สมาคมธนาคารไทย ป้องกันติดตั้งแอปฯ ดูดเงิน

กรุงเทพฯ 16 ก.พ.- สมาคมธนาคารไทย ผนึกหน่วยงานรัฐ-เอกชน ยกระดับมาตรการป้องกันภัยหลอกติดตั้งแอปฯ ดูดเงิน หลังสร้างความเสียหาย 500 ล้านบาท แนะวิธีสังเกตไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ


นายยศ กิมสวัสดิ์ ประธานสำนักงานระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพหลอกลวงเอาเงินจากประชาชนแนบเนียนขึ้น และมีเทคนิคหลากหลาย ส่งผลให้มีผู้เสียหายจากการตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก มูลค่าความเสียหายราว 500 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สมาคมธนาคารไทยจึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ยกระดับมาตรการป้องกันภัยจากมิจฉาชีพเพื่อช่วยประชาชน โดยสำนักงาน กสทช.  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ True AIS DTAC และ NT ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียต่างๆ อย่าง LINE ได้ร่วมกันดำเนินการดังนี้

• ตรวจสอบปิดไลน์ปลอมของธนาคาร


• ควบคุมและจัดการ ชื่อผู้ส่ง SMS (SMS Sender) ปลอม

• ปิดกั้น URL ที่เป็นอันตราย

• หารือธนาคารสมาชิกพัฒนาระบบความปลอดภัย แชร์เทคนิคและแนวทางป้องกันภัยร่วมกัน เช่น พัฒนาการป้องกันและควบคุม Mobile Banking Application กรณีมือถือมีการเปิดใช้งาน Accessibility Service เพิ่มระบบการพิสูจน์ตัวตน (Authentication) ด้วย Biometrics Comparison นอกจากนี้ หากร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้ จะช่วยให้การดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพทำได้รวดเร็วขึ้น ระงับความเสียหายได้อย่างทันท่วงที สามารถบล็อกบัญชีต้องสงสัยได้ โดยไม่ต้องรอแจ้งความ


นายชัชวัฒน์ อัศวรักวงศ์ ประธานกรรมการ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) กล่าวเพิ่มเติมว่า การหลอกลวงประชาชนให้ได้รับความเสียหายจากแอปฯ ดูดเงิน ส่วนใหญ่ดำเนินการใน 3  รูปแบบ ดังนี้

1. หลอกล่อด้วยรางวัลและความผิดปกติของบัญชีและภาษี โดย Call Center โทรมาหลอกด้วยสถานการณ์ที่ทำให้กังวล SMS เป็นการใช้ชื่อเหมือนหรือคล้ายหน่วยงานต่างๆ และ Social Media หลอกให้เงินรางวัลและเงินกู้ หรือโน้มน้าวชวนคุยหาคู่ และให้เพิ่ม (Add) บัญชีไลน์ปลอมของมิจฉาชีพ

2. หลอกให้ติดตั้งโปรแกรม หลอกขอข้อมูล และให้ทำตามขั้นตอนเพื่อติดตั้งแอปฯ ปลอม (ไฟล์ติดตั้งนามสกุล .apk) โดยใช้ความสามารถของ Accessibility Service ของระบบปฏิบัติการ Android ที่เมื่อแอปพลิเคชันใด ๆ ได้รับอนุญาตให้ทำงานภายใต้ Accessibility Service แล้ว จะสามารถเข้าถึงและควบคุมการสั่งงานมือถือแทนผู้ใช้งานได้ ฟังก์ชันนี้จึงเป็นกลไกหลักของมิจฉาชีพในการควบคุมมือถือของเหยื่อ 

3. ควบคุมมือถือของเหยื่อและใช้ประโยชน์ ด้วยการใช้แอปฯ ปลอมเชื่อมต่อไปยังเครื่องของมิจฉาชีพ เพื่อเข้าควบคุมและสั่งการมือถือของเหยื่อ เพื่อโอนเงิน และขโมยข้อมูลต่าง ๆ โดยรูปแบบของแอปฯ ดูดเงินที่มิจฉาชีพใช้หลอกประชาชนมี 3 รูปแบบ คือ

1. หลอกให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชันจำพวกรีโมทจาก Play Store เช่น TeamViewer, AnyDesk เป็นต้น จากนั้นมิจฉาชีพจะรีโมทเข้ามาดูและควบคุมมือถือของเหยื่อเพื่อโอนเงินออกทันที (เกิดขึ้นมากในช่วงกลางปี 2565)

