รัฐบาลมุ่งพัฒนาประปาดื่มได้   

ทำเนียบฯ 23 พ.ค. – ครม. มุ่งพัฒนาประปาดื่มได้ ปลื้มประชาชนเข้าถึงน้ำดื่มพื้นฐานร้อยละ 99   


น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบผลดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี โดยในช่วงปี 2561-2565 ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค มีการก่อสร้างระบบประปา 256 หมู่บ้าน และเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปา 5,005 หมู่บ้าน การปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านให้ได้มาตรฐาน (SDGs) ผ่านมาตรฐานประปาดื่มได้ เฉลี่ยร้อยละ 38.48

ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต มีการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ  อาคารบังคับน้ำ ระบบส่งน้ำใหม่ ทั้งเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ในพื้นที่ชลประทาน จำนวน 1,420 แห่ง ปริมาณน้ำ 601.51 ล้านลูกบาศก์เมตรสำหรับพื้นที่รับประโยชน์ 1.18 ล้านไร่ ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ มีการปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ 201 แห่ง ปรับปรุงลำน้ำธรรมชาติที่ตื้นเขิน 115 แห่งระยะทาง 181 กิโลเมตร


ด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดและควบคุมการระบายน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยก่อสร้างใหม่ 18 ระบบ และเพิ่มประสิทธิภาพระบบเดิม 1 แห่ง ทำให้ปริมาณน้ำเสียที่รับการบำบัดได้ตามมาตรฐาน เฉลี่ยร้อยละ 15 ด้านที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน ในเขตป่าอนุรักษ์และเขตป่าสงวนแห่งชาติมีการดำเนินการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม 179,909 ไร่ และป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำ 118,608 ไร่

ด้านที่ 6 การบริหารจัดการ ใช้ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ เช่น (1) จัดทำปรับปรุงกฎหมายและองค์กรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมีการตามและออกกฎหมายลำดับรองตาม พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ 2561 แล้วเสร็จ รวม 25 ฉบับ (2) จัดทำ (ร่าง) แผนแม่บทฯ น้ำ (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566-2580) เพื่อประกาศใช้ใหม่ และ (3) ติดตามและประเมินผล โดย สทนช.

นับว่าไทย ดำเนินงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก โดยมีสัดส่วนประชากร ใช้บริการน้ำดื่มปลอดภัย  บริการน้ำดื่มขั้นพื้นฐานร้อยเปอร์เซ็นต์ และประชากรเข้าถึงการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานร้อยละ 99 ส่วนการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการใกล้เคียงค่าเฉลี่ยระดับโลกที่ร้อยละ 54  นับว่าไทยบริหารจัดการน้ำได้เกินครึ่ง ตามมาตรฐาน ปานกลาง-สูง .-สำนักข่าวไทย  


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

วันที่ 11 ปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. ถล่ม

วันที่ 11 ของปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. พังถล่ม เจ้าหน้าที่เดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักเข้า เคลียร์ซากต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซนบี และซี ที่คาดว่าเป็นจุดที่มีผู้ติดค้างอยู่จำนวนมาก

ชุดค้นหาลงโพรงโซน B, C ลึก 5-6 เมตร ได้กลิ่นแรง ไม่พบผู้สูญหาย

“กู้ภัย” เผยเจาะโพรงพื้นที่โซน B และ C ได้แล้ว พร้อมส่งชุดค้นหาลงโพรงไปตรวจสอบลึก 5-6 เมตร ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม แต่ได้กลิ่นแรง เร่งเดินหน้าเครื่องจักรหนักเคลียร์ซากต่อเนื่อง ยันจะช่วยเหลือจนกว่านำร่างสุดท้ายออกมาครบ