กองทุนประกันวินาศภัย

27 มิ.ย. – ในห้วง 3 ปีที่ผ่านมา กองทุนประกันวินาศภัยถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง หลังบริษัทประกันจำนวน 4 แห่ง ประกาศปิดกิจการลงจากการเผชิญมรสุมโควิด-19 “เจอ จ่าย จบ” อย่างสาหัส โดยเริ่มจาก “เดอะวันประกันภัย” และ “เอเชียประกันภัย” ที่ปิดกิจการในปี 2564 จากนั้นในปีถัดมา บริษัทยักษ์ใหญ่ “อาคเนย์ประกันภัย” ที่มีอายุ 76 ปี และ “ไทยประกันภัย” บริษัทประกันภัยแห่งแรกของคนไทยอายุ 84 ปี ก็ปิดตัวตามลงไป เพราะโควิด-19 คุมไม่อยู่ ยอดเคลมพุ่งสูง จนบริษัทประกันภัยฯ เหล่านั้นต้องยื่นขอคืนใบอนุญาต สุดท้ายจบลงด้วยการถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และต้องปิดตัวลงในวันที่ 1 เมษายน 2565


“เมื่อบริษัทปิดตัวลง เงินที่จ่ายไปตามสัญญาจะสูญหายหรือไม่ และทำอย่างไรจะได้เงินนั้นกลับคืนมา”
“ความคุ้มครองที่เหลืออยู่จะได้รับการชดเชย ดูแลต่อหรือไม่ และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ”
ความกังวลเหล่านี้ เกิดแก่เจ้าของกรมธรรม์ทันที เพราะการทำประกันภัยไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย ก็ย่อมคาดหวังว่าเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดเกิดขึ้นกรมธรรม์ที่ถือจะให้สิทธิประโยชน์ตามสัญญา

ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 กำหนดให้กรณีที่บริษัทประกันวินาศภัยใด ประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยให้ยื่นคำขออนุญาตต่อคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือผู้มีส่วนได้เสีย โดยคณะกรรมการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา ให้บริษัทต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จก่อนที่คณะกรรมการจะอนุญาตให้เลิกกิจการ โดยการเลิกบริษัทให้มีผลนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย และให้มีการชำระบัญชี


นั่นหมายความว่า เจ้าของกรมธรรม์จะยังได้รับการดูแล และได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยอยู่ กรณีที่บริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต

“กองทุนประกันวินาศภัย” จะเป็นผู้จัดหาผู้รับประกันภัยรายใหม่ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามหลักเกณฑ์และแนวทางของ “กองทุนประกันวินาศภัย” รวมถึงดูแลเรื่องการเคลม หรือ คืนเบี้ยประกันทั้งหมด

เช่นกรณีที่เกิดขึ้น ก็ได้เห็น “กองทุนประกันวินาศภัย” เข้ามามีบทบาทเป็น “ผู้จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความคุ้มครองแทนบริษัทที่ปิดตัวไป ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท ตามกฎหมาย”


ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนต่อธุรกิจประกันภัย จึงได้มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธของผู้ทำประกันขึ้น

“กองทุนประกันวินาศภัย” เป็นหนึ่งใน “ทุนหมุนเวียน” ภายใต้การกำกับดูแลของระบบการบริหารทุนหมุนเวียน ประเภท “เพื่อการสนับสนุนส่งเสริม” ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558

“กองทุนประกันวินาศภัย” มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิ์ได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีบริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย และเพื่อพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ

จากที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ก็พอจะทราบถึงบทบาทหน้าที่กองทุนประกันวินาศภัยกันบ้างแล้ว แต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมด ดังนั้น จึงจะขอกล่าวถึงบทบาทหน้าที่กองทุนฯ ว่ามีอะไรบ้าง
1.เป็นที่พึ่งผู้เอาประกันภัยเมื่อบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต
2.ดูแลครอบคลุมประกันวินาศภัย ประกันวินาศภัยมั่นคง
3.ให้ความรู้กองทุนประกันวินาศภัย ประกันวินาศภัย
4.ส่งเสริมความมั่นคงธุรกิจประกันวินาศภัย
5.บริหารเงินกองทุนให้พร้อมในการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัย คุ้มครองสิทธิประโยชน์
6.มีความพร้อมชำระบัญชี เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทประกันวินาศภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
7.หน้าที่พัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ

การปฏิบัติงานของกองทุนประกันวินาศภัยหลังบริษัทประกันฯ ปิดกิจการ มีดังนี้
ในฐานะเป็นองค์กรรัฐ มีระเบียบที่ต้องทำตามขั้นตอนของกฎหมายซึ่งรวมใช้เวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน โดยทันทีที่ “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง” มีคำสั่ง “เพิกถอนใบอนุญาต” หรือ “ปิด” บริษัท ประกันวินาศภัย คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ “สำนักงาน คปภ.” ในฐานะ “นายทะเบียน” ก็จะมีคำสั่งแต่งตั้งให้ “กองทุนประกันวินาศภัยหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด” เป็น “ผู้ชำระบัญชี” ของบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตนั้น

จากนั้น “สำนักงาน คปภ.” จะส่งมอบหลักทรัพย์ประกันและเงินสำรองของบริษัทประกันวินาศภัยที่วางไว้กับสำนักงาน คปภ. ให้กับ “กองทุนประกันวินาศภัย หรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชี” ภายใน 30 วันทำการ

ส่วนของกองทุนประกันวินาศภัย เมื่อถูกแต่งตั้งเป็นผู้ชำระบัญชี จะมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
1.ทำการจดทะเบียนเลิกกิจการ และประกาศทางหนังสือพิมพ์ภายใน 7 วัน เพื่อให้ประชาชนทราบว่าบริษัทประกันวินาศภัยนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกสั่งปิด
2.กองทุนฯ จะส่งจดหมายให้เจ้าหนี้ และลูกหนี้ของบริษัทรับทราบภายใน 30 วัน ตามรายชื่อที่ปรากฏในข้อมูลของบริษัท
3.กองทุนฯ จะประกาศให้บรรดาเจ้าหนี้ทราบว่า กองทุนฯ จะกำหนดวันใดให้มายื่นคำทวงหนี้ ซึ่งมีระยะเวลาการยื่นภายใน 60 วัน
4.หลังสิ้นสุดระยะเวลาการยื่นคำทวงหนี้ กองทุนฯ จะเร่งพิจารณาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามสัญญาประกันภัยจาก “คำทวงหนี้ของเจ้าหนี้” แต่ละรายที่มายื่นกับกองทุนฯ โดยเร็ว

ซึ่งการพิจารณาชำระหนี้ ทางกองทุนฯ จะมีคณะอนุกรรมการต่างๆ เข้ามาร่วมพิจารณาเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม และหลังจากผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารกองทุนประกันวินาศภัยเรียบร้อยแล้ว ทางกองทุนฯ จะแจ้งให้ลูกหนี้ทราบทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่เจ้าหนี้ฯ ได้แจ้งไว้กับกองทุนฯ

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า “กองทุนประกันวินาศภัย” เป็นที่พึ่งผู้เอาประกันภัย เมื่อบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต และอีกหนึ่งในภารกิจสำคัญก็คือ การเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนประกันวินาศภัย และการประกันวินาศภัย เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของธุรกิจประกันวินาศภัย โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่กองทุนประกันวินาศภัยก็ยังมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายและให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1.โครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ ส่งเสริมความรู้ด้านการประกันภัยและการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาค
2.โครงการอบรมความรู้บทบาทหน้าที่กองทุนประกันวินาศภัยให้กับกลุ่มอาสาสมัคร
3.จัดคูหานิทรรศการ ภายใต้กิจกรรม “เปิดบ้านส่งความรู้สู่เพื่อนบ้าน”
4.โครงการแถลงข่าวว่าด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลระบบอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลผลการตรวจ RT-PCR กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVIC-19) ระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กับกองทุนประกันวินาศภัย (MOU) เพื่อใช้เชื่อมโยงข้อมูลระบบอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลผลการตรวจ RT-PCR กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
5.จัดโครงการกองทุนประกันวินาศภัยพบปะประชาชนผู้ยื่นคำทวงหนี้ ภาค 1 (เชียงใหม่)
6.จัดโครงการสร้างความร่วมมือระหว่างกองทุนประกันวินาศภัยกับเครือข่ายในภาคอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย
7.จัดโครงการกองทุนประกันวินาศภัยพบสื่อมวลชน เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบผลการดำเนินงานของกองทุนประกันวินาศภัยในปี 2565 และแผนงานที่จะดำเนินการในปี 2566

“กองทุนประกันวินาศภัย” เป็นผลงานส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลการบริหาร “ทุนหมุนเวียน” ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นกลไกในการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งยังส่งเสริมพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน.

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยิงสส.กัมพูชา

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” ดับกลางกรุงเทพฯ

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ดับใกล้วัดดังกลางกรุง พบเหยื่อมีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาลฮุนเซน

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงเพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม

ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา เพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม พร้อมกำหนดบทลงโทษหากพบเข้าไปข้องเกี่ยว

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา-วอศ.สระบุรี ชนะเลิศแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา และ วอศ.สระบุรี ชนะเลิศในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025 ณ เมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ข่าวแนะนำ

ยิงสส.กัมพูชา

ตร.ประสานอัยการ ยื่นขอศาลสืบพยานล่วงหน้าคดีลอบสังหารอดีต สส.กัมพูชา

ตร.ประสานอัยการ ยื่นขอศาลสืบพยานล่วงหน้าคดีลอบสังหารอดีต สส.กัมพูชา ขณะที่ตัว “จ่าเอ็ม” มือยิง คาดว่าจะยังไม่ส่งตัวกลับมาดำเนินคดีในไทยเร็วๆ นี้

burned houses alongside of road in Pacific Palisades

คนดังแห่อพยพออกจากบ้านในแอลเอ หนีไฟป่า

ผู้มีชื่อเสียงหลายคน รวมถึงคนในแวดวงบันเทิงฮอลลีวูดของสหรัฐ อยู่ในกลุ่มประชาชนหลายหมื่นคนที่ต้องอพยพออกจากบ้านเรือน หนีไฟป่าที่กำลังโหมไหม้เหนือการควบคุมรอบนครลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย

นายกฯไปภูเก็ต

นายกฯ ปฏิบัติภารกิจภูเก็ต ประชุมบูรณาการแก้ปัญหาพื้นที่

นายกฯ ปฏิบัติภารกิจภูเก็ต ประชุมบูรณาการแก้ปัญหาพื้นที่ รองรับการเติบโตด้านท่องเที่ยว ก่อนเปิดงานแสดงเรือนานาชาติ ผลักดันภูเก็ตเป็น Premium Destination และการรองรับกิจกรรม Big Event