2. แอปพลิเคชันอันตราย (.apk) เมื่อติดตั้งแล้วจอมือถือของเหยื่อจะค้าง โจรจะรีโมทมาควบคุมมือถือของเหยื่อ และโอนเงินออกทันที เช่น แอปพลิเคชัน DSI, สรรพากร, Lion-Air, ไทยประกันชีวิต, กระทรวงพาณิชย์ (ยังคงเป็นรูปแบบที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุด)

3. แอปพลิเคชันอันตราย (.apk) ที่ควบคุมมือถือของเหยื่อ รอประชาชนเผลอแล้วค่อยแอบโอนเงินออกภายหลัง เช่น แอปพลิเคชันหาคู่ Bumble, Snapchat  ยังคงเป็นรูปแบบที่มิจฉาชีพใช้หลอกลวง

นายกิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) แนะแนวทางการป้องกันภัยจากมิจฉาชีพว่า มีจุดสังเกตที่ต้องระวัง คือ 

1. มิจฉาชีพจะแนะนำให้เหยื่อ Copy link ไปเปิดใน Chrome Browser เพื่อเข้าเว็บปลอม

2. ขณะทำการติดตั้งแอปพลิเคชันของมิจฉาชีพ มือถือจะขอสิทธิ์ในการติดตั้งแอปฯ ที่ไม่รู้จัก

3. มิจฉาชีพพยายามให้ตั้ง PIN หลายครั้ง หวังให้เหยื่อเผลอตั้ง PIN ซ้ำกับ PIN ที่ใช้เข้า Mobile Banking Application ของธนาคาร

4. หลอกให้เหยื่อเปิดสิทธิ์ การช่วยเหลือพิเศษ (Accessibility) โดยชวนคุยจนไม่ทันอ่านเนื้อหาที่ขึ้นมาเตือน

ทั้งนี้ ควรดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่าน App Store หรือ Play Store เท่านั้น และไม่ควร Add LINE หรือช่องทาง Chat อื่น ๆ คุยกับคนแปลกหน้า

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากแอปฯ ดูดเงิน แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้

1. ตรวจสอบมือถือว่าเปิดแอปพลิเคชันที่ทำงานภายใต้ Accessibility Service หรือไม่ โดยตรวจดูให้แน่ใจว่าเรารู้จักและทราบเหตุผลของการเปิดใช้งานทุกโปรแกรม หากไม่ทราบให้รีบปิด

2. เปิดใช้งาน Google Play Protect เพื่อตรวจสอบการติดตั้งแอปพลิเคชันอันตราย หากเจอให้ Uninstall ทันที 

3. ติดตั้งแอปพลิเคชัน Endpoint Protection หรือ Antivirus บนมือถือเพื่อดักจับ และป้องกันแอปพลิเคชันอันตราย หรือมัลแวร์ต่างๆ

สำหรับผู้ที่หลงกลตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ให้รีบดำเนินการปิดเครื่องทันที ด้วยวิธีกด Force-Reset คือ การกดปุ่ม Power และปุ่มลดเสียง พร้อมกันค้างไว้ 10-20 วินาที แต่ถ้าทำวิธีนี้ไม่สำเร็จ ให้ตัดการเชื่อมต่อของโทรศัพท์ด้วยการถอดซิมการ์ด ปิด Wi-Fi หลังจากนั้น ให้ติดต่อธนาคาร แจ้งความทันที โดยรูปแบบกลโกงของมิจฉาชีพมีหลากหลายและมีวิธีการใหม่ๆ เสมอ ดังนั้น เพื่อให้ปลอดภัยจากกลโกง ประชาชนควรพึงระลึกเสมอถึง 8 พฤติกรรมปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกมิจฉาชีพหลอก ดังนี้

1. อุปกรณ์ปลอดภัย-ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือที่ไม่ปลอดภัยมาทำธุรกรรมทางการเงิน อาทิ เครื่องที่ถูกปลดล็อก (root/jailbreak) หรือใช้เครื่องที่มีระบบปฏิบัติการล้าสมัย และตั้งล็อกหน้าจอ

2. ตัวตนปลอดภัย-ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในสื่อสาธารณะเกินความจำเป็น

3. รหัสปลอดภัย-ตั้งค่ารหัส (Password) ที่ไม่ง่ายเกินไป ไม่ซ้ำกับรหัสการใช้ทั่วไป และไม่บอกผู้อื่น

