเสาไฟล้ม 12 ต้น ทับรถ 3 คัน โค้งถนนกาญจนาภิเษก

นักศึกษาซิ่งเก๋งชนเสาไฟฟ้าล้ม 12 ต้น ทับรถที่วิ่งผ่านไปมาเสียหาย 3 คัน บริเวณโค้งถนนกาญจนาภิเษก ตัดเพชรเกษม ประชาชน 150 ครัวเรือนเดือดร้อนไฟดับ การไฟฟ้านครหลวงเร่งซ่อมแซม คาดเย็นนี้กลับมาใช้การได้ตามปกติ

นายหน้าลอยแพ 250 แรงงานไทย ไร้ตั๋วบินทำงานต่างประเทศ

ฝันสลาย แรงงานไทย 250 ชีวิต เหมารถมาสนามบินเก้อ หวังได้ไปทำงานในต่างประเทศ สุดท้ายไม่มีตั๋วบิน รวมตัวแจ้งความตำรวจ หวั่นถูกหลอกสูญเงินกว่า 12 ล้านบาท