Smart Recycling Hub เปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจยั่งยืน

กรุงเทพฯ 7​ ก.ย. – รัฐและองค์กรเอกชนผนึกกำลังพัฒนาระบบดึงวัสดุเหลือใช้กลับสร้างมูลค่าสตาร์ทโครงการ Smart Recycling Hub นำร่องกรุงเทพฯ ขยายผลสู่ EEC นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหามลพิษจากวัสดุเหลือใช้ และเปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากรเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน


Alliance to End Plastic Waste (AEPW) ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC), โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน (PPP Plastics) และภาคีเครือข่ายภาคเอกชน-ภาครัฐ ประกาศความร่วมมือภายใต้โครงการ “Smart Recycling Hub: Building Plastic Circularity Ecosystem” โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดการพลาสติกใช้แล้วและวัสดุรีไซเคิลตั้งแต่ต้นทาง ป้องกันการเกิดขยะและการหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนเป็นวัตถุดิบคุณภาพสูงเพื่อหมุนเวียนในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ

โครงการ Smart Recycling Hub พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้วาระแห่งชาติ BCG Economy Model โดยจะจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร (Material Recovery Facility : MRF) แห่งแรกของประเทศไทย และมีเป้าหมายเพื่อนำขยะพลาสติกกลับเข้าสู่ระบบไม่ต่ำกว่า 50,000 ตันต่อปี โดยในระยะแรกจะศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ต้นแบบในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ EEC 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา และจะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนเพื่อดำเนินการสร้างศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนฯ ต้นแบบในพื้นที่นำร่องต่อไป


ศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนฯ จะจัดการพลาสติกและวัสดุรีไซเคิลตั้งแต่ต้นทางและและแปรรูปอย่างครบวงจรเพื่อเปลี่ยนเป็นวัตถุดิบคุณภาพสูง ที่สามารถนำไปหมุนเวียนใช้ในอุตสาหกรรมรีไซเคิลได้อย่างไม่รู้จบ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัสดุ และสร้างรายได้

การร่วมมือในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของพันธมิตรกว่า 20 องค์กร นำโดย Alliance to End Plastic Waste (AEPW) ), Public Private Partnership for Sustainable Plastic and Waste Management (PPP Plastics), สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), สถาบันพลาสติก, กรุงเทพมหานคร และสมาชิกของ AEPW ในประเทศไทย ได้แก่ Dow, SCGC และ INSEE Ecocycle และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาและดำเนินโครงการ

นายเจค็อบ ดูเออร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AEPW กล่าวว่า​ AEPW เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ที่มีพันธกิจเพื่อป้องกันขยะพลาสติกปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม มีความยินดีที่ได้เห็นความมุ่งมั่นและความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการเดินหน้าให้เกิดการพัฒนาระบบการหมุนเวียนของพลาสติก เราพร้อมให้การสนับสนุนโครงการนี้เพื่อร่วมยกระดับการจัดการขยะพลาสติกในทุกมิติ พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยโครงการนี้จะถือเป็นโมเดลระบบนิเวศ นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร แห่งแรกในภูมิภาคนี้


ทั้งนี้​รู้สึก​ประทับใจมากที่ได้เห็นการพัฒนาโครงการที่สำคัญนี้จนเป็นรูปเป็นร่างจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งนี้จะทำให้พวกเราประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนซึ่งจะช่วยนำชุมชนและประชาคมโลกก้าวไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง

นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ด้านสิ่งแวดล้อม) กล่าวว่า “กทม. มีเป้าหมายผลักดันให้กรุงเทพฯเป็น “กรุงเทพเมืองสะอาด” ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของ กทม. ที่ได้มีการรณรงค์ “ไม่เทรวม” เพื่อเชิญชวนประชาชน และทุกภาคส่วน ให้มีส่วนร่วมคัดแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะทั่วไป วัสดุรีไซเคิล และขยะแห้ง ดังนั้น ความร่วมมือของทุกฝ่ายในครั้งนี้ จึงเป็นจุดสำคัญในการส่งเสริมนโยบายและต่อยอดโครงการของ กทม. เพื่อสร้างคุณค่าของวัสดุเหลือใช้และมีส่วนสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง เป็นระบบ ทำให้สามารถลดปัญหาขยะและงบประมาณในการจัดการได้อีกทางหนึ่งด้วย”

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ (วว.)กล่าวว่า การบูรณาการความร่วมมือขององค์กรที่มีศักยภาพเข้ามาเป็นพันธมิตร เพื่อการจัดตั้งศูนย์ฯ ในครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและนำงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของคนไทย ไปขยายผลให้เกิดการใช้งานจริง สู่การสร้างต้นแบบศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน แบบครบวงจร ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน สอดรับบริบทกับนโยบาย BCG Economy และทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประชาคมโลก

นายวีระ ขวัญเลิศจิต ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติกแห่งประเทศไทย และฝ่ายเลขานุการ PPP Plastics กล่าวว่า “ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเบื้องต้นจากโครงการนี้จะนำไปใช้ในการพัฒนาและจัดตั้งระบบและต้นแบบในพื้นที่นำร่องเพื่อสร้างศูนย์คัดแยกและแปรรูปวัสดุใช้แล้ว Material Recovery Facility (MRF) โดยจะนำผลสำเร็จจากการตั้งศูนย์นำร่องนี้ไปขยายผลยังพื้นที่เป้าหมายอื่น ๆ ทั้งในกรุงเทพและ EEC ซึ่งศูนย์ฯ ดังกล่าว จะมีกลไกการทำงาน ในการคัดแยกวัสดุเหลือใช้ วัสดุรีไซเคิลและแปรรูปเบื้องต้น เพื่อเตรียมเป็นวัสดุรีไซเคิลที่สะอาด และมีคุณภาพสูง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป.-สำนัก​ข่าว​ไท​ย​

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร