กทท.เผยการดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3

กรุงเทพฯ 23 ก.ย.-การท่าเรือแห่งประเทศไทย ระบุ การดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ในวงเงิน21,230 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ได้ส่งมอบงานก่อสร้างงานทางทะเลในส่วนของงานพื้นที่ถมทะเล 1 (Key Date 1) เรียบร้อยแล้ว 


นายเกรียงไกร  ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โดยได้จ้างเหมากิจการร่วมค้าซีเอ็นเอ็นซีเป็นผู้ดำเนินโครงการฯ ในวงเงิน 21,230 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ได้ส่งมอบงานก่อสร้างงานทางทะเลในส่วนของงานพื้นที่ถมทะเล 1 (Key Date 1) เรียบร้อยแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินงานพื้นที่ถมทะเล 2 (Key Date 2) ได้แก่ การขนย้ายดินเลน การถมทราย ฯลฯ คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้ กทท. ได้ภายในสิ้นปี 2565 

นอกจากนี้ กิจการร่วมค้าซีเอ็นเอ็นซีมีแผนที่จะเพิ่มเรือขุดลอกอีก 2 ลำ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการขุดมากกว่าเดิม อีกทั้งเร่งรัดก่อสร้างท่าเรือชั่วคราวเพื่อนำหินไปก่อสร้างคันหินล้อมพื้นที่ท่าเทียบเรือ E0 ท่าเทียบเรือ F ท่าเรือบริการ และท่าเรือชายฝั่งของโครงการ ปัจจุบันหลักผูกจอดเรือชั่วคราว จุดที่ 1 และ 2 พร้อมใช้งานแล้ว ส่วนหลักผูกจอดเรือชั่วคราวจุดที่ 3 และ 4 จะพร้อมใช้งานภายในเดือนกันยายน 2565 สำหรับพื้นที่ถมทะเล 3 (Key Date 3) และการส่งมอบพื้นที่ท่าเทียบเรือ F 1,000 เมตร ให้บริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด เอกชนคู่สัญญา สามารถส่งมอบได้ตามสัญญาฯ ภายในกลางปี 2566 และส่งมอบพื้นที่ครบ 2,000 เมตร ประมาณพฤษภาคม 2568 สำหรับส่วนที่ 2 งานจ้างเหมาก่อสร้างโครงการฯ ได้แก่ งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภค มีวงเงินประมาณ 7,000 ล้านบาท กทท. จะเร่งรัดการดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามแผนงาน นอกจากนี้ ในส่วนงานที่ 3 และ 4 กล่าวคือ งานก่อสร้างระบบรถไฟ และงานติดตั้งเครื่องจักและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังอยู่ระหว่างการประกาศประกวดราคา 


โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2565 นี้ ก่อนส่งมอบพื้นที่ให้บริษัท จีพีซี ฯ เริ่มบริหารจัดการ ทลฉ. ระยะที่ 3 ภายในปี 2568 โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญตามแผนพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor เพื่อสนองตอบนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและระบบโลจิกติกส์ของประเทศให้ได้มาตรฐานในระดับสากล มูลค่าการลงทุนรวม1.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็น กทท. ลงทุน 50,000 ล้านบาท ขณะที่เอกชนลงทุน 60,000 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้า ประกอบด้วยท่าเทียบเรือตู้สินค้า จำนวน 4 ท่าสามารถรองรับตู้สินค้าได้ไม่ต่ำกว่า 7 ล้าน ที.อี.ยู. ต่อปี ท่าเทียบเรือรถยนต์ (RO/RO) 1 ท่า รองรับรถยนต์ได้ 1 ล้านคันต่อปี ท่าเทียบเรือบริการ และท่าเทียบเรือชายฝั่ง อย่างละ 1 ท่า ซึ่งจะทำให้ ทลฉ. ขีดสามารถรองรับความจุตู้สินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 18 ล้าน ที.อี.ยู. ต่อปี จากปัจจุบันอยู่ที่ 11 ล้าน ที.อี.ยู. ต่อปี นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมหรือเป็นท่าเรือสีเขียว (Green Port)   ในเวลาเดียวกัน .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

เขากระโดง

“อนุทิน” ยัน เพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง

“อนุทิน” ย้ำพรรคร่วมรัฐบาลมีเป้าหมายเหมือนกัน ทำประโยชน์ให้ประชาชน-ประเทศ หลัง “ทักษิณ” ชมพรรคร่วมสามัคคีกันดี ยันเพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาดคะเน ชี้ไม่มีเหตุผลต้องปกป้องผลประโยชน์ใคร โอดกว่าจะนั่งคุม มท. แทบตาย ไม่ให้ใครมาด่าสาดเสียเทเสีย

สนามบินสุวรรณภูมิ

ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” 1 ใน 6 สนามบินสวยสุดในโลก

“สุริยะ” รมว.คมนาคม ปลื้ม ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ติดอันดับ 1 ใน 6 สนามบินสวยที่สุดในโลก ประจำปี 2567 ด้าน “อาคาร SAT-1” สุดปัง! หลังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสนามบินที่มีสถาปัตยกรรมสวยที่สุดของโลก โชว์ความโดดเด่นด้านความงาม-ความคิดสร้างสรรค์ ชูอัตลักษณ์ความเป็นไทย จ่อประกาศผล 2 ธ.ค.นี้

รฟท. คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินทับซ้อนเขากระโดง

การรถไฟฯ ลุยยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ที่ดินทับซ้อนเขากระโดง ย้ำปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โปร่งใสและเป็นธรรม