จากด่านสู่ดุลอำนาจ : ไทย-กัมพูชา กับบทบาทใหม่ของเศรษฐกิจ

จากด่านสู่ดุลอำนาจ

ใครพึ่งใคร? – วิเคราะห์แรงกดดันเศรษฐกิจชายแดนต่อกัมพูชา หลังไทยจำกัดการข้ามแดน


กรณีพิพาทบริเวณช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี แม้เคยเกิดเหตุปะทะเล็กน้อยระหว่างทหารของทั้งสองฝ่าย แต่ในเวลาต่อมา กัมพูชาตัดสินใจถอยกำลังออกจากพื้นที่ โดยไม่มีการยกระดับความขัดแย้ง กลายเป็นกรณีศึกษาสำคัญของ “ความมั่นคงยุคใหม่” ที่ไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธเป็นตัวตัดสิน

หากแต่เกิดจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจที่ไทยเลือกใช้ แทนการเผชิญหน้าด้วยแสนยานุภาพ ผ่าน “มาตรการจำกัดการข้ามแดน” ที่บีบช่องทางการเคลื่อนย้ายคน สินค้า และระบบโลจิสติกส์ โดยเฉพาะที่ด่านอรัญประเทศ – จุดยุทธศาสตร์ซึ่งถือเป็นหัวใจของการค้าชายแดนไทย–กัมพูชา


จุดเปลี่ยน : เมื่อเศรษฐกิจกลายเป็นเครื่องมือของความมั่นคง
ไทยเลือกใช้ “แรงบีบเชิงเศรษฐกิจโดยสันติวิธี” เป็นกลยุทธ์กดดันคู่ขนานกับการเจรจา ผ่านมาตรการสำคัญ ได้แก่ :

  1. ห้ามคนไทยเดินทางไปเล่นพนันในฝั่งปอยเปต ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของกัมพูชา
  2. จำกัดเวลาเปิด-ปิดด่านพรมแดน สำหรับบุคคลและยานพาหนะ
  3. เพิ่มการควบคุมการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ โดยเฉพาะสินค้าที่เสี่ยงผิดกฎหมาย

ไทยยังส่งสัญญาณชัดว่า พร้อมจะยกระดับมาตรการเหล่านี้ หากสถานการณ์ตามแนวชายแดนยังตึงเครียด มาตรการซึ่งสำหรับกัมพูชาแล้ว เปรียบเสมือนกดทับ “เส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจ” ของฝั่งตะวันตกที่ต้องพึ่งพาการค้าข้ามแดนจากไทยเป็นหลัก

ไทย : ผู้ถือ “กุญแจด่าน” และพลังการค้าข้ามพรมแดน
ข้อได้เปรียบของไทยยิ่งชัดเจน เมื่อพิจารณาจากตัวเลขการค้า
ข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ (เมษายน 2568) ระบุว่า การค้าชายแดนไทย-กัมพูชามีมูลค่ารวม 64,612 ล้านบาท ในช่วง 4 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้น 12.3% จากปีก่อน โดยไทยได้เปรียบดุลการค้าถึง 35,838 ล้านบาท


  • ส่งออกจากไทย: 50,225 ล้านบาท (+9.7%)
  • นำเข้าจากกัมพูชา: 14,387 ล้านบาท (+22.4%)

สินค้าหลักจากไทย เช่น เครื่องดื่ม นม น้ำตาล อะไหล่ยานยนต์ และเครื่องจักรกลการเกษตร ล้วนเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริโภคของประชาชนและอุตสาหกรรมพื้นฐานในกัมพูชา

จุดยุทธศาสตร์ : ด่านและโครงข่ายผ่านแดน
(ข้อมูลจากกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ไทยมีจุดผ่านแดนกับกัมพูชารวม 18 แห่ง ใน 7 จังหวัดชายแดน แบ่งเป็น :

  • ด่านถาวร 8 แห่ง
  • จุดผ่อนปรนการค้า 9 แห่ง
  • จุดผ่อนปรนเพื่อการท่องเที่ยว 1 แห่ง (ปัจจุบันปิดชั่วคราว)

