ครบรอบ 27 ปี ลอยตัวค่าเงินบาท ทุนสำรองฯ ไทยแข็งแกร่ง

กรุงเทพฯ 2 ก.ค. – ครบรอบ 27 ปี ลอยตัวค่าเงินบาท ระดับทุนสำรองฯ ไทยแข็งแกร่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ยังมีโจทย์ท้าทายทางเศรษฐกิจที่รอแก้ไข อาจนำไปสู่การสะสมปัญหาความไม่สมดุลของเศรษฐกิจ


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่าวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 เป็นวันครบรอบ 27 ปี ของการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท โดยปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบระบบตะกร้าเงิน (Basket of currencies) ที่ผูกค่าเงินบาทกับเงินดอลลาร์ฯ มาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float Exchange Rate Regime) ทำให้เงินบาทสามารถเคลื่อนไหวในทิศทางที่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยมากขึ้น เทียบกับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบผูกติดกับตะกร้าเงินที่นอกจากอัตราแลกเปลี่ยนจะขาดความยืดหยุ่นแล้ว ยังไม่สอดคล้องกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของไทย และเป็นชนวนของการถูกโจมตีค่าเงินในช่วงเวลานั้น

ย้อนกลับมามองสถานการณ์ในปี 2567 แม้ยังคงเห็นการไหลออกของกระแสเงินลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรไทย แต่ค่าความผันผวนของเงินบาทในปี 2567 ก็มีแนวโน้มชะลอลง จากที่อยู่สูงถึง 9.0% ในปี 2566 มาอยู่ที่ 6.8% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 และต่ำกว่าค่าความผันผวนในช่วง 1 ปีหลังลอยตัวค่าเงินบาทซึ่งอยู่ที่ 34.5% ค่อนข้างมาก สะท้อนว่า ภายใต้ระบบ Managed Float ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยดูแลความเคลื่อนไหวและลดความผันผวนของค่าเงินบาท ซึ่งสำหรับโจทย์ท้าทายในปีนี้จะอยู่ที่ปัจจัยไม่แน่นอนหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องแนวโน้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก ทิศทางเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดการเงิน รวมถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ในมิติเศรษฐกิจ สถานการณ์เศรษฐกิจ และมาตรวัดเสถียรภาพต่างประเทศของไทยในปัจจุบัน ดีขึ้นกว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจการเงินปี 2540 โดย วิกฤตปี 2540 ที่มีต้นตอมาจากความไม่สมดุลภายในและการผูกค่าเงิน แต่สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงทยอยฟื้นตัวจากผลกระทบช่วงโควิด-19


ทั้งนี้ วิกฤตเศรษฐกิจการเงินของไทยในปี 2540 ปะทุขึ้นจากความไม่สมดุลหลายด้าน โดยภาคเอกชนและสถาบันการเงินขาดการตระหนักถึงความเสี่ยง มีการใช้จ่ายและกู้ยืมเกินตัวเปิดความเสี่ยงด้าน Maturity and Currency Mismatch มีการก่อหนี้ต่างประเทศสูง และมีการเก็งกำไรอย่างกว้างขวางในตลาดอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ เศรษฐกิจภาพรวมยังมีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรังเป็นเวลานานตลอดช่วงปี 2530-2540 แต่อัตราแลกเปลี่ยนตรึงไว้กับตะกร้าเงิน ซึ่งทำให้ถูกโจมตีค่าเงิน และทางการไทยจำเป็นต้องนำทุนสำรองระหว่างประเทศไปใช้ดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาท โดยในเวลานั้น เงินสำรองระหว่างประเทศสุทธิลดลงเหลือเพียง 2.8 พันล้านบาท ณ มิ.ย. 2540 กลับมาที่สถานการณ์ในปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วงทยอยฟื้นตัวจากช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยมีจุดที่แตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตปี 2540 ก็คือ ระดับทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยในปัจจุบันมีความเข้มแข็งมากกว่ามาก โดยระดับเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ 21 มิย. 2567 อยู่ที่ประมาณ 2.53 แสนดอลลาร์ฯ สามารถรองรับภาระหนี้ต่างประเทศระยะสั้น การนำเข้า 3 เดือน และหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรได้เต็มจำนวน ขณะที่สัดส่วนหนี้ต่างประเทศลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.6% ต่อจีดีพี ณ สิ้นปี 2566 และทางการก็ได้มีมาตรการดูแลการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสะท้อนว่า มีการเรียนรู้บทเรียนจากวิกฤตเพื่อป้องกันการเดินซ้ำรอยเดิมของระบบเศรษฐกิจและการเงินไทย

อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า โจทย์ท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันนั้น มีความแตกต่างไปจากอดีต เพราะมีทั้งประเด็นเฉพาะหน้า โดยเฉพาะความคาดหวังของนักลงทุนต่อสถานการณ์และนโยบายเศรษฐกิจไทย และโจทย์ที่เกิดจากปัจจัยที่มีความไม่แน่นอนและโจทย์เชิงโครงสร้าง ที่ยังต้องดูแลแก้ไข อาทิ (1) ปัญหาหนี้ในระดับสูงทั้งภาครัฐและครัวเรือน (2) ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และสงครามการค้าในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อ Global Supply Chain (3) ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (4) การเตรียมตัวกับการที่ไทยกำลังเข้าสู่ Aged society ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาการขาดแคลนแรงงานและภาระด้านสาธารณสุขในระยะยาว และ (5) การเตรียมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
ทั้งนี้ จะเห็นว่า โจทย์ความไม่สมดุลในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในอดีตทยอยได้รับการแก้ไขหลังการลอยตัวค่าเงินบาท การกู้เงินกับ IMF และมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขณะที่ ประเด็นท้าทายรอบนี้มีความซับซ้อนและแตกต่างจากปี 2540 เพราะโจทย์ส่วนใหญ่เป็นโจทย์ระยะกลาง-ยาว ซึ่งอาจนำไปสู่การสะสมปัญหาความไม่สมดุลของเศรษฐกิจในอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น ทุกภาคส่วนควรร่วมกันช่วยเสริมสร้างสมดุลใหม่ให้กับเศรษฐกิจไทย เพื่อบรรเทาผลกระทบจากข้อจำกัดเชิงโครงสร้างต่อระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคต. -511- สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า