4. สื่อสารปลอดภัย-ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า และไม่แสดงตัวก่อน หากถูกถามให้ตรวจสอบคู่สนทนาให้แน่ชัด

5. เชื่อมต่อปลอดภัย-ไม่ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสัญญาณ Wi-Fi สาธารณะ หรือฟรี

6. ดาวน์โหลดหรือติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ได้รับรองโดยผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ (Official Store) เช่น Play Store หรือ App Store เท่านั้น โดยไม่คลิกจากลิงก์ และตรวจเช็กการอนุญาต หรือ Permission ของแอปพลิเคชัน และสังเกตการขออนุญาตเข้าใช้งานอุปกรณ์หรือข้อมูลที่ไม่สัมพันธ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้งานและกับประเภทการทำงานของแอปพลิเคชัน

7. มีสติรอบคอบก่อนการทำธุรกรรมทุกครั้ง อ่านข้อความที่ขึ้นเตือนบนเครื่องโทรศัพท์มือถือให้ถี่ถ้วน ไม่คลิกลิงก์จาก SMS, Chat หรืออีเมลที่ถูกส่งมาจากแหล่งที่ไม่รู้จักหรือไม่น่าเชื่อถือ

8. ศึกษาและติดตามข่าวสารการใช้งานเทคโนโลยีเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยหมั่นตรวจเช็กการตั้งค่า ไม่ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (Install Unknown Apps) และใช้งาน Antivirus Software

ติดตามข่าวสาร โดยสามารถศึกษาข้อมูลและแนวทางป้องกันกลโกงมิจฉาชีพได้ที่  Facebook: TB-CERT.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ไฟไหม้รถยนต์ อดีต สส.ศิริโชค วอดทั้งคัน

สงขลา 5 ก.ค.-“ศิริโชค” อดีต สส.ปชป. เผยเหตุระทึก รถยนต์ PHEV ไฟลุกไหม้วอดทั้งคันกลางดึก ทั้งที่ไม่ได้ชาร์จ ภาพคลิปเหตุการณ์ไฟไหม้รถยนต์ส่วนตัวของนายศิริโชค โสภา อดีต สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจอดอยู่บริเวณบ้านพักที่ อ.นาทวี จ.สงขลา ช่วงตี 3 เมื่อเช้ามืดที่ผ่านมา (5 ก.ค.68) โดยเพจเฟซบุ๊ก “ศิริโชค โสภา” ได้โพสต์คลิปเหตุการณ์ พร้อมระบุข้อความว่า “อุทาหรณ์สยอง! ผมตื่นมากับเปลวเพลิงกลางดึก-ไฟลุกท่วมรถ PHEV ทั้งคัน ทั้งที่ไม่ได้ชาร์จ! เช้ามืดวันนี้ ผมสะดุ้งตื่นขึ้นมาพร้อมเสียง “ปะทุ” ดังสนั่นกลางความเงียบของตีสาม…เมื่อรีบวิ่งออกมาดู สิ่งที่ผมเห็นคือเปลวไฟสีส้มแดงกำลังลุกโชนอย่างบ้าคลั่งจากรถยนต์ PHEV ที่จอดนิ่งหน้าบ้าน ตอนนั้นผมไม่ได้เสียบชาร์จไว้ด้วยซ้ำ-จอดไว้เฉยๆ แต่จู่ๆ ไฟกลับลุกขึ้นมาเอง โดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าแม้แต่นิดเดียว รถดับเพลิงต้องใช้เวลาหลายนาทีกว่าจะควบคุมเพลิงได้ และเมื่อไฟดับลง… สิ่งที่เหลืออยู่คือซากรถที่ไหม้เกรียมทั้งคันนี่ไม่ใช่แค่ความเสียหาย แต่คือคำเตือนที่น่ากลัวสำหรับผู้ใช้รถ EV และ PHEVแม้ไม่ได้ชาร์จ แม้จอดนิ่ง แบตเตอรี่ก็ยังมีโอกาสลุกไหม้ได้เองโดยไม่ทันตั้งตัว ไฟฟ้าเงียบ-แต่มันเผาผลาญทุกอย่างได้ในพริบตา ต่อมาผู้สื่อข่าวได้ […]