ด่านอรัญประเทศเพียงแห่งเดียว คิดเป็น 63.4% ของมูลค่าการค้าชายแดน หากรวมกับด่านคลองใหญ่และบ้านผักกาด จะครอบคลุมมูลค่ารวมกว่า 95% ของการค้าทั้งระบบ ซึ่งหมายความว่า หากด่านเหล่านี้ถูกจำกัดหรือปิด จะส่งผลสะเทือนต่อระบบการค้าและโลจิสติกส์ของกัมพูชาอย่างรุนแรง

เส้นเลือดใหญ่ที่ถูกบีบ : แรงกระเพื่อมถึงกัมพูชา
ผลกระทบจากมาตรการฝั่งไทยจะสะเทือนสู่กัมพูชาในหลายมิติ :

  • ตลาดบริโภคฝั่งกัมพูชาจะขาดแคลนสินค้าจำเป็น เช่น นม น้ำตาล เครื่องดื่ม
  • โลจิสติกส์ต้องเบี่ยงเส้นทาง ทำให้ต้นทุนขนส่งเพิ่มสูง
  • อุตสาหกรรมในกัมพูชาสะดุด โดยเฉพาะภาคเกษตรและยานยนต์
  • เมืองกาสิโนฝั่งกัมพูชา เช่น ปอยเปต สูญเสียรายได้จากนักพนันชาวไทย

คำตอบของกัมพูชา : ไทยก็ต้องพึ่งเรา
สมเด็จฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ระบุว่า ไทยส่งออกไปกัมพูชากว่า 5.2 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่กัมพูชาส่งออกเพียง 1.1 พันล้านดอลลาร์ ไทยได้เปรียบดุลการค้ากว่า 4.1 พันล้านดอลลาร์ พร้อมเตือนว่า หากไทยยังใช้มาตรการจำกัดต่อเนื่อง สินค้าไทยอาจไม่สามารถเข้าถึงตลาดกัมพูชาได้ และเกษตรกรไทยเองอาจได้รับผลกระทบ

กัมพูชา : ทั้งตลาดปลายทางและซัพพลายเออร์วัตถุดิบ
แม้กัมพูชาจะเป็นตลาดส่งออกของไทยที่ได้เปรียบ แต่ก็มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของไทย โดยเฉพาะสำปะหลังซึ่งเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ เศษโลหะสำหรับอุตสาหกรรมรีไซเคิล ลวดสายไฟซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การจำกัดด่านจึงไม่เพียงบีบกัมพูชา แต่ย้อนกระทบห่วงโซ่อุตสาหกรรมของไทยเช่นกัน

การประเมินผลกระทบ : รายงานจากกระทรวงพาณิชย์
แบ่งตามช่วงเวลาออกเป็น 3 ระยะ:

  • ระยะสั้น (0–3 เดือน): ตลาดหยุดชะงัก โลจิสติกส์สะดุด ธุรกิจรายย่อยกระทบ
  • ระยะกลาง (3–12 เดือน): ผู้ส่งออกต้องปรับตัว ต้นทุนการผลิตพุ่ง
  • ระยะยาว (1 ปีขึ้นไป): นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ไทยอาจเสียโอกาสเชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาค

เศรษฐกิจ…คือเครื่องมือของอำนาจในโลกใหม่
มาตรการจำกัดการข้ามแดนของไทยในครั้งนี้ จึงไม่ใช่เพียงมาตรการควบคุมชายแดน หากแต่คือการใช้อำนาจทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือกดดันในรูปแบบ Soft Security ที่ไม่ต้องใช้กำลังทหาร แต่ส่งผลทางยุทธศาสตร์ได้อย่างลึกซึ้ง เมื่อไทยเดินเกมเศรษฐกิจ กัมพูชาก็เลือกจะ “ถอยกำลัง” โดยไร้เสียงปืน นั่นคือผลลัพธ์ของการวัดอำนาจรูปแบบใหม่

และในโลกที่เส้นแบ่งระหว่าง “ความมั่นคง” กับ “เศรษฐกิจ” เริ่มพร่าเลือน ด่านพรมแดนจึงไม่ใช่แค่ช่องทางการเดินทาง แต่กลายเป็นหมุดวัดแรงกดดันระหว่างรัฐ และเป็นจุดตัดที่ย้อนถามอย่างจริงจังว่า ใครพึ่งใคร?

