กกพ.เสนอ 3 สูตรคำนวณค่าไฟ สูงสุดถึง 5.16 บาทต่อหน่วย

กรุงเทพฯ 11 มี.ค. – กกพ. เสนอ 3 ทางเลือกค่าไฟงวด พ.ค.-ส.ค.68 ชี้จากหลายปัจจัยที่กดดันค่าไฟฟ้า ทั้งปริมาณความต้องการไฟฟ้าเพิ่มต่อเนื่อง ปริมาณไฟฟ้าพลังน้ำนำเข้าลดลงตามฤดูกาล และแนวโน้มต้นทุนไฟฟ้าจากถ่านหินเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการทยอยคืนหนี้ค่าเชื้อเพลิงค้างชำระในงวดก่อนหน้าที่ยังคงสูงอยู่ ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าอยู่ระหว่าง 4.15-5.16 บาทต่อหน่วย ยกเว้นฝ่ายนโยบายจะมีมาตรการลดค่าไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือประชาชน


นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ค่าไฟฟ้าในงวดเดือนพ.ค. – ส.ค. ยังมีหลายปัจจัยลบที่กดดัน โดยเฉพาะภาระการชดเชยต้นทุนคงค้างที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ.ที่ส่งผลต่อค่าเอฟอี นอกจากนี้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐยังผันผวนจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐ และการระบายน้ำของเขื่อนในประเทศได้ลดลงในฤดูแล้ง แม้จะมีแผนเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินแล้ว แต่ความต้องการใช้ไฟฟ้ายังมีแนวโน้มที่สูงขึ้นตาม สภาวะอากาศร้อน ทำให้ กกพ. ยังไม่สามารถประกาศปรับลดค่าเอฟทีลงได้

ทั้งนี้ กกพ. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อร่วมหาแนวทางใหม่เพิ่มเติม ในการปรับลดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเพิ่มเติม ที่จะสามารถนำมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาค่าเอฟทีได้ทันตามวงรอบปกติของการพิจารณาค่าในงวด พ.ค.-ส.ค.2568 ที่ถูกกำหนดให้ต้องทบทวนและค่าเอฟที และค่าไฟฟ้าล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 1 เดือนก่อนที่การประกาศจะมีผลบังคับใช้


ทั้งนี้ในการประชุม กกพ. เมื่อวันพุธที่ 5 มีนาคม 2568 กกพ. มีมติให้สำนักงาน กกพ. ดำเปิดรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าใน งวดเดือน พ.ค. – ส.ค.2568 แบ่งเป็น 3 กรณีตามเงื่อนไข ดังนี้

กรณีที่ 1: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่าเอฟที (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด) และการคำนวณกรณีเรียกเก็บมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าปี 2566 ค่าเอฟที่ขายปลีก เท่ากับ 137.39 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่าเอฟทีที่สะท้อนถึง 2 ส่วนดังนี้

(1) ต้นทุนเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 จำนวน 16.39 สตางค์ต่อหน่วย


(2) เงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. 71,740 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 99.98 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บเดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) จำนวน 15,084 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 21.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมจำนวน 121.00 สตางค์ต่อหน่วย โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระ ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 – ธันวาคม 2567 ในช่วงสภาวะ วิกฤตของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนสิงหาคม 2568 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่อเสริม สภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่าเอฟทีขายปลีกที่คำนวณ ได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้น เป็น 5.16 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จากระดับ 4.15 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน

กรณีที่ 2: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่าเอฟที (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด) ค่าเอฟที่ขายปลีกเท่ากับ 116.37 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการ ปรับค่าเอฟทีที่สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 จำนวน 16.39 สตางค์ต่อหน่วย และ เงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 71,740 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 99.98 สตางค์ต่อหน่วย) โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชน ในช่วงสภาวะวิกฤตของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนสิงหาคม 2568 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งเมื่อรวมค่าเอฟทีขายปลีกที่คำนวณได้ กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.95 บาท ต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากระดับ 4.15 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน ทั้งนี้ ยังไม่รวมมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บ เดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) อีกจำนวน 15,084 ล้านบาท

กรณีที่ 3: กรณีตรึงค่าเอฟทีเท่ากับงวดปัจจุบัน (ข้อเสนอ กฟผ.) ค่าเอฟที่ขายปลีกเท่ากับ 36.72 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 จำานวน 16.39 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุน AF คงค้างสะสมได้จำนวน 14,590 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 20.33 สตางค์ต่อหน่วย) เพื่อนำไปพิจารณาทยอยคืนภาระค่า AF ให้แก่ กฟผ. และมูลค่าส่วนต่างของราคา ก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับค่าก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บ เดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจ ที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) ในระบบของ กฟผ. ต่อไป โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือน สิงหาคม 2568 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 60,474 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บเดือนกันยายน -ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) อีกจำนวน 15,084 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมค่าเอฟที่ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) คงที่เท่ากับ 4.15 บาทต่อหน่วย เช่นเดียวกับปัจจุบัน