ตาขับรถทับศีรษะหลานวัย 1 ขวบ ดับสลด

สุราษฎร์ธานี 5 ก.ค. – สุดสลด ตาขับรถกระบะไม่ทันดู เหยียบศีรษะหลานสาว วัย 1 ขวบ 5 เดือนเสียชีวิตคาที่ ตายายร้องไห้แทบขาดใจ สุดสลด ตาขับรถกระบะไม่ทันดู เหยียบศีรษะหลานสาว วัย 1 ขวบ 5 เดือนเสียชีวิตคาที่ หลังจากที่ตากลับจากซื้อของที่ตลาด เมื่อมาถึงบ้านซึ่งเปิดเป็นร้านขายของชำในอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ขนของลงจากรถเสร็จ ระหว่างจะนำรถไปจอดไม่ทันสังเกตว่าหลานวิ่งอ้อมรถมา รู้อีกทีล้อรถหน้าด้านคนขับเหยียบเข้าที่ศีรษะของหลานแล้ว ทำให้หลานเสียชีวิตทันที เมื่อเห็นร่างหลาน ตาและยายร้องไห้แทบขาดใจ เพราะเลี้ยงหลานคนนี้มาตั้งแต่เล็กๆ ก่อนนำร่างส่งชันสูตรที่โรงพยาบาลพระแสงต่อไป.- สำนักข่าวไทย

อ.อ๊อด ชี้เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ กรณีรถยนต์ไฟฟ้า อดีตสส.สงขลา ไฟไหม้

นครปฐม 5 ก.ค. – อาจารย์อ๊อด นักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ แสดงความคิดเห็นว่า กรณีรถยนต์ไฟฟ้าของนายศิริโชค โสภา อดีต สส.สงขลา เกิดไฟไหม้ ถือเป็นเหตุการณ์ไม่ปกติ และแบตเตอรี่อาจจะมีปัญหา จากกรณีเพจเฟซบุ๊ก Sirichok Sopha หรือ นายศิริโชค โสภา อดีต สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ แชร์ประสบการณ์ โดยระบุข้อความว่า “เช้ามืดวันนี้ ผมสะดุ้งตื่นขึ้นมาพร้อมเสียง “ปะทุ” ดังสนั่นกลางความเงียบของตีสาม…เมื่อรีบวิ่งออกมาดู สิ่งที่ผมเห็นคือเปลวไฟสีส้มแดงกำลังลุกโชนอย่างบ้าคลั่งจากรถยนต์ PHEV ที่จอดนิ่งหน้าบ้าน รถคันนี้ซื้อจากศูนย์หาดใหญ่เมื่อ 2 ปีก่อน ผมใช้งานตามปกติ และที่สำคัญคือ ตอนนั้นผมไม่ได้เสียบชาร์จไว้ด้วยซ้ำ-จอดไว้เฉยๆแต่จู่ๆ ไฟกลับลุกขึ้นมาเอง โดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าแม้แต่นิดเดียวรถดับเพลิงต้องใช้เวลาหลายนาทีกว่าจะควบคุมเพลิงได้ และเมื่อไฟดับลง… สิ่งที่เหลืออยู่คือ ซากรถที่ไหม้เกรียมทั้งคันนี่ไม่ใช่แค่ความเสียหาย แต่คือคำเตือนที่น่ากลัวสำหรับผู้ใช้รถ EV และ PHEVแม้ไม่ได้ชาร์จ แม้จอดนิ่ง แบตเตอรี่ก็ยังมีโอกาสลุกไหม้ได้เองโดยไม่ทันตั้งตัวไฟฟ้าเงียบ-แต่มันเผาผลาญทุกอย่างได้ในพริบตา” รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด นักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม […]

สพฐ. จัดทีมนิติกรช่วยครูการเงิน

กทม. 5 ก.ค.-สพฐ. จัดทีมนิติกรช่วยครูการเงิน กรณีถูกชี้มูลร่วมลงชื่อเบิกจ่ายค่าอาหารกลางวัน วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า ตามที่มีรายงานข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กรณีข้าราชการครูผู้รับผิดชอบงานการเงินของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ได้ร้องขอความเป็นธรรมภายหลังถูกชี้มูลความผิดร่วมกับอดีตผู้อำนวยการโรงเรียน จากการลงนามในเอกสารเบิกจ่ายค่าอาหารกลางวัน โดยยืนยันว่าไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัด และยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีคำสั่งลงโทษทางวินัยออกโดยเขตพื้นที่ฯ แต่อย่างใด สำหรับการดำเนินการในขั้นต่อไป สพฐ. ได้จัดเตรียมนิติกรจากส่วนกลาง เพื่อสนับสนุนการให้คำปรึกษาทางกฎหมายและการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ครูสามารถใช้สิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติ ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 ได้อย่างเต็มที่ เลขาธิการ กพฐ. ระบุว่า กรณีนี้สะท้อนถึงความจำเป็นที่ต้องทบทวนบทบาทภาระงานของครูในภารกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะงานด้านการเงินและพัสดุ ซึ่งมีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงเชิงกฎหมายสูง สพฐ. จึงอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบสนับสนุนภายในโรงเรียน เพื่อให้โครงสร้างงานสนับสนุนมีความเหมาะสมกับวิชาชีพครูมากยิ่งขึ้น “ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตจะไม่ต้องเผชิญกระบวนการตามลำพัง สพฐ. พร้อมอยู่เคียงข้างและสนับสนุนในทุกขั้นตอน เพื่อให้สามารถใช้สิทธิและเข้าถึงความเป็นธรรมได้อย่างมั่นใจครับ” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว.-416.-สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

รวบแล้วมือเผารถ “ศิริโชค” ญาติเผยจิตไม่ปกติ

6 ก.ค. – จับได้แล้ว มือวางเพลิงรถยนต์ “ศิริโชค” ตำรวจเค้นสอบ ยอมรับก่อเหตุจริง ญาติเผยจิตไม่ปกติ พูดคนเดียวมาหลายเดือน ด้าน “ศิริโชค” ไม่เชื่อลงมือเองจากอาการทางจิต น่าจะมีคนสั่งการอยู่เบื้องหลัง กล้องวงจรปิดจับภาพนายเบียร์ อายุ 29 ปี ขี่รถจักรยานยนต์เข้ามาในซอยบ้านพักของนายศิริโชค โสภา อดีต สส.เขต 7 สงขลา 4 สมัย พรรคประชาธิปัตย์ ช่วงตี 3 คืนวานนี้ (5 ก.ค.) ต.ฉาง อ.นาทวี จ.สงขลา และไปคุยกับคนเฝ้าบ้านนายศิริโชค ที่ประตูหน้าบ้าน ก่อนขี่รถออกไป จากนั้นช่วงเวลา 03.45 น. นายเบียร์ขี่รถย้อนกลับเข้าไปในซอยบ้านของนายศิริโชคอีกครั้ง ก่อนจะมีข่าวรถยนต์ GWM HAVAL H6 PHEV หรือปลั๊กอิน-ไฮบริด กึ่งไฟฟ้ากึ่งน้ำมัน เกิดเพลิงไหม้เสียหายหมดทั้งคัน ซึ่งขณะนั้น ยังไม่มั่นใจว่าเกิดจาะระบบรถยนต์ขัดข้อง หรือสาเหตุอย่างอื่น จนเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นที่แน่ชัดว่า นายเบียร์เป็นคนก่อเหตุวางเพลิงรถยนต์ของนายศิริโชค […]

“โรม” ควง “เท้ง” ลงพื้นที่สระแก้ว ดูชายแดนไทย-กัมพูชา

สระแก้ว 6 ก.ค. – “โรม” ควง “เท้ง” ลงพื้นที่สระแก้ว ดูชายแดนไทย-กัมพูชา “สอบสวนกลาง-ดีเอสไอ-หน่วยงานปกครอง” ลงด้วยเพียบ สงสัยฝั่งตรงข้ามเป็นฐานสแกมเมอร์-คอลเซ็นเตอร์ หรือไม่ แย้มมีข้อมูลทุนใหญ่เป็นหลังบ้านผู้มีอำนาจกัมพูชา เจอแน่ปิดห้องคุยพรุ่งนี้ แนะสร้างเสาเซ็นเซอร์ตรวจจับชายแดน หมาแมวตรวจได้หมด หากลักลอบเข้า ด้าน “ชุติพงศ์” โวย เขมรไม่ทำรั้ว-รับผิดชอบ ปล่อยผ่านคนลักลอบเข้าออก นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร​ ลงพื้นที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว​ ร่วมกับคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ​ สภาผู้แทนราษฎร​ เพื่อดูการแก้ไขปัญหาความมั่นคงและการบริหารกิจการชายแดนไทย-กัมพูชา​ โดยมีหน่วยงานความมั่นคง​ นายอำเภอ​ กรมการปกครอง รวมถึงเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ลงพื้นที่ด้วย จุดแรกมาที่บริเวณด้านหลังห้างสรรพสินค้า​อรัญประเทศ​ โดย พ.อ.เมธี คำเต็ม ผู้บังคับการชุดควบคุมกรมทหารพรานที่ 12 กองกำลังบูรพา รายงาน​ว่า​ จุดนี้​เป็นพื้นที่​ที่การข่าวแจ้งว่า​ใช้เป็นช่องทางลักลอบข้ามไปฝั่งกัมพูชา​ เป้าหมายไปทำงานหรือเล่นการพนัน​ ปัจจุบันได้ซีลพื้นที่ตรงนี้แล้ว แต่ก็มีการลักลอบเข้าออกตลอด แม้จะมีสถานการณ์ไทย-กัมพูชา […]

“บิ๊กเต่า” ขอเวลาตรวจสอบให้ชัด คลี่ปมพัวพันสีกา ก.

6 ก.ค.- “บิ๊กเต่า” เผยคำให้การสีกา ก. เป็นประโยชน์ อาจโยงไปถึงการทุจริต แต่ขอเวลาตรวจสอบให้ชัด เตรียมประชุมคณะทำงานสัปดาห์หน้า เรียกผู้เกี่ยวข้องสอบเพิ่มเติม ยืนยันหากพบใครเอี่ยวพร้อมดำเนินคดี 12.00 น. พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เปิดเผยถึงกรณีการเรียกตัวสีกาอักษรย่อ ก. มาสอบปากคำ ว่า หลังจากนำตัวสีกา ก. มาสอบ ก็ได้ข้อมูลในแนวทางที่ดีและมีประโยชน์ อาจนำไปสู่เรื่องที่อาจเอี่ยวกับการทุจริต แต่ก็จะต้องมีการตรวจสอบให้ละเอียด เพราะทุกอย่างต้องชัดเจน เนื่องจากคำให้การอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีหลักฐานอื่นประกอบด้วย จากคำให้การของสีกา ก. ว่า มีการเล่นพนันออนไลน์ แล้วเงินที่ใช้เล่นเป็นเงินส่วนไหน พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ตอบว่า “ตอนนี้ยังไม่สามารถบอกได้ แต่เขามีการเล่นพนันจริง” ตอนนี้มีการตั้งคณะทำงานตรวจสอบเรื่องนี้แล้ว โดยมี ปปป. เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ เนื่องจากเรื่องนี้เกี่ยวพันหลายพื้นที่ ส่วนเรื่องบัญชีวัด ทางบก.ปปป. ก็มีอำนาจสามารถตรวจสอบได้เลย ประมาณวันจันทร์-อังคารที่จะถึงนี้ จะมีการประชุมถึงเรื่องนี้อีกครั้ง ผู้สื่อข่าวถามว่า สีกา ก. เคยทำให้พระสึกมาแล้วถึง 2 รูป จริงหรือไม่ […]

รวบ “สังข์” ผู้ต้องหาแหกห้องขัง สภ.เมืองสกลนคร

6 ก.ค.- ตำรวจบุกรวบ “สังข์” ผู้ต้องหาคดีอาวุธปืนและยาเสพติด หลังก่อเหตุแหกห้องขัง สภ.เมืองสกลนคร จนมุมบนขบวนรถไฟ ขณะเตรียมหลบหนีเข้ากรุงเทพฯ ตำรวจสอบสวนกลาง หรือ CIB จับกุมนายเกียรติศักดิ์ หรือ สังข์ อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาคดีอาวุธปืนและยาเสพติด ได้บนขบวนรถไฟ ขณะเตรียมหลบหนีเข้ากรุงเทพฯ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวมาลงบันทึกการจับกุมที่ สน.เตาปูน และอยู่ระหว่างการควบคุมตัวกลับมาดำเนินคดีที่ สภ.เมืองสกลนคร นายเกียรติศักดิ์ ก่อเหตุหลบหนีจากห้องควบคุม สภ.เมืองสกลนคร เมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 13 มิถุนายน เจ้าหน้าที่พบเบาะแสหลบซ่อนตัวบนเทือกเขาภูพาน ขณะเดียวกันโซเชียลพากันแชร์ภาพนายเกียรติศักดิ์ พบว่า เป็นบุคคลอันตรายที่อาจมีอาวุธ หากใครพบเห็นห้ามเข้าใกล้ ทั้งนี้ สภ.เมืองสกลนคร ได้ปูพรมค้นหาตามล่าตัวและตั้งรางวัลนำจับ เป็นเงิน 3 หมื่นบาทให้กับผู้แจ้งเบาะแส .-สำนักข่าวไทย