สำนักงาน ก.พ. 14 ธ.ค. -รองนายกรัฐมนตรี
สั่งคณะกรรมการสานพลังประชารัฐ เดินเครื่องขับเคลื่อนแผนปี 61
มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาขีดความสามารถ พัฒนาคุณภาพคน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
สอดรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการสานพลังประชารัฐ
ร่วมกับหัวหน้าทีมภาครัฐและเอกชน เพื่อติดตามผลดำเนินงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
และกำหนดแผนดำเนินงานในปี 61 รองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 หวังพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาขีดความสามารถ
พัฒนาคุณภาพคน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การท่องเที่ยวชุมชน ที่ประชุมฯ
จึงกำหนดแผนงานสำคัญ ได้แก่ โครงการทัวร์ริมโขง หวังรวมจังหวัดริมแม่น้ำโขง
เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับสากล เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวจาก จ.เลย
ล่องลงมาตามแม่น้ำโขงจนถึงจ.อุบลราชธานี เพื่อสร้างทั้งรายได้กิจกรรมการท่องเที่ยว
การกีฬาด้านท่องเที่ยว เช่น ปั่นจักรยาน แรลลี่
หวังฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น ผนวกกับนวัตกรรม แนวคิดสร้างสรรค์
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นพัฒนาเมืองท่องเที่ยวรอง , โครงพัฒนาการค้าเมืองชายแดน
แม่สอด เพื่อให้เป็นแหล่งค้าปลีก ค้าส่งใหญ่ที่สุดของไทย, โครงการเกษตรแปลงใหญ่ประชารัฐสมัยใหม่
หวังยกระดับเกษตรกรไปสู่ สมาร์ทฟาร์มเมอร์
ได้เสนอให้รัฐบาลจัดสรรระบบน้ำให้เพียงพอต่อการทำเกษตรแปลงใหญ่ ,โครงการจัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด
และบริษัทประชารัฐ ระดับจังหวัด เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก
หวังสร้างรายได้ในชุมชน
ได้เสนอรัฐบาลกำหนดแนวทางชัดเจนภายใต้ พ.ร.บ.วิสาหกิจเพื่อสังคม
เพื่อปลดล็อคอุปสรรคปัญหา โครงการพัฒนาผู้นำชุมชน
เพื่อขยายอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุม และการยกระดับผลิตบุคคลากรอาชีวะ
เพื่อรองรับความต้องการของเอกชนกลุ่มเป้าหมาย
เตรียมเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาแผนเดินหน้างานในช่วง 1 ปีข้างหน้า
โดยรองนายกฯสมคิดจะติดตามงานต่อเนื่อง คาดว่าความร่วมมือระหว่างภารครัฐเอกชน
จะปลอดล็อคด้านต่างๆ รองรับการพัฒนาเขต EEC เขตเศรษฐกิจพิเศษ ขณะที่คณะกรรมการสานพลังประชารัฐแต่ละกลุ่มได้เสนอขอรัฐบาลแก้ปัญหา
เช่น การเร่งรัดผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
การกำหนดค่าจ้างผู้สูงอายุ 300 บาทต่อวัน
และเปิดกว้างคนพิการมีส่วนในการทำงานจากคนพิการทั้งหมด 1.6 ล้านคน การจัดตั้งศูนย์ “One Stop Service“ เพื่อบริการใบอนุญาต และข้อเสนอผ่อนปรนแก้ไขกฎระเบียบ
คณะกรรมการสานพลังประชารัฐ กล่าวว่า
การส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นต้องใช้ตลาดเป็นตัวนำ เป็นตัวอย่างทั้งสินค้าคุณภาพ
และดึงเอสเอ็มอีเข้ามาร่วมมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม
การออกแบบรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 การพัฒนาแรงงานคุณภาพ ทั้งไบโอชีวภาพ
ผลิตอาหารเสริม การจัดการเรื่องบริหารจัดการสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ผ่านความร่วมมือของภาพเอกชน
โดยจีนพร้อมส่งมหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยเหลือในการพัฒนาบุคคลากรเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน ที่ประชุมระบุว่า
บริษัทเอกชนทุกรายที่เข้าร่วมโครงการไม่ว่าจะเป็นรายเล็ก รายใหญ่
เพื่อเข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐ
สามารถนำค่าใช้จ่ายหักลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน เพราะเป็นการทำเพื่อส่วนรวม
กระจายรายได้ไปสู่ชุมชนยึดพื้นที่ชุมชนเป็นตัวตั้ง
ด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ทั้งเครื่องบิน เส้นทางคมนาคมทางถนน
สินค้าชุมชน การดีไซด์สินค้า การจัดประชุมสัมมนา
เนื่องจากการพัฒนาด้านท่องเที่ยวเป็นนโยบายสำคัญ ต้องปรับปรุงมาตรฐานไกด์ให้เพียงพอ
การพัฒนาเอสเอ็มอี มุ่งส่งเสริมแหล่งทุน เช่น
โครงการพี่ช่วยน้องเข้าไปช่วยเหลือเอสเอ็มอี ในปีหน้าตั้งเป้าหมาย เดิม 50 ราย
เพิ่มเป็น 200 ราย และเน้นเอสเอ็มอีมาตรฐาน เพื่อช่วยเอสเอ็มอีออกสู่ตลาดต่างประเทศผ่าน
ISO หาวิธีให้เข้าถึงได้ง่ายผ่านระบบงานมาตรฐาน.-สำนักข่าวไทย