เตรียมเผยชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในวันนี้
คณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบลเตรียมประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปีนี้ในวันนี้
คณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบลเตรียมประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปีนี้ในวันนี้
กรุงโตเกียวของญี่ปุ่นยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่กว่า 200 คน
กรุงเทพฯ9 ต.ค. ที่ประชุม รมว.ดิจิทัลอาเซียนยึด4แนวทางรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวภายหลังร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 5 ว่าการประชุมมีรัฐมนตรีผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานที่ดูแลความมั่นคงปลอดภัยทางสารสนเทศจากอาเซียน 10 ประเทศ และเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วม รวมทั้งประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ สหภาพยุโรปองค์การสหประชาชาติ โดยที่ประชุมได้หารือถึงการต่อยอดผลการศึกษาจากการประชุม AMCC ครั้งที่ 4 เมื่อปี 2562 โดยได้ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาคให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ และเน้นย้ำถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศซึ่งเป็นฐานรากสำคัญต่อการรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์ รวมทั้ง การยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในอาเซียน นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า เราได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานด้านการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII Protection) ของไทย โดยเน้นย้ำถึงการศึกษาเรื่อง ASEAN CII Protection Framework ที่จะสามารถสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งและความเชื่อมั่นในภูมิภาคได้ โดยเฉพาะการตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคในปัจจุบัน นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯยังได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงอย่างสั้นเพื่อผลักดันให้เกิดการส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในความปกติใหม่ โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรบุคคลผ่านการต่อยอดและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ของภูมิภาคอาเซียน เช่น ศูนย์ ASEAN – Japan Cybersecurity Capacity Building Centre (AJCCBC) กับศูนย์ASEAN – Singapore Cybersecurity Centre of Excellence (ASCCE) เพื่อรองรับความต้องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภูมิภาคการประชุมดังกล่าวได้รับความสนใจและประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ที่ประชุมฯ ได้ให้ความสำคัญในหลัก “4P” ในการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือ “Principle” ความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามบรรทัดฐานของรัฐบนโลกไซเบอร์ เพื่อให้การใช้พื้นที่ บนโลกไซเบอร์เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย “Practice” การแปลงนโยบาย/หลักการสู่การปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรม “Process”กระบวนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนการปฏิบัติตามบรรทัดฐาน ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ผ่านการเสริมสร้างความร่วมมือทั้งในระดับพหุภาคีและระดับภูมิภาค “People Partnership and Pandemic” การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและเตรียมความพร้อมต่อการปฏิบัติตามบรรทัดฐานขององค์การระหว่างประเทศโดยการศึกษา ปรับปรุงกฎหมายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้สอดคล้องตามบรรทัดฐานดังกล่าว พร้อมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหุ้นส่วนความร่วมมือ กับประเทศคู่เจรจาหรือองค์กรภายนอก เพื่อรับมือกับโลกไซเบอร์ต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ในปัจจุบันอย่างเป็นองค์รวม และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด –19-สำนักข่าวไทย.
ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐประกาศไม่ยอมรับการโต้วาทีแบบเสมือนจริง
สำนักข่าวไทย ๙ ต.ค.- รัฐบาลเผยรายงานผลการดำเนินงาน ๑ ปี ในการยกระดับศักยภาพของแรงงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน ๑๒ เรื่องของรัฐบาล ตัวอย่างผลงานสำคัญของกระทรวงต่างๆ ดังนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ร่วมกับหนวยงานที่เกี่ยวของตรวจเรือประมงและแรงงานในภาคประมง ๑๐๑ ครั้ง และปรับปรุงขอมูลและจัดทำหนังสือคนประจำเรือสำหรับแรงงานต่างด้าว ๕๑,๑๘๑ ราย กระทรวงกลาโหม โครงการฝึกอบรมวิชาชีพทหารกองประจำการ เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพหลังจากปลดประจำการเพื่อพัฒนาศักยภาพของแรงงานไทย จัดตลาดนัดแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ พัฒนามาตรฐานกำลังคนอาชีวศึกษาด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม (Innovative Technology) พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการวิชาชีพใหม่ที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมศักยภาพ ไทยแลนด์ ๔.๐ สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี ให้แก่สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทุกแห่ง ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระในกลุ่มผู้เรียนอาชีวศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ต่อยอดชิ้นงาน/ผลิตภัณฑ์ไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมในสถานศึกษาอาชีวศึกษา สนับสนุนการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ดิจิทัลชุมชน โดยการนำนักเรียนนักศึกษา และบุคลากร ลงพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนในพื้นที่บริการของแต่ละสถานศึกษา กระทรวงแรงงาน ๑. การจัดทำข้อเสนอเพื่อกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ออกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๑๐) ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๖๒ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ […]
Mcot Sport MOBA : 8 ต.ค.63
กรุงเทพฯ 8 ต.ค. หัวเว่ยตั้งเป้า 5 ปี เผยแนวโน้มการรวม คลาวด์ กับ ปัญญาประดิษฐ์ และไอโอที นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริหัวเว่ย (ประเทศไทย) กล่าวว่า เทคโนโลยีคลาวด์ คือ รันเวย์หรือผู้สนับสนุนเทคโนโลยีปัญประดิษฐ์และไอโอที ทำงานอย่าราบรื่น หัวเว่ยคาดว่า ในปี 2025 ทุกองค์กรเชื่อมโยงเข้าด้วยกันบนคลาวด์ ร้อยละ 85 ของแอปพลิเคชั่นขององค์กรจะอยู่บนคลาวด์ จะมีการนำข้อมูลในองค์กรทั้งหมดมาใช้ในการทำงาน การผสานการทำงานระหว่างคลาวด์เทคโนโลยี เอไอและไอโอที จะช่วยผลักดันให้เกิดโอกาสใหม่ บริการใหม่ อาทิระบบการจัดการเมืองอัจฉริยะ การจัดการจราจรแบบอัจฉริยะ การตรวจสอบภาคสนามทางไกลผ่านโดรน ควาวด์ช่วยจะช่วยองค์กรธุรกิจในการปรับกระบวนการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจในหลายมิติโดยระบบเครือข่ายรวมไปถึงแอปพลิเคชั่นของไอโอทีที่จะทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายส่วนแล้วส่งขึ้นไปให้ช่วยประมวลผลบนคลาวด์ นางปิยะธิดา อิทธะวิวงศ์ ประธานกรรมการแผนกธุรกิจคลาวด์ประเทศไทย บริษัท หัวเวยเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รายงาน Huawei GIV (Global Industry Vision) คาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2025 กลุ่มธุรกิจองค์กรทั่วโลกทั้งหมดจะหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์และแอปพลิเคชัน โดยร้อยละ 85 ขององค์กรธุรกิจที่จะรองรับการท่างานบนคลาวด์ ร้อยละ 86 ขององค์กรทั้งหมดจะเริ่มหันมาใช้ปัญญาประดิษฐ และข้อมูลกว่าร้อยละ 80 จะประยุกต์ใช้คลาวด์เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง หัวเว่ยคาดองค์กรในประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับบริการ คลาวด์สาธารณะมากขึ้น เนื่องจากใช้งานได้สะดวกกว่าให้ผลตอบแทนการลงทุน ที่คุ้มค่ากว่าเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ธุรกิจหลายแห่งอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากปัญหาเศรษฐกิจคลาวด์สาธารณะจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้องค์กร จากการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถขยายการลงทุนในด้านอื่นของธุรกิจควบคู่กันซึ่งองค์กรที่ยังต้องการมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลเป็นพิเศษก็สามารถใช้บริการ คลาวด์แบบผสมผสาน และ Public Cloud ที่มีศูนย์ข้อมูลอยู่ในประเทศไทยได้ หลังจากเกิดโควิด-19 ธุรกิจหันมาสู่อินเทอร์เน็ตมากขึ้น คลาวด์จึงเป็นสิ่งจำเป็น และมีโอกาสเติบโต ประเทศไทยจะมีการเติบโตของคลาวด์เพิ่มความขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 5 เท่า ใน 5 ปีข้างหน้า จุดแข็งของหัวเว่ยคือการมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และให้ความสำคัญสูงสุดในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าการมีศูนย์ข้อมูลคลาวด์อยู่ในประเทศไทยจะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น บริการคลาวด์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทยรวมทั้งช่วยให้ทีมวิจัยพัฒนาและลูกค้าสัมพันธ์สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การให้บริการคลาวด์ในไทยยังมีศูนย์ข้อมูลอยู่ในประเทศไทยถึง 2 แห่ง ช่วยเสริมความเร็วในการรับส่งข้อมูลบนคลาวด์ ทำให้มีค่าความหน่วง (Latency) ในระดับน้อยกว่า 10 มิลลิวินาที น้อยกว่าผู้ให้บริการจากต่างประเทศประมาณ 5-10 เท่าเพื่อรองรับกับความเร็วของการเชื่อมต่อโครงข่ายในประเทศไทยที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้เต็มที่-สำนักข่าวไทย.
รัฐบาลเผยรายงานผลการดำเนินงาน ๑ ปี ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน ๑๒ เรื่องของรัฐบาล ตัวอย่างผลงานสำคัญของกระทรวงต่างๆ ดังนี้
“สารี อ๋องสมหวัง” เลขานุการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และตัวแทนองค์กรผู้บริโภค 152 องค์กร รวมตัวยื่นหนังสือ ขอเปิดตัวเป็นคณะผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค ประเทศไทย เพื่อเป็นตัวแทนเสนอความเห็นร่างกฎหมายเกี่ยวกับผู้บริโภค พร้อมเป็นปากเป็นเสียงให้ประชาชนผู้บริโภคทั่วประเทศ
รัฐบาลเผยรายงานผลการดำเนินงาน ๑ ปี ในมาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของ เศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน ๑๒ เรื่องของรัฐบาล ตัวอย่างผลงานสำคัญของกระทรวงต่างๆ ดังนี้
รัฐบาลเผยรายงานผลการดำเนินงาน ๑ ปี ในการปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน ๑๒ เรื่องของรัฐบาล ตัวอย่างผลงานสำคัญของกระทรวงต่างๆ ดังนี้
ส.ส.ปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ชี้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.คำสั่งเรียกฯ ขัดรัฐธรรมนูญ ทำให้ คณะกรรมาธิการฯ ของสภา ไร้ประโยชน์ ทำงานไม่ได้