วอนภาครัฐทบทวนการดึงน้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม

กรุงเทพฯ 2 พ.ย. – ผู้ผลิตน้ำตาลทรายวอนรัฐทบทวนการดึงน้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุมกระทบการส่งออกในภาพรวม จะเกิดปัญหาลักลอบส่งออก ในขณะที่เกษตรกรจะไม่ได้ประโยชน์ ท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่พุ่งขึ้น


นายชลัช ชินธรรมมิตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.น้ำตาลขอนแก่น (KSL) บมจ.น้ำตาลขอนแก่น (KSL) ระบุฐานราคาน้ำตาลในตลาดโลกมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยต้นทุนการผลิตและค่าแรงที่สูงขึ้น ตลอดจนปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรโลก ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง การที่รัฐบาลประกาศควบคุมราคาสินค้าน้ำตาล และดึงกลับจากการค้าเสรี ไปเป็นสินค้าควบคุมการส่งออกมากกว่า 1 ตัน จะต้องมีการแจ้งขออนุญาต จะส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกโดยรวม เนื่องจากทำให้ผู้ซื้อรายใหญ่จากต่างประเทศที่ปกติจะมีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เกิดความไม่มั่นใจว่าเมื่อทำสัญญาแล้วภาครัฐจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย กฎเกณฑ์อะไรอีกหรือไม่ ในอนาคตผู้ซื้อจะมีการต่อรองราคาลง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ดังนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะต้องขอเข้าพบกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพราะราคาน้ำตาลไม่เหมือนสินค้าอื่นๆ ที่ปรับราคาแล้วผุ้ประกอบการจะได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว แต่น้ำตาลทรายมีกฎหมายอ้อยและน้ำตาลทรายควบคุม การปรับราคาน้ำตาลทรายจะทำให้ชาวไร่อ้อยได้ประโยชน์ ตามสัดส่วนการแบ่งปันผลประโยชน์ชาวไร่ 70% ส่วนโรงงานได้ 30% นอกจากนี้ จากการที่ราคาขายปลีกในประเทศราคาอยู่ที่ 24-25 บาท/กก. ถูกกว่าต่างประเทศ โดยเฉพาะเพื่อนบ้านที่ราคามากกว่า 30 บาท/กก. ก็จะทำให้น้ำตาลไทยถูกลักลอบส่งออก และเกษตรกรไม่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด จึงขอให้ภาครัฐทบทวนมาตรการที่เหมาะสม


ทั้งนี้ กลุ่มโรงงานน้ำตาลทรายฯ ระบุ “ราคาน้ำตาลทราย” ของแต่ละประเทศ มีความแตกต่างกันมาก ตัวอย่างเช่น ฮ่องกง เกิน 100 บาท/กิโลกรัม สูงเป็นอันดับ 1, นอร์เวย์ เกิน 90 บาท/กิโลกรัม สูงเป็นอันดับ 2, เกาหลีใต้ เกิน 60 บาท/กิโลกรัม อันดับ 14, เวียดนาม เกิน 45 บาท/กิโลกรัม อันดับ 45, มาเลเซีย เกิน 37 บาท/กิโลกรัม อันดับ 68, บราซิล เกิน 32 บาท/กิโลกรัม อันดับ 72 เป็นข้อมูลจาก globalproductprices.com เดือนกันยายน 2566

สำหรับราคาน้ำตาลทรายในประเทศไทย ได้ถูกคำนวณไว้ที่ราคา 21 บาท/กิโลกรัม อยู่ที่ลำดับ 80 เป็นรองอันดับสุดท้ายจากการสำรวจ 81 ประเทศ ในเรื่องนี้ มีความสำคัญ เนื่องจากได้เสนอขอปรับราคาน้ำตาลทราย 4 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เพราะช่วงเวลาย้อนหลัง 3 ปี ที่ผ่านมา ต้นทุนการจัดการอ้อย เช่น ราคาปุ๋ยขยับสูงขึ้นมาก ค่าแรงงานภาคเกษตรก็สูงขึ้นมาก แรงงานเกษตรยังหายากเพราะทำงานอื่นมีรายได้มากกว่า เป็นต้น

ประเทศไทย ผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 2 ของโลก แต่พี่น้องชาวไร่อ้อยมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก การขยับขึ้นของราคาน้ำตาลทราย 4 บาท/กิโลกรัม ประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ได้ถูกล้มกระดาน ถูกกดทับมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีมาตรการที่ค่อนข้างย้อนแย้งอย่างคาดไม่ถึงแบบเร่งด่วน มีราชกิจจานุเบกษากำหนดให้เพิ่มรายการน้ำตาลเป็นสินค้าควบคุมจากกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566


การเพิ่มรายการน้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม กำหนดราคาขายน้ำตาลทรายมีประเด็นใหญ่ ที่มีความสำคัญ เคยถูกแก้ไขลดความเสี่ยงผ่านการเจรจาต่อรองกับประเทศคู่กรณี เนื่องจากเป็นการแทรกแซงไม่สอดคล้องกับข้อตกลงที่ทำไว้กับองค์กรการค้าโลก WTO อาจเป็นปัญหาตามมาที่จะทำให้สินค้าจากประเทศไทยถูกลงโทษ เกิดข้อพิพาทกับ บราซิล อินเดีย ที่เคยยื่นฟ้องร้องไว้

หากวิเคราะห์ตามข้อเท็จจริง ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการไม่ปรับราคาน้ำตาล 4 บาท/กิโลกรัม ในครั้งนี้ มีความซับซ้อน มีเงินได้เสียจำนวนมาก เช่น กลุ่มทุนธุรกิจอาหารเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบ กลุ่มมาเฟียผู้ลักลอบขนน้ำตาลทรายออกนอกประเทศไทยตามชายแดน กลุ่มข้าราชการแสวงหาผลประโยชน์ เป็นต้น เพราะส่วนต่างราคาน้ำตาลต่างประเทศราคาสูงกว่าในประเทศมาก

การประกาศให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม การกดราคาน้ำตาลทรายในประเทศไทยไว้ หากมองจากฉากหน้าและเจตนาที่กล่าวอ้าง เหมือนต้องการช่วยดูแลประชาชนไม่ให้ได้รับผลกระทบ แต่ความเป็นจริง สถิติย้อนหลังที่มีการสำรวจการบริโภคน้ำตาลของคนไทย จะไม่เกิน 12 กิโลกรัมต่อคนต่อปี การขึ้นราคาน้ำตาล 4 บาทต่อกิโลกรัม จะกระทบรายจ่าย 48 บาทต่อคนต่อปี ประมาณเดือนละ 4 บาท ซึ่งแทบจะไม่มีผลอะไร. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง