ปตท.มั่นใจ มาตรฐานสูง-ต้นทุนต่ำ แข่งได้ “อีวี”ครบวงจร

กรุงเทพฯ 11 ก.ค.-ปตท.มั่นใจ มาตรฐานสูง-ต้นทุนต่ำ แข่งได้ “อีวี”ครบวงจร ดึงดูดลูกค้าใช้บริการทั้งโรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานแบตเตอรี่ที่มีทั้งระบบ “ MODULE  และ Cell-To-Pack”  รองรับฐานผลิตอีวีครบวงจรในไทย พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่สนับสนุนแพคเกจใหม่สนับสนุนอีวี เพื่อสร้างระบบนิเวศน์แข่งขันได้ โดยเฉพาะกับ ค่ายจีนที่ได้ประโยชน์จาก FTA 


นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจใหม่ของ ปตท. ในขณะนี้เดินหน้าตามแผน มุ่งหา New Growth ด้วยเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนกำไรของธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตและธุรกิจอื่นให้มากกว่า 30% ในปี 2573  โดยในระหว่างทางจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง และจะมีสัดส่วน 15 % ในปี 2569 โดย จึงมีกลยุทธ์ที่สำคัญ 2 เรื่อง หลักคือ  Future Energy การมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน,ยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร,ไฮโดรเจน ,สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ และ Beyond  การรุกธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน  เช่น ธุรกิจวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต(Life Science) การสร้างอุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่มสูงของปิโตรเคมี  ธุรกิจMOBILITY ของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์  เป็นต้นโดยหลักการสำคัญในการขยายธุรกิจคือ การมองหาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง มีความเชี่ยวชาญจริงในธุรกิจนั้น ๆ   พัฒนาธุรกิจใหม่ให้ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และ มองหาช่องทางขยายธุรกิจและสร้างความแข็งแกร่งด้านบริหารจัดการโดยอาศัยทรัพยากรและฐานธุรกิจที่แข็งแกร่ง กว้างขวางของ ปตท.

“เราเริ่มธุรกิจใหม่มา 2-3 ปีแล้ว ในขณะนี้มีความคืบหน้าต่อเนื่องร่วมมือกันพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายการทำธุรกิจที่ชัดเจนว่าจะต้องมีผลตอบแทนภายใน 3-5 ปี และปรับกลยุทธ์ที่เหมาะสมตลอด  ซึ่งนอกจากตอบโจทย์ทางธุรกิจที่ยั่งยืนแล้ว ยังร่วมแก้ปัญหาโลกร้อน ก้าวเข้าสู่แผนงาน NET ZERO “ นายเชิดชัยกล่าว 


สำหรับโครงการอีวีครบวงจรนั้น  บริษัท อรุณ พลัส จำกัด มีการร่วมทุน ทั้งการผลิตรถยนต์,แบตตเตอรี่,สถานีชาร์จ,ระบบรถเช่าอีวี และการเปลี่ยนแบตฯ  ซึ่งการร่วมทุนกับฟ็อกคอนซ์  จัดตั้งบริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด ร่วมทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าออกแบบภายใต้แนวคิด BOL (Build-Operate-Localize) นำเทคโนโลยีระดับโลกมาดำเนินการออกแบบก่อสร้างและทั้งการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของของลูกค้า  ในขณะนี้มีค่ายรถยนต์ทั้งจีน,ญี่ปุ่น,ยุโรป มาเจรจาเพื่อให้ผลิต แม้ว่าค่ายยักษ์ใหญ่ของจีนหลายรายจะมีการเริ่มลงทุนในไทยด้วยโรงงานอื่นๆ แล้วก็ตาม  โครงการนี้เม็ดเงินลงทุนรวม   3.6 หมื่นล้านบาท เฟส แรกลงทุน 2.4 หมื่นล้านบาท ผลิต 5 หมื่นคัน/ปี จะเสร็จตามแผนในปี2567 และเฟส 2 จะลงทุนอีก 1.2 หมื่นล้านบาท ขยายเป็น 1.5 แสนคัน/ปีในปี 2569-2570 

ส่วนระบบแบตเตอรี่ ปตท.มีทั้ง 2 ระบบรองรับอีวีทุกประเภท ทั้งระบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน แบบโมดูลแบตเตอรี่ และระบบ Cell-To-Pack (CTP)     นับเป็นทางเลือกตอบสนองความต้องการของลูกค้า  และเป็นการร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ TOP TEN ระดับโลกจากจีน ได้แก่ ความร่วมมือกับบริษัทในเครือ  Gotion High-tech  จัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อบริษัท เอ็นวี โกชั่น จำกัด (NV Gotion) ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 600 ล้านบาท  ดำเนินธุรกิจนำเข้า ประกอบ และจัดจำหน่ายโมดูลแบตเตอรี่    ลิเทียมไอออนคุณภาพสูงสร้างโรงงานเสร็จ ภายปลายปี 2566 และเริ่มจำหน่ายต้นปี 2567 ด้วยกำลังการผลิตเริ่มต้น 1 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี และขยายกำลังการผลิตเป็น 2 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ภายในปี 2568 โดย NV Gotion จะเริ่มก่อสร้างโรงงานประกอบชุดแบตเตอรี่ขนาด 2 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คาดว่าจะสามารถผลิตและส่งมอบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนคุณภาพสูงแก่ตลาดได้ภายในไตรมาส 4 ของปี 2566 นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และผลักดันเป้าหมาย Net Zero ของประเทศจากทุกภาคส่วนร่วมกัน ส่วนโรงงานประกอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบ Cell-To-Pack (CTP)ตกลงร่วมมือลงทุนกับ กับบริษัท Contemporary Amperex Technology Co., Limited (CATL) กรอบการลงทุนกว่า 3,600 ล้านบาท โดยโรงงานดังกล่าวจะพร้อมเดินสายการผลิตภายในปี 2567 ด้วยกำลังการผลิต 6 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี

ส่วนการให้เช่ารถอีวี โดยบริษัท อีวี มี พลัส จำกัด (EVme Plus) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการเช่ารถยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรรายแรกของประเทศไทย ได้รับความนิยมใช้บริการสูงมาก ณ เดือนมีนาคม 66 มีรถบริการ 700 คัน ตั้งเป้าหมายเป็น 2,000 คันในปลายปี 66 โดยจะมุ่งเน้นการเพิ่มการเช่าระยะยาว3-5ปีให้เพิ่มขึ้น เป็นสัดส่วนร้อย70 จากปัจจุบันมีสัดส่วนร้อยละ 60 โดยที่เหลือเป็นเช่าระยะสั้นและยังจัดทำแผนงาน ROSE วางแผนซื้อขายรถอีวีแผ่นแพลตฟอร์มEVme  หารายได้เพิ่มจากแพล็ตฟอร์มออนไลน์ ส่งเสริมให้ประชาชนคุ้นเคยรถอีวี ผ่านแพลตฟอร์มนี้ ด้วยการเป็นสมาชิก 


ในขณะที่ สถานีอัดประจุยานยนต์ ในกลุ่ม ปตท.ก็จะมีการลงทุนติดตั้งทั้งในสถานีน้ำมัน ผ่านโออาร์ แบรนด์อีวีสเตชั่นพลัส และนอกสถานีน้ำมันโดย ออน-ไอออน (on-ion) ซึ่งมีทั้งบริการติดตั้งสถานีชาร์จที่บ้าน และร่วมกับพันธมิตร ติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่ธุรกิจ และอื่นๆ โดย บริการติดตั้งที่บ้านแล้วกว่า 1,000 หลัง ส่วนพื้นที่ธุรกิจเปิดบริการแล้ว 59 สถานีทั่วประเทศ 430 หัวชาร์จ จุดแข็งของ ออน-ไอออน คือ พัฒนาโดย สถาบันนวัตกรรม ปตท.ขึ้นทะเบียนสินค้านวัตกรรม ระบบบริการหลังการขายไม่ว่าจะติดตั้งที่ใดติดต่อง่ายสะดวกและพร้อมบริการแก้ปัญหา

“ปตท.เดินหน้าอีโคศิสเต็มของอีวี ในอนาคตก็จะศึกษาร่วมทุนในระบบเซลล์แบตเตอรี่ และ SMART ELECTRONIC  รองรับความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทอรนิกส์ทั้งอีวี,โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ทุกด้านต้องหารือร่วมกับภาครัฐว่า จะมีการสนับสนุนให้เดินหน้า เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่อุตสาหกรรมในประเทศอย่างไรด้วย โดยรูปแบบเช่นนี้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง ซึ่งในส่วนของรถอีวี  ฮอริษอน พลัส นั้นคาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นคน”นายเชิดชัยกล่าว

นายเอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (Arun Plus)กล่าวว่า มั่นใจ ผู้มาจ้าง โรงงานประกอบรถยนต์และแบตเตอรี่ จะเป็นไปตามเป้าหมาย เพราะในปีหน้าจะต้องเริ่มผลิตรถในไทยเพราะต้องทำตามข้อกำหนดของรัฐบาล คือใช้แบตฯและประกอบรถยนต์ในไทย หลังหมดโปรแกรมอุดหนุนทางการเงินจากภาครัฐ  31 ธ.ค.2566  ที่รถยนต์อีวีจะได้รับเงินอุดหนุนสูงสุด 1.5 แสนบาทต่อคันส่วนรถจักรยานยนต์อีวี ได้รับ 1.8 หมื่นบาทต่อคัน โดยในส่วนของความเชี่ยวชาญและต้นทุนของกลุ่ม ปตท.นั้นจะสามารถแข่งขันได้ด้วยต้นทุนต่ำ เพราะผู้ร่วมทุนแต่ละราย ล้วนมีความเชี่ยวชาญระดับโลกทั้งสิ้น สร้างความมั่นใจแก่ค่ายรถอีวีที่จะมาลงทุนในไทย

“แพคเกจใหม่สนับสนุนอีวีในไทย ทางหน่วยงานรัฐและกลุ่มเอกชนมีการหารือร่วมกันและจะเสนอรัฐบาลใหม่ เช่น ปัญหาภาษี ซึ่ง FTA ไทย-จีน ก็ทำให้ รถอีวีประกอบในจีนภาษีเป็นศูนย์ และจะทำอย่างไรให้รถที่ผลิตในไทยค่ายอื่นๆ แข่งขันได้ ก็เป็นโจทย์ที่ทุกฝ่ายกำลังทำการบ้านร่วมกัน”นายเอกชัยกล่าว.–สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร