ยูเอ็นอาจจัดประชุมหารือโควิดก่อนสิ้นปี

องค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นเผยว่า เจ้าหน้าที่สหประชาชาติต่างคาดหวังให้จัดการประชุมสมัชชาใหญ่แบบรายคนในนครนิวยอร์กของสหรัฐ เพื่อหารือเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ก่อนสิ้นปีนี้

นายกฯหารือนักเศรษฐศาสตร์ แนวทางขับเคลื่อนประเทศ

นายกรัฐมนตรีโพสต์เฟชบุ๊ก หารือนักเศรษฐศาสตร์ จากองค์กรวิจัยอิสระ มหาวิทยาลัยและสถาบันการเงิน แลกเปลี่ยนความเห็นแนวทางการขับเคลื่อนประเทศ มาตรการและสถานการณ์ที่ต้องเตรียมรับมือในอนาคต

“ชาติชาย” ปัดถูกทาบนั่ง รมว.คลัง

“ชาติชาย” ปฏิเสธนายกฯ ทาบนั่ง รมว.คลัง คาดผู้ใหญ่ชงชื่อ หลังเห็นผลงานผลักดันนโยบายฐานรากสำเร็จ พร้อมแบะท่าตอบรับ เผยมีประสบการณ์ตรง

ชาวบ้านริธึ่ม สุขุมวิท 50 โวยโรงแรมดังสร้างตึกสูงกระทบ

ชาวบ้านริธึ่ม สุขุมวิท 50 บุกสภาฯ ร้องส.ส.กรุงเทพฯ พรรคพลังประชารัฐ โวยโรงแรมดังสร้างตึกสูงกระทบ ทำ EIA เท็จ ร้อง ส.ส.ช่วยเหลือ

ทำเนียบฯ ถกรับมือม็อบ 19 ก.ย.

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ประชุมร่วมกับ ตำรวจสันติบาล ตำรวจจราจร เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ผู้แทนกรุงเทพมหานคร เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการชุมนุม 19 ก.ย.