จากแนวโน้มค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงจากงวดก่อนหน้า 0.91 บาทต่อเหรียญสหรัฐ (งวด ม.ค. – เม.ย. 68) เป็น 34.27 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มสูงขึ้น ในช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. 2568 ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศลดลงเนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง โดยการไฟฟ้าได้ลดต้นทุนด้วยการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศและการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินนำเข้าเพิ่มขึ้นแล้ว แต่ยังต้องจัดหา นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวแบบสัญญาจร (LNG Spot) มากกว่าช่วงต้นปี โดยราคา LNG Spot ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามปริมาณความต้องการในตลาดโลกมาอยู่ที่ 14.0 เหรียญสหรัฐต่อล้านปีทียู แต่ปัจจัยที่ยังไม่สามารถ ทำให้ค่าไฟลดลงได้ยังคงมาจากภาระหนี้ค่าเชื้อเพลิงสะสมในช่วงกว่า 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าจะลดลงมากจากงวด ก่อนหน้า แต่ภาระหนี้ที่มีอยู่ก็ยังอยู่ในระดับสูงและต้องได้รับการดูแลเพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงระบบ ไฟฟ้าของประเทศด้วย

จากสาเหตุหลักซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมส่งผลให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าปรับตัวลดลง แต่เมื่อรวมกับการทยอยคืนหนี้ค่าเชื้อเพลิงค้างชำระในงวดก่อนหน้าที่ยังคงสูงอยู่ ส่งผลให้ค่าไฟในช่วงกลางปี 2568 นี้ อาจจะต้องปรับเพิ่มค่าค่าเอฟที่ขึ้นสู่ระดับ 116.37 – 137.39 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อคืนหนี้คงค้างให้กับ กฟผ. และปตท. ซึ่งทำให้เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐาน ที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บในงวด พ.ค. – ส.ค. 2568 เพิ่มขึ้นเป็น 4.95 – 5.16 บาทต่อหน่วย หรือหากตรึงค่าเอฟทีไว้ที่ 36.72 สตางค์ต่อหน่วย โดยทยอยคืนหนี้คงค้างควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อการปรับค่าไฟฟ้าอย่างก้าวกระโดดเพื่อลดภาระของประชาชน ค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ 4.15 บาทต่อหน่วยเท่ากับปัจจุบัน

สำหรับการเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าเอฟทีงวด พ.ค. – ส.ค. 68 ที่มี 3 แนวทางดังกล่าว เป็นไปตามวงรอบปกติของกกพ. โดยสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ WWW.erc.or.th ตั้งแต่วันที่ 11 – 24 มี.ค. แต่หากจะมีมาตรการลดค่าไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือประชาชนจะเป็นการพิจารณาของฝ่ายนโยบาย.-512-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจ ลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร ด้านบริษัท 9PK นำเอกสารชี้แจง พร้อมขอให้บริษัทจีนช่วยอนุมัติเงินมาจ่ายให้กลุ่มผู้รับเหมาก่อน

จับแล้วโจรบุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่

จับแล้วโจรมาเลย์บุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่ จนมุมสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เผยมาหาลูกชายที่ จ.นนทบุรี แต่ลูกไม่ให้เข้าบ้าน

ปิดล้อมจับชายวัย 43 ยิงเพื่อนบ้าน-ตร.เจ็บ 4

ตำรวจปิดล้อมนานถึง 11 ชั่วโมง จับชายวัย 43 ปี ใช้ปืนยิงเพื่อนบ้านและตำรวจที่เข้าระงับเหตุ บาดเจ็บรวม 4 ราย หลังโมโหเพื่อนบ้านติดกล้องวงจรปิดหันส่องไปทางบ้านผู้ก่อเหตุ ยิงแก๊สน้ำตา-ญาติเกลี้ยกล่อม ยังไม่เป็นผล

แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ในไต้หวัน-ไม่มีรายงานความเสียหาย

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไต้หวันรายงานวันนี้ว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดด 5.8 ที่เทศมณฑลอี้หลาน (Yilan) ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกลทางตจะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ข่าวแนะนำ

เร่งค้นหาผู้ประสบภัยตึกถล่ม ยังไม่พบผู้ติดค้างโซนบี

เร่งค้นหาผู้ประสบภัยตึกถล่มต่อเนื่อง ยังไม่พบผู้ติดค้างเพิ่มเติมที่โซนบี หลังพบแสงไฟ ขณะที่ DSI เชิญบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 เข้าสังเกตการณ์การเก็บหลักฐานเพิ่ม

เชียงใหม่เริ่มแล้ว เล่นน้ำสงกรานต์คลายร้อน

ชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวเริ่มออกมาเล่นน้ำสงกรานต์กันบ้างแล้ว โดยเฉพาะรอบคูเมืองและลานประตูท่าแพ ท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าว

คนแห่เดินทางฉลองสงกรานต์ ระบบขนส่งคึกคัก

ประชาชนแห่เดินทางฉลองสงกรานต์ ระบบขนส่งสาธารณะผู้โดยสารคึกคัก ขณะที่ถนนมิตรภาพรถหนาแน่น เคลื่อนตัวช้า แม้จะเปิดมอเตอร์เวย์ M6

ไฟไหม้เรือกลางทะเล จุดดำน้ำเขาหลัก นักท่องเที่ยวปลอดภัย

ไฟไหม้เรือกลางทะเล จุดดำน้ำเขาหลัก จ.พังงา ช่วยนักท่องเที่ยวขึ้นฝั่งปลอดภัย คาดต้นเพลิงเกิดบริเวณห้องเครื่อง ก่อนลามไปห้องโถงผู้โดยสาร