ในการเผชิญหน้า ณ ชายแดนช่องบกครั้งนี้ “เศรษฐกิจ…คือ กลยุทธ์ที่ทรงพลังที่สุดในสมรภูมิที่เสียงปืนเคยดัง – แรงกดดันเงียบ ก็อาจเปลี่ยนเกมได้ทั้งกระดาน”. – สำนักข่าวไทย

บทความโดย :
มนภา ศิริสมบูรณ์
ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจสำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เปิดเนื้อหาหนังสือแจง UNSC กัมพูชาวางทุ่นระเบิด-เริ่มยิงก่อน

25 ก.ค.- เปิดเนื้อหาหนังสือจากผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติที่นิวยอร์ก เพื่อชี้แจงต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ส่งหนังสือชี้แจงต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ระบุว่า ขอแจ้งให้ท่านและสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทุกท่านทราบ ถึงสถานการณ์อันร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย อันเป็นผลจากการรุกรานทางทหารของประเทศกัมพูชา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.     เมื่อวันที่ 16 และ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2025 ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารไทยกำลังลาดตระเวนตามเส้นทางปกติที่กำหนดไว้ ซึ่งอยู่ภายในอาณาเขตของประเทศไทย ทหารได้เหยียบทุ่นระเบิดชนิด PMN-2 ส่งผลให้ทหาร 2 นาย ได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสส่งผลถึงขั้นพิการถาวร ขณะที่ทหารนายอื่น ๆ ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทุ่นระเบิด PMN-2 ทั้งหมดที่พบอยู่ในสภาพใหม่ ยังมีเครื่องหมายที่มองเห็นได้ชัดเจน หลักฐานบ่งชี้ว่าทุ่นระเบิดเหล่านี้เพิ่งถูกวางใหม่ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ไทยได้ยื่นรายงานประจำปีเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินการตามพันธกรณีในอนุสัญญาดังกล่าว ตามมาตรา 7 ของอนุสัญญาฯ อย่างต่อเนื่อง รายงานดังกล่าวระบุว่าประเทศไทยได้ทำลายทุ่นระเบิดในคลังทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 และต่อมา ได้ทำลายทุ่นระเบิดทั้งหมดที่เก็บไว้เพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยในปี ค.ศ. […]

“ภูมิธรรม” เชื่อประชาชนคิดเหมือน “ทักษิณ” ขอให้กองทัพลบเหลี่ยม “ฮุนเซน”

ก.มหาดไทย 25 ก.ค.-“ภูมิธรรม” เชื่อประชาชนคิดเหมือน “ทักษิณ” ขอให้กองทัพลบเหลี่ยม “ฮุนเซน” ชี้รับฟังทุกความไม่พอใจ แต่ทุกอย่างเป็นไปตามยุทธวิธี ให้ทหารมีอิสระในการทำงาน มอง “ก่อแก้ว” ขอศาล รธน. คืนอำนาจให้ “แพทองธาร” เป็นความเห็นเหมือนประชาชนจำนวนมาก แต่ให้เป็นตามกระบวนการยุติธรรม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ ระบุถึง อยากให้กองทัพสั่งสอนความเจ้าเล่ห์ของฮุนเซนก่อน ว่า ก็เหมือนประชาชนทั่วไป ที่เวลานี้มีความรู้สึกเช่นนั้น หลายคนแสดงความเห็นให้ทำแบบนู้นแบบนี้ เราก็รับฟังความห่วงใยความไม่พอใจที่เราถูกกระทำ ตนเข้าใจความรู้สึกเหล่านั้น และเห็นว่าเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพราะเรื่องอธิปไตยของประเทศ การรุกล้ำเข้ามา กระทบประชาชนเรายอมไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาทุกฝ่ายจะเห็นว่าเราประนีประนอม (Compromise) ให้มากที่สุด แต่เมื่อสิ่งดังกล่าวไม่เกิดขึ้น และเป็นปัญหา วันนี้จึงได้สั่งการให้ทหารมีอิสระในพื้นที่ โดยผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นผู้คุมยุทธการ ปฏิบัติได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงได้มีการทำความเข้าใจกับ พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีการโทรคุยกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด […]

เข้าสู่วันที่ 2 กัมพูชาเปิดฉากตั้งแต่เช้ามืด ที่ปราสาทตาเมือนธม

สุรินทร์ 25 ก.ค.-เข้าสู่วันที่ 2 เหตุปะทะไทย-กัมพูชา เริ่มเปิดฉากยิงกันตั้งแต่เช้ามืด บริเวณปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ขณะนี้เสียงยังดังต่อเนื่อง ก่อนขยายการสู้รบไปตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านอีสานใต้ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่แรกที่ฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากยิงก่อนด้านปราสาทตาเมือนครับ เช้ามืดวันนี้ ราวตี 5 ครึ่ง ก็เริ่มปะทะกันอีก ขณะนี้ก็มีเสียงดังอย่างต่อเนื่อง เส้นทางจากอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เข้าสู่อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แม้สายแล้ว ก็มีรถสัญจรไปมาค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยการสู้รบ โดยอำเภอพนมดงรักเป็นหนึ่งใน 4 อำเภอ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประกาศให้ผู้ที่ไม่มีความจำเป็นเข้าพื้นที่ร่วมกับอำเภอกาบเชิง บัวเชดและสังขะ โดยตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมา ในพื้นที่ตามแนวชายแดนได้ยินเสียงการปะทะด้วยกระสุนปืนใหญ่ดังอย่างต่อเนื่อง ผู้นำหมู่บ้านบันทึกสถิติเฉพาะฝั่งไทยตอบโต้เกินกว่า 100 ลูกแล้ว บ้านหนองแรด ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก ที่จรวดหลายลำกล้อง BM 21 ตกเยอะสุด 10 ลูก วานนี้โดยรอบหมู่บ้าน โชคดีไม่ลงบ้านเรือน มีกระจกแตกเล็กน้อยจากแรงอัดลูกจรวดเท่านั้น วันนี้ ยังมีชาวบ้านอยู่นับร้อยคนหลบอยู่ในหลุมหลบภัย จากทั้งหมด […]

เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวรองรับประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยชายแดน

ศรีสะเกษ 24 ก.ค. – บรรยากาศคืนแรกที่ศูนย์อพยพฯ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ประชาชนต้องละทิ้งบ้านเรือนมาพักอาศัยชั่วคราว จากเหตุปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นี่เป็นบรรยากาศค่ำคืนแรกที่ประชาชนในเขต อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ต้องออกมาพักอาศัยนอกบ้านเรือน ตั้งแต่เกิดเหตุกัมพูชายิงจรวดเข้าใส่เขตพักอาศัยของพลเรือน ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้ตลอดทั้งวัน อ.กันทรลักษ์ มีการอพยพประชาชนแล้วมากกว่า 41,000 คน กระจายไปตามจุดต่างๆ โดยจุดนี้เป็นจุดที่น่าจะมีผู้อพยพมากที่สุด เพราะใกล้แนวชายแดนที่อยู่ในระยะปลอดภัยมากที่สุด คือ ประมาณ 40 กิโลเมตร จากแนวชายแดน มีประชาชนเข้ามาพักอาศัย 4,865 คน และยังมีจุดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกระจายกันไป ผลจากสถานการณ์ตึงเครียดและพลเรือนตกเป็นเป้าของการโจมตี ทำให้หลายคนอยู่ในอาการเครียดและกังวล เจ้าหน้าที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้กำลังใจเป็นระยะ รวมทั้งให้บริการยาและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นเบื้องต้น พร้อมกันนี้ได้ย้ำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้ฝากแจ้งประชาชนที่ยังลังเลไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินหรือสัตว์เลี้ยง ว่า ขณะนี้มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน ดูแลพื้นที่อย่างใกล้ชิดทุกหมู่บ้าน จึงขอให้ทุกคนให้ความร่วมมือ และออกมาจากพื้นที่เสี่ยงตามจุดนัดหมาย เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว. – สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” ยังมีฝนตกหนักบางแห่ง

