สำนักข่าวไทย ๙ ต.ค.- รัฐบาลเผยรายงานผลการดำเนินงาน ๑ ปี ในการยกระดับศักยภาพของแรงงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน ๑๒ เรื่องของรัฐบาล ตัวอย่างผลงานสำคัญของกระทรวงต่างๆ ดังนี้
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ร่วมกับหนวยงานที่เกี่ยวของตรวจเรือประมงและแรงงานในภาคประมง ๑๐๑ ครั้ง และปรับปรุงขอมูลและจัดทำหนังสือคนประจำเรือสำหรับแรงงานต่างด้าว ๕๑,๑๘๑ ราย
- กระทรวงกลาโหม โครงการฝึกอบรมวิชาชีพทหารกองประจำการ เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพหลังจากปลดประจำการเพื่อพัฒนาศักยภาพของแรงงานไทย จัดตลาดนัดแรงงาน
- กระทรวงศึกษาธิการ พัฒนามาตรฐานกำลังคนอาชีวศึกษาด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม (Innovative Technology) พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการวิชาชีพใหม่ที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมศักยภาพ ไทยแลนด์ ๔.๐ สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี ให้แก่สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทุกแห่ง ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระในกลุ่มผู้เรียนอาชีวศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ต่อยอดชิ้นงาน/ผลิตภัณฑ์ไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมในสถานศึกษาอาชีวศึกษา สนับสนุนการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ดิจิทัลชุมชน โดยการนำนักเรียนนักศึกษา และบุคลากร ลงพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนในพื้นที่บริการของแต่ละสถานศึกษา
กระทรวงแรงงาน ๑. การจัดทำข้อเสนอเพื่อกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ออกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๑๐) ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๖๒ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๖๓
๒. การจัดทำข้อเสนอเพื่อกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ ๙) ฉบับล่าสุด จำนวน ๘๓ สาขาอาชีพ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๖๓ เป็นต้นไป
๓. การดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อยกระดับและพัฒนาแรงงาน
๓.๑ โครงการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) เพื่อขับเคลื่อนงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ตามกรอบยุทธศาสตร์ของแผนแม่บทความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) เป้าหมาย ๑๑๗,๕๐๐ คน และอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ เทียบกับปีที่ผ่านมา
๓.๒ โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านประกันสังคมถ้วนหน้า ครอบคลุม ๕๖๖ หมู่บ้าน โดยมีผู้สมัคร เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐ จำนวน ๒๓,๒๒๖ ราย เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ รณรงค์ ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์การประกันสังคมมาตรา ๔๐ (ภาคสมัครใจ) ผ่านกลไกภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ โดยสำนักงานประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขา ลงพื้นที่ในหมู่บ้าน เพื่อสร้างการรับรู้ถึงสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ เพื่อให้แรงงานอิสระเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา ๔๐ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต (ณ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓)
- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โครงการเมืองแห่งพลังงานโซลาร์เซลล์ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับฝีมือแรงงานไทยในลักษณะสองภาษา (ไทยและอังกฤษ) สนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฎในด้านองค์ความรู้มาตรวิทยา
- กระทรวงพาณิชย์ ยกระดับรายได้ ค่าแรงขั้นต่ำ ควบคู่พัฒนา “ทักษะฝีมือแรงงาน ผ่านคณะกรรมการไตรภาคี.-สำนักข่าวไทย