fbpx

ธอส.เตรียมเงิน 5 หมื่นล้านบาท สินเชื่อดี๊ดีย์

กรุงเทพฯ 6 ส.ค. -ธอส.จัดกรอบวงเงิน 50,000 ล้านบาท จัดทำโครงการสินเชื่อบ้าน DD (ดี๊ดีย์) คิดดอกเบี้ยปีแรกเพียง 1.90% ต่อปี ผ่อนชำระต่ำ เริ่มต้นล้านละ 3,000 บาท/เดือน


ธอส.หนุนคนไทยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองมากขึ้น จัดเตรียมวงเงิน 50,000 ล้านบาท จัดทำ “โครงการสินเชื่อบ้าน DD (ดี๊ดีย์)” สำหรับผู้ต้องการมีบ้าน จากโครงการจัดสรรที่มีข้อตกลงร่วมกับ ธอส.คิดดอกเบี้ยปีแรกเพียง 1.90% ต่อปี เฉลี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 2.80% เท่านั้น ผ่อนชำระเงินงวดเริ่มต้นเพียง ล้านละ 3,000 บาทต่อเดือน พิเศษ! กรณีเป็นสัญญาแรก มูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท จะได้รับวงเงินกู้ 110% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย สำหรับลูกค้า ที่สนใจสามารถยื่นคำขอกู้ ณ สาขาธนาคารทั่วประเทศ ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2567

นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า โครงการสินเชื่อบ้าน DD (ดี๊ดีย์) สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน หรือ คอนโดมิเนียม ดำเนินโครงการโดยผู้ประกอบการโครงการจัดสรร (Developer) มีข้อตกลงร่วมกับ ธอส. รวมถึงซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่ เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัยพร้อมกับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัย โดยอัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 เท่ากับ 1.90% ต่อปี, ปีที่ 2 เท่ากับ 2.90% ต่อปี และปีที่ 3 เท่ากับ 3.60% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 2.80% เท่านั้น) ขณะที่ปีที่ 4 – 5 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.00% ต่อปี และปีที่ 6 จนถึงตลอดอายุสัญญา
กรณีลูกค้ารายย่อย เท่ากับ MRR-0.50% ต่อปี กรณีลูกค้าสวัสดิการ เท่ากับ MRR-1.00% ต่อปี และกรณี ซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่ เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย เท่ากับ MRR (อัตราดอกเบี้ย MRR ธอส. ปัจจุบันเท่ากับ 6.545% ต่อปี) ระยะเวลาการกู้สูงสุด 40 ปี กรณีกู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระเงินงวดเริ่มต้นเพียง 3,000 บาทต่อเดือน เท่านั้น พิเศษ!! กรณีเป็นสัญญาแรก มูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ลูกค้าจะได้รับวงเงินกู้ 110% ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อขาย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าในการมีที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น สำหรับผู้ที่สนใจสามารถยื่นคำขอกู้ ณ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2567 หรือ ธอส. ให้สินเชื่อเต็มกรอบวงเงินโครงการแล้ว


“ธอส.พร้อมช่วยเหลือลูกค้าให้มีบ้านได้ ด้วยการให้วงเงินกู้สูงถึง 110% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมเพิ่มมากขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในช่วง 3 ปีแรก อยู่ในระดับต่ำ จะทำให้ลูกค้าสามารถวางแผนการเงินได้อย่างรอบคอบและ เหมาะสมอีกด้วย” นายกมลภพ กล่าว.-515- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ภูเก็ตฝนตกต่อเนื่อง ชาวบ้านหวั่นเขาถล่มซ้ำ

หลังจากตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ จ.ภูเก็ต มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่เผชิญกับน้ำท่วมขัง ขณะที่พื้นที่ ต.กะรน จุดที่เคยเกิดดินถล่ม มีผู้เสียชีวิต 13 ราย เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่อยู่อย่างผวา เพราะกลัวดินจากภูเขาจะถล่มซ้ำอีก

ช่วย 143 นักท่องเที่ยวติดเกาะราชาใหญ่ ขึ้นฝั่งภูเก็ตปลอดภัย

ศรชล.ภาค 3 ร่วมกับทัพเรือภาคที่ 3 ส่งเรือ ต.111 ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวต่างชาติ 143 คน ติดค้างบนเกาะราชาใหญ่ กลับเข้าฝั่ง จ.ภูเก็ต ได้อย่างปลอดภัย

น้ำในตัวเมืองหนองคายใกล้แห้ง หลังโขงพ้นวิกฤติ

หลายตำบลใน อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย น้ำยังท่วมสูงและเพิ่มระดับ บางจุดถูกตัดขาดมากว่า 2 สัปดาห์ ถือว่าหนักสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่ในตัวเมือง น้ำใกล้แห้ง หลังระดับแม่น้ำโขงใกล้พ้นจุดวิกฤติ

ภาคเหนือเร่งฟื้นฟูความเสียหาย ชาวบ้านหวั่นพายุถล่มซ้ำ

หลายพื้นที่ทางภาคเหนือยังไม่ทันฟื้นฟูความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านต้องเตรียมตัวรับกับพายุลูกใหม่ หลายคนยังไม่กล้ากลับไปอาศัยในบ้าน เพื่อรอจนกว่าพายุลูกนี้จะผ่านพ้นไปก่อน