fbpx

“ศักดิ์สยาม” ติดตามเร่งรัดงานโครงสร้างพื้นฐาน จ.นครราชสีมา

กรุงเทพฯ 17 ก.พ. – “ศักดิ์สยาม” ลงพื้นที่ติดตามเร่งรัดโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมและระบบขนส่งมวลชนใน จ.นครราชสีมา เผยเตรียมลุยแผนพัฒนารถไฟฟ้ารางเบา (LRT) ใน จ.นครราชสีมา จำนวน 3 เส้นทางด้วย


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วย นายชยธรรม์ พรหมศร และผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ร่วมลงพื้นที่ ณ สำนักงานทางหลวงที่ 10 จังหวัดนครราชสีมา

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เร่งรัดผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับและเชื่อมโยงการเดินทางในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนับสนุนการค้า การท่องเที่ยว สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กระทรวงฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานตามภารกิจดังกล่าว โดยได้เร่งรัดเปิดให้บริการโครงข่ายคมนาคม เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ ส่งเสริมภาคเกษตรกรรม สนับสนุนการกระจายรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และสนับสนุนการค้า การท่องเที่ยว สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ทุกโหมดการเดินทาง


เริ่มจากโครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ คือ โครงการก่อสร้างสะพานลอยข้ามทางรถไฟ ตอน ป่าไผ่ – ปากช่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ, โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทล.202 ตอน อำเภอสีดา – อำเภอบัวใหญ่

โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจรที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ทล.304 ช่วง อำเภอกบินทร์บุรี – อำเภอวังน้ำเขียว ตอน 3, โครงการก่อสร้างสะพานกลับรถ ทล.2 ที่ กม.43-44 (ขาเข้าและขาออก) รวมทางคู่ขนาน, โครงการปรับปรุงถนน ทล.2 นครราชสีมา – บรรจบทาง ทล.2067, โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทล.206 อำเภอพิมาย – บ.หินดาด, โครงการก่อสร้างสะพานลอยข้ามทางรถไฟ ทล.226 บริเวณทางเลี่ยงเมืองห้วยแถลง, โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทล.226 อำเภอเฉลิมพระเกียรติ – อำเภอจักราช – อำเภอห้วยแถลง, โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทล.205 อำเภอหนองบัวโคก – อำเภอพระทองคำ และโครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทล.207 บ.วัด – อำเภอประทาย

โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 13 โครงการ ระยะทางรวม 285 กิโลเมตร ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ ทล.290 วงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา โครงการก่อสร้างสะพานลอยข้ามทางรถไฟ ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ทางเลี่ยงเมืองจักราช โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทล.202 อำเภอแก้งสนามนาง – อำเภอบัวใหญ่ โครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 290 กับทางหลวงหมายเลข 304 โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ทางหลวงหมายเลข M6 ตอน บางปะอิน – สระบุรี – นครราชสีมา โครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับเชื่อมทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – นครราชสีมา กับทางหลวงชนบท หมายเลข นม.1120 (ถนนสุรนารี 2) โครงการทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 24 กับทางหลวงหมายเลข 224 (แยกโชคชัย) โครงการทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 224 ตัดกับ 290 โครงการเพิ่มช่องจราจรทางลอดจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 ตัดถนนช้างเผือก ตัดถนนสิริราชธานี (แยกประโดก) โครงการเพิ่มช่องจราจร ทล 290 บ.หนองยาง – บ.หมูสี โครงการเพิ่มช่องจราจร ทล.224 บ.โคกกรวด – บ.หนองสนวน โครงการบริหารจัดการลำดับชั้นทางหลวงฯ ทล.24 แยกปักธงชัย – แยกโชคชัย โครงการทางแยกต่างระดับ และทางลอดจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 ตัดทางหลวงหมายเลข 224 (แยกนครราชสีมา)


การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท ดำเนินการแล้วเสร็จ อาทิ โครงการถนนสาย นม.1120 แยก ทล.2 – บ.โคกไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (ตอนที่ 1), โครงการถนนสาย นม.1120 แยก ทล.2 – บ.โคกไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (ตอนที่ 2), โครงการสะพานข้ามลำน้ำมูล อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ระหว่างดำเนินการ ผลการก่อสร้าง 90.32%

แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค MR-MAP เป็นโครงข่ายคมนาคมที่ประกอบด้วยถนนมอเตอร์เวย์และทางรถไฟร่วมกัน เน้นการศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงผลกระทบการเวนคืนและการแบ่งแยกชุมชนเป็นหลัก โดยมีการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคอื่นของประเทศไทย ให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ส่งเสริมการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ดำเนินการศึกษาแผนแม่บทโครงการ MR-MAP แล้วเสร็จในปี 2564 และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เห็นชอบในปี 2565 ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ กรมทางหลวง และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะดำเนินการสำรวจและออกแบบในรายโครงการต่อไป โดยมีเส้นทางที่ผ่านพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ MR2 : กรุงเทพ/ชลบุรี (แหลมฉบัง) – หนองคาย (ด่านหนองคาย) และ MR5 : กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์) – นครราชสีมา (สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6)

การเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะ การเชื่อมโยงระบบคมนาคมจากสถานีขนส่งผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาได้จัดให้มีบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา มากกว่า 30 หน่วยงาน เพื่อร่วมแสดงเจตนารมณ์ รณรงค์ ป้องกัน และรับมือกับปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา จึงได้ดำเนินโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัด โดยการตั้งจุดตรวจวัดควันดำบนถนนสายหลักและสายรองในเขตจังหวัดนครราชสีมา ปฏิบัติงานแบบบูรณาการกับตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจัดกิจกรรมโครงการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และการจัดกิจกรรมตรวจสารเสพติดในปัสสาวะของผู้ขับรถ เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพื่อการเดินทางที่ปลอดภัย

ขณะที่มิติทางราง มีแผนพัฒนารถไฟทางคู่ โครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน (2560-2564) ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2562 ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร ช่วงที่ 1 อุโมงค์คู่ทางเดี่ยว ยาว 5.20 กิโลเมตร ช่วงที่ 2 อุโมงค์เดี่ยวทางคู่ ยาว 0.65 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 อุโมงค์คู่ทางเดี่ยว ยาว 1.40 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างระยะที่ 2 (2565-2569) และช่วงชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ

รวมทั้งมีแผนพัฒนารถไฟความเร็วสูง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ระยะที่ 2 นครราชสีมา – หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร ปัจจุบัน รฟท. ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการพิจารณารายงาน EIA โดยมีแผนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 50.09 กิโลเมตร ประกอบด้วย สายสีส้ม (แยกประโดก – ถนนช้างเผือก – คูเมืองเก่า) ระยะทาง 9.81 กิโลเมตร สายสีม่วง (ตลาดเซฟวัน – ถนนมิตรภาพ – บ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 7.14 กิโลเมตร และสายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน – ถนนมุขมนตรี – บ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.17 กิโลเมตร โดยสายสีเขียวจะเป็นโครงการนำร่อง โครงสร้างทางวิ่งระดับพื้นดิน (At Grade) มีสถานีทั้งหมด 21 สถานี จุดจอดแล้วจร 2 แห่ง ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง มีแผนนำเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินโครงการ ภายในเดือนมิถุนายน 2567 ก่อสร้างปี 2568 และเปิดให้บริการปี 2571

มิติทางน้ำ กรมเจ้าท่าได้กำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “พัฒนาแหล่งน้ำ สร้างอีสานเขียว ท่องเที่ยวปลอดภัย วิถีใหม่ชุมชน” โดยมอบหมายให้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 และสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา ร่วมกับสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 8 เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ รวมถึงได้ดำเนินโครงการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำภายในประเทศ จังหวัดนครราชสีมา โครงการที่แล้วเสร็จในปี 2565 จำนวน 6 โครงการ ระยะทางการขุดลอกรวม 16.45 กิโลเมตร ได้แก่ โครงการขุดลอกลำทะเมนชัย ตำบลบ้านยาง อำเภอลำทะเมนชัย โครงการขุดลอกลำสะแทด หมู่ที่ 2 ตำบลโนนแดง อำเภอโนนแดง โครงการขุดลอกลำสะแทด หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอประทาย โครงการขุดลอกลำสะแทด หมู่ที่ 1 ตำบลละหานปลาค้าว อำเภอเมืองยาง โครงการขุดลอกแม่น้ำชี ตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง และโครงการขุดลอกลำน้ำแก่ง หมู่ที่ 3, 5 และ 9 ตำบลท่าหลวง อำเภอพิมาย ทั้งนี้ ยังได้ดำเนินโครงการอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชน ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังแม่น้ำมูล บ้านหนองรี ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแม่น้ำชี หมู่ที่ 7 บ้านฤทธิ์รักษา ถึงหมู่ที่ 3 บ้านแก่งโก โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งในแม่น้ำมูล บ้านม่วง หมู่ที่ 7 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย การจัดทำระบบเข้าถึงการอนุญาตสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ

มิติทางอากาศ ปัจจุบันขีดความสามารถของท่าอากาศยานนครราชสีมา มีทางวิ่งขนาด 45 x 2,100 เมตร สามารถรองรับอากาศยานขนาด 80-220 ที่นั่ง มีทางขับ 2 เส้น สามารถรองรับได้ 6 เที่ยวบิน/ชั่วโมง ลานจอดเครื่องบิน สามารถรองรับอากาศยานขนาด 180-220 ที่นั่ง ได้ 4 ลำพร้อมกัน อาคารที่พักผู้โดยสาร รองรับผู้โดยสารได้ 800,000 คน/ปี (300 คน/ชั่วโมง) ลานจอดรถยนต์ สามารถรองรับได้ 180 คัน และในปี 2565 ท่าอากาศยานมีจำนวนเที่ยวบิน 76 เที่ยวบิน ผู้โดยสารรวม 1,785 คน โดยกระทรวงฯ มีแผนการพัฒนาท่าอากาศยานนครราชสีมา ในปี 2567 โดยว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินกิจการให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยาน และคลังสินค้าในสังกัดกรมท่าอากาศยาน และแผนงานก่อสร้างลานกลับลำอากาศยาน ในพื้นที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 1 แห่ง

ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา แล้วเสร็จสมบูรณ์ จะทำให้การเชื่อมต่อด้านคมนาคมขนส่งทุกโหมดการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถรองรับปริมาณการเดินทางและคมนาคมขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งกับภูมิภาคอื่นๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ต้องมีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคประชาชนและภาคเอกชน เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยต้องจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การดำเนินงานต้องคำนึงถึงปัจจัยการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ รวมทั้งเรื่อง Climate Change เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งต้องสร้างความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนก่อนเริ่มดำเนินโครงการ โดยการดำเนินโครงการให้คำนึงถึงอัตลักษณ์ของความเป็นไทย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและท้องถิ่น ควบคุมดูแลการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย และเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของโครงการ และมีมาตรการป้องกันอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างอย่างเคร่งครัด สำหรับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในจังหวัด ต้องคำนึงถึงหลัก สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ราคาเป็นธรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พายุฤดูร้อนถล่ม 31 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง-ลมแรง

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5 ฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง วันนี้ (3 พ.ค.) ได้รับผลกระทบ 31 จังหวัด ในภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง

เศร้ารับวันแรงงาน! โรงงานประกาศปิดกิจการกะทันหัน

พนักงานโรงงานผลิตกระจกเก่าแก่ใน อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการฯ จ.สมุทรปราการ ให้นายจ้างจ่ายชดเชยตามกฎหมาย หลังโรงงานติดประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

รมต.ใหม่ถ่ายภาพทำบัตร ก่อนเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ฯ

ทำเนียบคึกคัก รมต.ใหม่ถ่ายภาพทำบัตร ก่อนเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ ขณะที่นายกฯ ลงมาทักทาย “ครม.เศรษฐา 1/2” เตรียมถ่ายรูปหมู่หน้าตึกไทยฯ ก่อนประชุม ครม.ชุดใหม่ นัดแรก 7 พ.ค.นี้

อดีตตำนานหงส์แดงยินดีช่วยพีอาร์ไทยผ่านฟุตบอล

3 อดีตตำนานหงส์แดง เข้าพบนายกฯ ประทับใจประเทศไทย ยินดีเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ไทยสู่สายตาชาวโลกผ่านกีฬาฟุตบอล

ไฟไหม้โกดังพื้นที่ภาชี คุมเพลิงได้แล้ว 100%

เหตุไฟไหม้โกดังเก็บสารเคมี อ.ภาชี ผู้ว่าฯ อยุธยา ยืนยันคุมเพลิงได้ 100% แล้ว จ่อตรวจสอบชนิดของสารเคมี หาสาเหตุเพลิงไหม้ ด้าน รพ.ภาชี ยังปิดต่อเนื่อง รอให้แน่ใจไฟไม่ปะทุซ้ำ

จับอดีต ผจก.แบงก์-ผู้ใหญ่บ้าน หลอกกู้เงิน เชิดหนีกว่า 40 ล้าน

บุกจับอดีตผู้จัดการแบงก์ และอดีตผู้ใหญ่บ้านแสบ หลอกชาวบ้านกู้เงิน ก่อนเชิดหนีกว่า 40 ล้าน หลังหนีหัวซุกหัวซุนนาน 8 ปี