กทม. 26 ก.ค.- กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เตือน 7 จังหวัดรับมือ อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาเผยประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง พายุโซนร้อน “ก๋อมัย” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย.- สำนักข่าวไทย

9 ทันโลก : แจงด่วน! คณะมนตรีความมั่นคง ไทยนี้รักสงบ

25 ก.ค. – นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะร่วมประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ตามที่กัมพูชาร้องขอไว้ รายงาน 9 ทันโลก พาไปติดตามบทบาทและโอกาสของไทยบนเวทีสำคัญนี้ ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาตินานเกือบ 80 ปี จะได้แสดงบทบาทอีกครั้งในคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการสื่อสารกับประชาคมโลก ถึงการกระทำของกัมพูชา ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศหลายด้าน รวมถึงกฎบัตรสหประชาชาติที่ไทยยึดมั่น ในห้องประชุมนี้ ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ ลำดับที่ 55 จะทำหน้าที่อีกครั้งในภารกิจด้านสันติภาพ ตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2489 ที่นี่ไทยเคยทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคง โดยพลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา และหม่อมหลวง พีระพงศ์ เกษมศรี ทำหน้าที่สองวาระ ในปี 2528 และ 2529 ในเวลาที่สงครามเย็นคุกรุ่น มาในวันนี้ไทยกำลังจะมีโอกาสอันดีที่ได้ใช้ช่องทางการทูตสำคัญ เสาหลักความมั่นคงของสหประชาชาติ ในอีกบทบาทหนึ่งที่ยังคงอยู่บนพื้นฐานการแสวงหาสันติภาพตามกลไกนี้ เมื่อประเทศสมาชิก ในกรณีนี้คือกัมพูชา ร้องขอให้เปิดประชุมเร่งด่วน สมาชิกคณะมนตรีซึ่งมีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ และสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศ พิจารณากรณีที่เป็นภัยคุกคามใดต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เช่น กรณีการปะทะระหว่างไทยกับกัมพูชา […]

น่านยังอ่วม บางจุดน้ำท่วมสูงเกือบ 2 เมตร

น่าน 25 ก.ค. – เข้าสู่วันที่ 3 น้ำท่วมใหญ่เป็นประวัติการณ์ของเมืองน่าน แม้ระดับน้ำลดลงบ้างแล้ว แต่ในตัวเมือง-เขตเศรษฐกิจยังท่วมสูง บางจุดระดับน้ำเกือบ 2 เมตร ขณะที่ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” นำทีมกู้ภัยฝ่ากระแสน้ำเชี่ยวเข้าช่วยเหลือชาวบ้าน .-สำนักข่าวไทย

มีผลทันที! ประกาศกฎอัยการศึก 8 อำเภอ “จันทบุรี-ตราด”

25 ก.ค.- กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด ประกาศใช้กฎอัยการศึกบางพื้นที่ มีผลทันที กองทัพเรือ โดย กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด “ประกาศใช้กฎอัยการศึก” บางพื้นที่ ดังนี้ ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 19 กันยายน 2549 ให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 เวลา 21.05 นาฬิกา ซึ่งต่อมาได้มีพระบรมราชโองการเลิกใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่ และให้ใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่ ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 นั้น โดยที่ปรากฏว่าประเทศกัมพูชาได้ใช้กำลังและอาวุธรุกรานเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตลอดแนวชายแดน จึงมีความจำเป็นโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ที่ต้องใช้กำลังทหาร ตำรวจ พลเรือน ตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกคน เพื่อป้องกันประเทศให้พ้นจากภัยคุกคามอันมีที่มาจากภายนอกราชอาณาจักรดังกล่าว เพื่อรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยของชาติและบูรณภาพแห่งดินแดน ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทย และจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่เพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 176 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 จึงให้ใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 จังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี […]