รัฐบาลเผยผลงานมาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของ เศรษฐกิจโลก

สำนักข่าวไทย ๘ ต.ค.- รัฐบาลเผยรายงานผลการดำเนินงาน ๑ ปี ในมาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของ เศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน ๑๒ เรื่องของรัฐบาล ตัวอย่างผลงานสำคัญของกระทรวงต่างๆ ดังนี้

สำนักนายกรัฐมนตรี/สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  โครงการประเภทการก่อสร้าง/โครงสร้างพื้นฐาน จำนวน ๒๘๘ โครงการ  ได้แก่ การก่อสร้างสะพาน ก่อสร้างถนนคอนกรีต พัฒนาระบบไฟฟ้า ก่อสร้างระบบประปา /โครงการประเภทแหล่งน้ำ จำนวน ๓๔๓ โครงการ ได้แก่ โครงการขุดลอกคลอง ก่อสร้างฝาย พัฒนาแหล่งน้ำ-แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการ โรงไฟฟ้าขยะในพื้นที่ชุมชนแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  กรณีได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบจากกิจการเหมืองแร่แมงกานีส ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่


สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  รับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภค ทั้งสิ้น ๑๐,๘๗๖ ราย แก้ไขให้ผู้บริโภคจำนวน ๓,๗๗๒ ราย เป็นเงิน ๔๑๖,๗๐๑,๐๕๐.๖๑ บาท รับดำเนินคดีแทนผู้บริโภค  ๒,๑๐๒ ราย เป็นเงิน ๑๗๑,๕๐๔,๔๐๘.๔๙ บาทและไม่ได้ดำเนินคดีแทนผู้บริโภค  ๒๓๙ ราย เป็นเงิน ๑๔๐,๗๓๘,๗๕๘.๐๐ บาท  สคบ. ได้ดำเนินคดีที่ผู้บริโภคได้รับเงินคืนจากการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาล จำนวน ๑๖ คดี เป็นเงิน ๔,๕๖๖,๓๗๑.๔๙ บาท รวมทั้งได้ดำเนินการตั้งเรื่องยึด/อายัดตามคำพิพากษาศาล จำนวน ๑๕ คดี เป็นเงิน ๔,๑๐๗,๑๓๑.๘๒ บาท กรมประชาสัมพันธ์-โครงการประชาสัมพันธ์การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคเพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจให้ประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓

กระทรวงยุติธรรม– ช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบกรณีการลงทุนออมเงินกับแชร์แม่มณี และกรณี Foex-3D


กระทรวงมหาดไทย  การจัดระเบียบหาบเร่–แผงลอย  ๑) กำหนดพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเป็นพื้นที่ทำการค้าของหาบเร่–แผงลอยจำนวน ๓ จุด รองรับผู้ค้าได้ ๑๔๗ ราย คือ จุดที่ ๑ บริเวณทางเท้าถนนพระราม ๒ ซอย ๖๙ พื้นที่เขตบางขุนเทียนจุดที่ ๒ บริเวณทางเท้าของซอยอารีย์ ๑ พื้นที่เขตพญาไท จุดที่ ๓ บริเวณพื้นที่ว่างของซอยอ่อนนุช ๗๐ พื้นที่เขตประเวศ ๒)  จัดระเบียบผู้ค้าในจุดผ่อนผันเดิมที่อยู่ระหว่างการยกเลิก จำนวน ๑๗๑ จุด ในพื้นที่ ๑๘ สำนักงานเขต จำนวนผู้ค้า ๗,๙๒๒ ราย  ๓) พิจารณาความเหมาะสมพื้นที่ทำการค้าตามที่กลุ่มเครือข่ายแผงลอยไทยยื่นข้อเรียกร้อง จำนวน ๓ จุด คือ ๑) ตลาดบางคอแหลม เขตบางคอแหลม รองรับผู้ค้าได้ ๑๐๗ ราย ๒) ซอยสุขุมวิท ๑๘ เขตคลองเตย รองรับผู้ค้าได้ ๑๒ ราย ๓) ถนนกำแพงเพชร ๔ เขตจตุจักร รองรับผู้ค้าได้ ๔๐ ราย ๔) จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามโครงการถนนคนเดิน (Walking Street)  ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม   ๑ . โครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Anti Fake News Center : AFNC) เปิดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย (AFNC) เมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ รับแจ้งเบาะแสและติดตามการสนทนาบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับข่าวปลอม ตั้งแต่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ – ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ พบข้อความข่าวที่ต้องคัดกรอง ๙,๑๖๒,๗๑๘ ข้อความ เข้าเกณฑ์ตรวจสอบ ๑๕,๒๙๗ ข้อความ ดำเนินการตรวจสอบ จำนวน ๕,๒๓๐ เรื่อง   ได้รับผลตรวจสอบ ๒,๕๔๙ เรื่อง และมีการเผยแพร่ทั้งหมด ๘๔๐ เรื่อง จำนวนผู้ติดตามของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม –  Website : ๓,๑๐๔,๓๕๑ ผู้รับชม/Line :  ๑,๔๐๖,๒๖๓ ราย/Facebook : ๖๒,๗๕๐ ราย/Twitter : ๖,๔๘๖ ผู้ติดตาม  ๒. การเฝ้าระวังเว็บไซต์ไม่เหมาะสม ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security Operation Center: CSOC)  ก.ค. ๒๕๖๒ –  ก.ค. ๒๕๖๓ ดำเนินการกั้นเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ที่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. จำนวน ๙,๕๘๕ URLs จำนวน ๔๑๕ เรื่อง ซึ่งศาลได้มีคำสั่ง (หมายเลขคดีดำ) ให้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จำนวน ๗,๑๓๖ URLs จำนวน ๑๐๓ เรื่อง 

กระทรวงกลาโหม  ๑. ดำเนินโครงการฝึกอบรมอาชีพสนับสนุนการสร้างงานให้กับมวลชนรอบค่ายทหาร/  โครงการ ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน / โครงการ Army Delivery/ โครงการทหารพันธุ์ดี  ๒  จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์เพื่อช่วยเหลือประชาชนในภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้ง ๔ กองทัพภาค


กระทรวงการคลัง  ๑) การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน  จับกุมเจ้าหนี้  ๖,๐๐๒ ราย  ธ.ก.ส. ตั้งคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจํา กทม. และประจําจังหวัด  ตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการหารายได้ของลูกหนี้นอกระบบประจำจังหวัด   จัดทำระบบฐานข้อมูลหนี้นอกระบบ (นร.๑)  เป็นข้อมูลของประชาชนที่เข้ามาขอความช่วยเหลือผ่าน ธ.ออมสินและ ธ.ก.ส.    ๒) โครงการพิจารณาสินเชื่อ Soft Loan แก่ Non-bank  มูลค่าโครงการ ๘๐,๐๐๐   ล้านบาท ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ไปแล้ว ๔,๙๔๐,๓๔๔ ราย  ๓) กําหนดหลักเกณฑ์ใหความช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงิน กยศ.  กําหนดหลักเกณฑ์ช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินที่อยูระหว่างการชําระหนี้ และไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามระยะเวลาที่กําหนด    งดการขายทอดตลาด – ชะลอการบังคับคดี สำหรับผู้กู้ยืม และ/หรือผู้ค้ำประกัน  มาตรการปรับเงินค่าครองชีพให้กับผู้กู้ยืมเงินที่อยูระหว่างศึกษา เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากเดิม ๑,๒๐๐ บาท/เดือนเป็น ๑,๘๐๐ บาท/เดือน, ระดับ ปวช./ปวส. จากเดิม ๒,๔๐๐ บาท/เดือน เป็น ๓,๐๐๐ บาท/เดือน, อนุปริญญา/ปริญญาตรี จากเดิม ๒,๔๐๐ บาท/เดือน เป็น ๓,๐๐๐ บาท/เดือน ปรับเกณฑ์รายได้ต่อครอบครัวผู้กู้จากเดิมไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท/ปี เป็น ๓๖๐,๐๐๐ บาท/ปี เพื่อขยายฐานผู้กู้ยืมให้มากขึ้น  ๔) ปรับปรุงระบบภาษีและการเข้าถึงสินเชื่อที่อยูอาศัย ออก พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ บรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในอัตราร้อยละ ๙๐ ของจํานวนภาษีที่คํานวณได้ ให้แก่ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ใช้เป็นที่อยูอาศัยใช้ประโยชน์ ๕) มาตรการลดภาระการซื้อที่อยูอาศัย (โครงการบ้านดีมีดาวน์)  สิ้นสุดโครงการมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วม ๑๑๙,๙๐๓ คน มีที่ได้รับสิทธิจำนวน ๑๙,๕๘๗ คน และที่ได้รับเงินสนับสนุนจำนวน ๑๙,๕๔๙ คน  ๖) มาตรการยกเว้นอากรขาเข้าของที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)  ๗) โครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-๑๙ จ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท ๓ เดือน ( เม.ย. – มิ.ย. ๒๕๖๓) จำนวน ๑๕.๓ ล้านราย เป็นเงินกว่า ๑๕๙,๕๘๔ ล้านบาท  ๘) โครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยาและชดเชยให้แก่ประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-๑๙ เพื่อชวยเหลือผูมีบัตรสวัสดิการแหงรัฐ  จ่ายเงินเยียวยา ๑,๐๐๐ บาท/เดือน ๓ เดือน (๓,๐๐๐ บาท/คน) จ่ายเงินไปแล้วประมาณ ๓,๐๘๗ ล้านบาท ผู้ได้รับสิทธิประมาณ ๑.๐๓ ล้านราย 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ๑. โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ๑,๑๕๓ แห่ง สมาชิก ๓๗๑,๓๘๓ ราย  ๒. ดำเนินการบริหารจัดการที่ดินทำกิน  ๑) จัดที่ดินให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน  ส.ป.ก. ๔-๐๑ จำนวน ๑๘,๑๐๑ ราย  ๒) ปรับปรุงแผนที่แปลงที่ดินตามมาตรฐาน RTK GNSS NETWORK จำนวน ๒๑๔,๒๒๘ ไร ๓) ตรวจสอบสิทธิการเข้าทำประโยชน์ที่ดินของเกษตรกร จำนวน ๓,๘๒๓,๙๓๔ ไร่ และผู้เข้ารับบริการศูนย์บริการประชาชน จำนวน ๒๗๘,๑๒๔ ราย   ๓. ดำเนินการจัดระเบียบการทำประมง  ออกมาตรการ ระเบียบ ประกาศ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องภายใต้กฎหมายที่กำหนด ๒๖ ฉบับ  ออกใบอนุญาต/รับรอง และ นส.รับรอง ๒๕,๐๖๔  ฉบับบูรณาการข้อมูลเรือประมงกับกรมเจ้าท่า ๖๐,๙๘๒  ฉบับ ควบคุม/กำกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ๓๐,๒๕๙ ฟาร์มและเฝ้าระวังการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ๒๗๑ ครั้ง  ติดตามและเฝ้าระวังประมงแหล่งน้ำจืด ๗๕๘ ครั้ง เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนประมงพื้นที่แหล่งน้ำจืด ๒๕ ชุมชน ตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ๔,๗๕๗ ลำ ๔. ป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ๑. ตรวจติดตามและเฝ้าระวังการทำประมงตามกฎหมาย ๑๙๐,๔๖๖ ครั้ง และผานระบบติดตามเรือ (VMS) ๒๙,๒๒๕ ครั้ง  ตรวจสอบและเฝาระวังการทำประมงของเรือประมง และเรือขนถายสัตว์น้ำไทยนอกน่านน้ำ ๑,๑๕๗ ครั้ง  ตรวจสอบและเฝ้าระวังการทำการประมงของเรือประมงให้เป็น ไปตามกฎหมาย ๖๗๔ ครั้ง ตรวจสอบการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำจากเรือประมงต่างประเทศ ๔๘,๗๑๑ ครั้ง ตรวจสุขลักษณะแพปลา สะพานปลาและท่าเทียบเรือ ๕๘๗ แห่ง และตรวจสอบระบบ ตรวจสอบย้อนกลับของโรงงาน (Traceability) ๑๘๐ แห่ง ๕ พัฒนาความเขมแข็งของกลุมคัดเลือกชุมชนประมง เข้ารวมโครงการพัฒนาอาชีพเสริม สร้างความเข้มแข็งชุมชนประมง ตามเป้าหมาย ๑๔๔ กลุ่ม ๖ ชดเชยเยียวยาเจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ปี ๒๕๕๘ จ่ายค่าชดเชยใหกับเจ้าของเรือ จำนวน ๒๕๒ ลำ                          

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาด้านการกระจายการถือครองที่ดิน โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน จำนวน ๙๑๙ พื้นที่ ๗๐ จังหวัด เนื้อที่ประมาณ ๑,๕๙๘,๔๗๗-๓-๐๐.๐๕ ไร่ โดยปัจจุบัน ได้ดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในลักษณะแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ ในพื้นที่ลุ่มน้ำ ๓๔๕ โดยออกหนังสืออนุญาตแล้ว ๒๕๒ พื้นที่ ๖๖ จังหวัด เนื้อที่ ๖๘๗,๐๐๐ ไร่ จัดผู้เข้าทำประโยชน์ ๕๒,๐๔๒ ราย และสนับสนุนการพัฒนาอาชีพ ๑๓๒ พื้นที่ รวมทั้งคาดการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือมลพิษที่อาจจะเกิดขึ้น

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายฯ พิจารณาร่างหลักเกณฑ์การทำเช่าซื้อโครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย นำเสนอคณะกรรมการ กคช. ให้ความเห็นชอบต่อไป                                          

กระทรวงพาณิชย์  ๑)  โครงการกำกับดูแลสินค้าและบริการและมาตรฐานชั่งตวงวัด การกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการ โดยกำหนดสินค้าและบริการควบคุม จำนวน ๕๕ รายการ สินค้าและบริการที่ติดตามดูแล ๒๓๐ รายการ เพื่อคุ้มครองประชาชน ผู้บริโภคมิให้ถูกเอาเปรียบ  การควบคุมราคายา ค่าบริการโรงพยาบาลเอกชน ด้วยมาตรการแจ้งค่ายา ค่าบริการก่อนการรักษาผ่าน QR Code  ๒) โครงการธงฟ้าราคาประหยัดลดค่าครองชีพประชาชน  รวม ๙,๐๑๘  ครั้ง เกิดมูลค่าการจำหน่ายสินค้า รวมทั้งสิ้น ๑๕๓.๑๔ ล้านบาท ประชาชนเข้าร่วมงานกว่า ๙๒๒,๕๐๐ คน สามารถลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน คิดเป็นมูลค่า ๖๕.๑๓ ล้านบาท ๓) โครงการร้านอาหารหนูณิชย์ การจัดหาร้านอาหารปรุงสำเร็จ ปัจจุบันมีร้านเข้าร่วมโครงการฯ ทั่วประเทศ จำนวน ๑๕,๖๒๕ ร้าน จำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จราคาไม่เกิน ๓๕ บาท ๔) โครงการ“พาณิชย์ลดราคา ! ช่วยประชาชน” จำนวน ๕  Lot ๑ และ Lot ๒  จำนวน ๕๑ ราย โดยมีสินค้า ๖ กลุ่มสินค้า จำนวน ๓,๐๒๕ รายการ Lot ๓ ช่วยประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ โดยร่วมกับห้างท้องถิ่นทุกภาคทั่วประเทศจาก ๖๗ จังหวัด รวม ๒๑๑ ห้าง ๒๘๗ สาขา มีรายการสินค้า ๖ กลุ่ม จำนวน ๔,๘๔๕ รายการ ลดราคาสูงสุดร้อยละ ๖๘  Lot ๔ เน้นไปถึงทุกอำเภอทั่วประเทศ ๗๖ จังหวัด รวม ๘๗๘ อำเภอ ๖ กลุ่มสินค้า จำนวน ๗,๑๕๘ รายการ Lot ๕ Back To School ลดราคาสูงสุดถึงร้อยละ ๘๐ สินค้าชั้นอนุบาล ประถม และมัธยมปลาย                                                                             

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา – โครงการ “Thailand Street Food Festival ๒๐๒๐” เปิดโครงการนำร่องถนนคนเดิน (Walking Street) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ณ บริเวณถนนสีลม และถนนเยาวราช กรุงเทพมหานคร                                    

กระทรวงคมนาคม เร่งรัดการก่อสร้าง แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ปรับปรุงทางหลวงหมายเลข ๓๕ (ถนนพระราม ๒) เพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน  แก้ไขปัญหาการเวนคืนที่ดินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข ๘๑ สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี ด้วยการเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินจากเดิม ๕,๔๒0 ล้านบาท เป็น ๑7,๔๕๒ ล้านบาท แก้ไขปัญหา PM ๒.๕ ที่เกิดจากยานพาหนะ 

กระทรวงแรงงาน ตรวจแรงงานในเรือประมงทะเล ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า–ออก (PIPO) โดยจัดชุดตรวจเรือ จำนวน ๓๐ ศูนย์ และจุดตรวจเรือประมงล่วงหน้า (FIP) ๒ จุด และบูรณาการตรวจคุ้มครองแรงงานในเรือประมงทะเลในพื้นที่ ๒๒  จังหวัดชายทะเล.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พ่อช็อก ลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์

พ่อช็อก น้ำตาคลอรู้ข่าวลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินเชจูแอร์ ไถลออกนอกรันเวย์ เผยเป็นลาง ลูกยื่นเงินหมื่นให้พ่อจ่ายเงินฌาปนกิจศพให้ตัวเอง

Jeju plane crashes

เปิดภาพการกู้ภัยที่สนามบินเกาหลีใต้

โซล 29 ธ.ค.- รอยเตอร์ประมวลภาพการกู้ภัยที่ท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน ในจังหวัดช็อลลาใต้ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ หลังเกิดเหตุเครื่องบินสายการบินเชจูแอร์ (Jeju Air) พยายามลงจอดโดยที่ล้อเครื่องบินไม่กางและพุ่งชนรั้วกั้นที่เป็นกำแพงคอนกรีตในเช้าวันนี้ ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้แถลงว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ทหาร 180 นาย รถดับเพลิงและรถพยาบาลไปยังจุดเกิดเหตุแล้ว.-814.-สำนักข่าวไทย

families of South Korea plane crash passengers informed of victim list

ครอบครัวใจสลายฟังขานชื่อคนตายบนเครื่องบินเกาหลีใต้

โซล 29 ธ.ค.- ครอบครัวของผู้โดยสารเครื่องบินสายการบินเชจูแอร์ (Jeju Air) รอฟังเจ้าหน้าที่แจ้งความคืบหน้าเหตุการณ์เครื่องบินชนรั้วกั้นที่เกิดขึ้นในเช้าวันนี้ และฟังการแจ้งรายชื่อผู้เสียชีวิตด้วยหัวใจสลาย บรรยากาศที่ห้องโถงรอภายในท่าอากาศยานนานาชาติมูอันของเกาหลีใต้เต็มไปด้วยความเศร้าโศก ครอบครัวผู้เสียชีวิตบางรายร่ำไห้เสียงดังอย่างน่าสะเทือนใจ เมื่อผู้อำนวยการศูนย์สาธารณสุขเมืองมูอันประกาศรายชื่อผู้เสียชีวิต 22 คนที่ได้รับการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากลายนิ้วมือ ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันแล้วมีทั้งหมด 151 คน นับจนถึงเวลา 16.49 น.วันนี้ตามเวลาเกาหลีใต้ ตรงกับเวลา 14.49 น.วันนี้ตามเวลาไทย จากจำนวนคนบนเครื่องบินทั้งหมด 181 คน เป็นผู้โดยสาร 175 คน ลูกเรือ 6 คน พบผู้รอดชีวิตแล้ว 2 คน เป็นลูกเรือที่ได้รับการช่วยเหลือทันทีที่เกิดเหตุ อาการบาดเจ็บไม่ถึงชีวิต และถูกย้ายจากโรงพยาบาลท้องถิ่นไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลในกรุงโซลแล้ว เจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่เข้าร่วมการกู้ภัยเผยว่า หลังจากที่เครื่องบินชนกับรั้วกั้นที่เป็นกำแพงคอนกรีต คนบนเครื่องบินได้ถูกเหวี่ยงกระเด็นออกมา โอกาสรอดชีวิตจึงต่ำมาก ขณะที่การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลผู้เสียชีวิตเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเครื่องบินอยู่ในสภาพเสียหายหนัก เจ้าหน้าที่กำลังเก็บกู้ซากทั้งหมดซึ่งจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง.-814.-สำนักข่าวไทย

อลังการเคาท์ดาวน์เชียงใหม่ดึงดูดผู้คนทั่วโลก

ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่เชียงใหม่กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ที่จะไปร่วมเฉลิมฉลองกันที่นั่นไม่ต่ำกว่า 3 แสนคน ซึ่งมีการจัดกิจกรรมนับถอยหลังสู่ปีใหม่ในหลายจุด โดยเฉพาะที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ซึ่งเต็มไปด้วยความสวยงามของดอกไม้และแสงไฟ เรียกว่าเป็นจุดเคาท์ดาวน์ที่สวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน

ข่าวแนะนำ

ชินวัตรกลับสู่อำนาจ

ข่าวแห่งปี 2567 : “ชินวัตร” กลับสู่อำนาจ

ปี 2567 เกิดเหตุการณ์ขึ้นหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องการเมือง เดือนสิงหาคม หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็นำมาสู่การตั้งรัฐบาลและเปลี่ยนตัวผู้นำคนใหม่ สายเลือดตรงตระกูลชินวัตร กลับสู่อำนาจทางการเมืองอีกครั้ง

เชจูแอร์ล้อไม่กาง

เชจู แอร์ ประสบปัญหาล้อไม่กางอีกลำ

เกิดเหตุระทึกกับเที่ยวบินของสายการบินเชจู แอร์ ของเกาหลีใต้อีกลำหนึ่งจนต้องบินวกกลับสนามบินต้นทางหลังพบปัญหาที่ระบบล้อที่เพิ่งเกิดกับเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-มูอัน และพบเป็นเครื่องบินโบอิ้ง รุ่นเดียวกัน