ซีเมนส์ชี้3เทคโนโลยีพื้นฐานที่เมืองอัจฉริยะต้องมี

กรุงเทพฯ 16 ก.ย. ซีเมนส์ชี้ปัจจัย 3 เป็นเมืองอัจฉริยะ สมาร์ทกริด อาคารอัจฉริยะ ระบบไอซีที  นางสุวรรณี สิงห์ฤาเดชประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอ ซีเมนส์ ประเทศไทย กล่าวว่า สหประชาชาติประมาณการว่า ภายในปี 2050 จะมีจำนวนประชากรบนโลกเพิ่มขึ้นอีก 2 พันล้านคน ส่งผลให้เมืองขนาดใหญ่แบบมหานคร Mega Urban City มีจำนวนมากขึ้นในอีก 15 ปีข้างหน้า และ จากสถิติเฉลี่ยในปัจจุบัน มีผู้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ราวร้อยละ55 ขณะที่ร้อยละ 45 อาศัยอยู่นอกเขตเมืองโดยในอีก 30 ปีข้างหน้า คาดว่าสัดส่วนผู้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่จะเพิ่มเป็นร้อยละ 68 สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันมีอัตราการอยู่อาศัยในเมืองใหญ่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 นอกเหนือจากเมืองขนาดใหญ่แบบมหานครมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นด้านสภาพภูมิอากาศ หรือ โรคระบาดร้ายแรง ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลให้การพัฒนาเมืองใหญ่ และการเตรียมการในด้านต่าง ๆ เพื่อรับมือต่อสถานการณ์ดังกล่าวกลายเป็นภารกิจสำคัญ อาทิ การบริหารสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัย การบริการทางสังคม บริการด้านสาธารณสุข หรือแม้แต่การศึกษา ซึ่งความท้าทายเหล่านี้ ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่  ในขณะที่เทรนด์การเติบโตของมหานครและดิจิทัลไลเซชั่นได้พัฒนามาจนเกิดเป็นมิติใหม่สำหรับคนเมือง ดังนั้น “เมืองอัจฉริยะ” จึงนับเป็นหนึ่งในคำตอบที่จะเข้ามาช่วยบริหาร เมืองอัจฉริยะจะต้องมีเทคโนโลยีสำคัญ 3 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย สมาร์ทกริด (Smart Grid) หรือโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ คือ โครงข่ายไฟฟ้าที่นำเทคโนโลยีหลายประเภทเข้ามาทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบเซ็นเซอร์และการควบคุมอัตโนมัติเพื่อให้ระบบไฟฟ้ากำลังสามารถรับรู้ข้อมูลสถานะในระบบได้แบบ real time รวมถึงระบบสารสนเทศ ระบบเก็บข้อมูล และระบบการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้โครงข่ายไฟฟ้าสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น มีความสามารถมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ มีความยั่งยืนปลอดภัยและที่สำคัญคือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะจะต้องครอบคลุมระบบไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งรวมถึงตั้งแต่ระบบการผลิต ระบบส่ง ระบบจำหน่าย จนถึงระบบของผู้ใช้ไฟฟ้า อาคารอัจฉริยะ ภายในปี 2050 ประชากรโลกกว่าร้อยละ 70 พำนักอาศัยอยู่ภายในอาคาร และจะยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นในอนาคต ซึ่งหมายความว่า ความคาดหวังของผู้อยู่อาศัยจะสูงขึ้นตามไปด้วย อาคารต้องเป็นมากกว่าโครงสร้างผนังและหลังคา สามารถมอบความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ผู้อยู่อาศัยได้มากขึ้น ดังนั้น อาคารจะต้องมีระบบอัจฉริยะที่ทำให้อาคารสามารถตอบสนองต่อความต้องการผู้อยู่อาศัยได้ สามารถเรียนรู้ และ ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และที่สำคัญคือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สุดท้ายคือ ระบบไอซีทีอัจฉริยะ (Smart ICT – Smart Information and Communication Technology) ปีนี้อุปกรณ์มากกว่า 5 หมื่นล้านชิ้นจะสามารถเชื่อมต่อกันได้ และ 1 ใน 5 ของอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกใช้อยู่ภายในอาคาร นั่นหมายความว่า ข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาลจะถูกสร้างขึ้น หัวใจสำคัญคือเราจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้และวิเคราะห์ได้อย่างไร จึงจะทำให้เมืองมีความยืดหยุ่นในการบริหาร ในขณะเดียวกัน  ยังสามารถตอบสนองความต้องการในระดับชุมชนและระดับบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เมืองอัจฉริยะจะเกิดขึ้นได้ เมื่อทั้งสามส่วนนี้ทำงานผสานกัน นางสุวรรณี กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับประเทศไทย นโยบายการผลักดันเมืองอัจฉริยะของรัฐบาลเป็นทิศทางที่ถูกต้องในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ใหญ่เกินกว่าจะเป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ภาครัฐบาลมีบทบาทในการสนับสนุนเรื่องกฎหมายและการลงทุน ส่วนภาคเอกชนสามารถช่วยในเรื่อง Know-how เทคโนโลยี เพื่อนำมาช่วยในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพทางพลังงานและการลดการเกิด CO2 ดังนั้นทุกฝ่ายจำเป็นต้องทำงานประสานกัน เพื่อนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาปรับใช้  ในการรวบรวม วิเคราะห์ แยกแยะข้อมูลอย่างเหมาะสมอันนำไปสู่ความเข้าใจ วางแผน ปรับปรุง สร้างสรรค์ร่วมกัน ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย เมืองอัจฉริยะสามารถเกิดขึ้นได้จริงแน่นอนในประเทศไทย-สำนักข่าวไทย.

ชู วว. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและเทคโนโลยี

วว. 16 ก.ย.63 – เอนก มั่นใจงานวิจัย วว. ช่วยขับเคลื่อน BCG พัฒนาภาคอุสาหกรรมและธุรกิจ ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมคุณภาพ เสริมมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ ศ.ดร.เอนก  เหล่าธรรมทัศน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. ตรวจเยี่ยมสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. โดยมี ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต  ผู้ว่าการ วว. คณะผู้บริหารและบุคลากร ร่วมให้การต้อนรับและรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน ณ วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี พร้อมเยี่ยมชมผลการดำเนินงานตามนโยบาย BCG เช่น งานทดสอบระบบมาตรฐานทางราง  งานวิจัยที่ตอบโจทย์และเสริมศักยภาพเกษตรกร  นวัตกรรมยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ผู้ประกอบการทุกระดับ ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ฐานข้อมูลจุลินทรีย์และการนำไปใช้ประโยชน์ โดย วว. มีความพร้อมของศูนย์จุลินทรีย์ ที่เก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอาหาร ยา เกษตร และสิ่งแวดล้อมแบบนอกถิ่นกำเนิด  โดยวิจัยใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ในระดับชุมชน และอุตสาหกรรม เสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ  วว. ได้ตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM) วิจัยพัฒนาเพื่อนำเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม โดยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ครบวงจร สามารถผลิตจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำหรับนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม ช่วยลดการนำเข้าจุลินทรีย์จากต่างประเทศได้กว่า 300 ล้านบาทต่อปี วว. ยังมีห้องปฏิบัติการทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพของวัสดุ   (BioD) เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์ระดับสากลทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มโอกาสทางการค้าของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยด้านเห็ดเพื่อชุมชน ,ลำตะคองโมเดล เมืองน่าอยู่ และฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ,บรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายผลไม้สดออนไลน์ ,เซรามิก ยางพารา และบล็อกประสาน ,ไม้ดอก ไม้ประดับและนวัตกรรมจัดการขยะชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นำร่อง อบต.ตาลเดี่ยว อ.แก่งคอย จ.สระบุรีลดขยะชุมชนได้เกือบ 100% นำขยะพลาสติกมาใช้แปรรูป รีไซเคิล และเป็นพลังงานเชื้อเพลิงคุณภาพสูง จัดการปัญหาขยะชุมชนอย่างยั่งยืน ศ.ดร.เอนก  เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า หลังจากได้เยี่ยมชม ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM)  และศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของประเทศด้านการทดสอบรับรองคุณภาพระบบขนส่ง ด้านระบบขนส่งที่ครอบคลุมทั้งด้านระบบรางและส่วนเชื่อมต่อกับการขนส่ง เป็นงานนวัตกรรมที่สามารถสนับสนุนด้านความปลอดภัยในการใช้งานระบบขนส่งทางรางและเสริมขีดความสามารถผู้ประกอบการในการทดแทนการนำเข้าชิ้นส่วนระบบราง ยังเป็นการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบราง รวมถึงให้การฝึกอบรมและส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในส่วนวิศวกรรมระบบรางให้มีทักษะที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งเห็นว่า วว. เป็นอีกหน่วยงานสำคัญที่ใช้ความสามารถด้านวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ยกระดับเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ฐานราก ถึงภาคอุตสาหกรรม ให้เติบโตก้าวหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับดึงศักยภาพของชุมชนที่มีความหลากลหายทางชีวภาพ ให้พัฒนาความสามารถตรงตามนโยบายBCG ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วยเช่นกัน .-สำนักข่าวไทย

โควิด-19 ในอินเดียทะลุ 5 ล้านคนแล้ว

กระทรวงสาธารณสุขอินเดียแจ้งว่า ยอดผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 สะสมเกิน 5 ล้านคนแล้วในวันนี้ เพราะอัตราผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา

จำคุก”กานต์ วิภากร”5ปีปรับ2.5แสนโพสต์หมิ่น”อีฟ แม็กซิม”

ศาลสั่งจำคุก 5 ปี ปรับ 250.,000 บาท ”วิภากร ศุขพิมาย”ภรรยาเสก โลโซ หลัง “อีฟ แม็กซิม” ฟ้องหมิ่นประมาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา 2ปี

เมียนมาป่วยโควิด 3,636 คน ตาย 39 คน

กระทรวงสาธารณสุขและกีฬาเมียนมาแจ้งว่า จนถึงเช้าวันนี้มีผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เพิ่มขึ้น 134 คน รวมเป็น 3,636 คน และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 4 คน รวมเป็น 39 คนแล้ว

ผบ.ตร.ร่วมพิธีอำลาหน่วย”ตชด.”ค่ายนเรศวร

ผบ.ตร.เข้าพิธีอำลาหน่วย ตชด.ที่ค่ายนเรศวร จ.เพชรบุรี ก่อนเกษียนอายุราชการอีกไม่กี่วันข้างหน้า พร้อมกล่าวขอบคุณ จนท.ทุกนายที่เสียสละปฏับัติหน้าที่ด้วยดีตลอดมา

ศาลปกครองสั่งกทม.ระงับเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

ศาลปกครองสั่ง กทม.ระงับเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อก่อสร้างถนนเลียบคลองประปาฝั่งตะวันออก เชื่อมระหว่าง ถ.แจ้งวัฒนะ-ถ.สรงประภา ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเวนคืนฉบับใหม่ ไม่ใช้วิธีปรองดองตกลงซื้อขายตามมติ ครม. 9 ต.ค.2500

1 263 264 265 266 267 440