ระดมทุกมาตรการลดปริมาณน้ำลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง

กรุงเทพฯ 8 ต.ค. – เลขาธิการ สทนช. เผยเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำแม่น้ำยมไม่ให้กระทบตัวเมืองสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รพ.สุโขทัย พร้อมกันนี้ปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์เพื่อระบายน้ำจากทุ่งบางระกำ ซึ่งเกินความจุ ส่วนที่นครสวรรค์ได้เพิ่มการรับน้ำจากแม่น้ำน่านเข้าไปเก็บที่บึงบอระเพ็ดเพื่อลดปริมาณน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะที่กรมชลประทานลดการระบายจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง


นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า สทนช. ประสานการบริหารจัดการน้ำร่วมกับกรมชลประทานเพื่อป้องพันพื้นที่เศรษฐกิจในเขตตัวเมืองสุโขทัย รวมถึงการรับน้ำเข้าแก้มลิงทุ่งทะเลหลวงที่ขณะนี้มีปริมาณน้ำมาก โดยเป็นห่วงโรงพยาบาลสุโขทัยที่ตั้งอยู่ท้ายทุ่งทะเลหลวงซึ่งทางจังหวัดและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดทำแนวป้องกันน้ำบริเวณรอบโรงพยาบาลและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้กระทบต่อการให้บริการของโรงพยาบาล

ส่วนการระบายน้ำจากทุ่งลุ่มต่ำต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและพิจิตร โดยเฉพาะทุ่งบางระกำที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเก็บกักและเริ่มส่งผลกระทบต่อการสัญจรของประชาชนได้ปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ให้อยู่ในอัตรา 5 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน ไปจนถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2567 เพื่อลดปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านซึ่งจะช่วยให้สามารถระบายน้ำออกจากทุ่งได้ดีขึ้น


ทั้งนี้ น้ำที่ท่วมในลุ่มน้ำปิงบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนจะไหลลงสู่เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก โดยไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา

ทั้งนี้ ประเมินว่า น้ำจากตอนบนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ จะสูงสุดพรุ่งนี้ (9 ต.ค.67) ในอัตรา 2,500 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา โดยคาดว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 2,500 ลบ.ม.ต่อวินาที โดย สทนช. ได้ประสานให้มีการใช้บึงบอระเพ็ดแก้มลิงหน่วงน้ำแม่น้ำน่านที่ไหลมาจากจังหวัดพิษณุโลกและพิจิตรเข้าไปเก็บไว้ ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้บึงบอระเพ็ดรับน้ำไว้ 290 ล้าน ลบ.ม. จากการที่เสริมสันฝายให้สูงขึ้นจึงทำให้ปีนี้รับเพิ่มได้อีก 90 ล้าน ลบ.ม.

น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาจากจังหวัดนครสวรรค์ ที่ไหลต่อไปยังจังหวัดชัยนาท จะมีน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังไหลมาสมทบในอัตรา 100 – 200 ลบ.ม. ต่อวินาที ดังนั้นน้ำจะไหลไปยังหน้าเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,700 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งคาดว่า เป็นอัตราสูงสุดของฤดูฝนนี้แล้ว แนวทางบริหารจัดการของกรมชลประทานคือ ระบายน้ำเข้าสู่ระบบชลประทานบริเวณเหนือเขื่อนทั้งทางฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกในอัตรา 300 ลบ.ม.ต่อวินาที แล้วจะพยายามคงอัตราการระบายท้ายเขื่อนเจ้าพระยาไม่ให้เกิน 2,200 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชนท้ายเขื่อนให้ได้มากที่สุด ยกเว้นมีฝนตกเพิ่ม อาจปรับการระบายเป็นไม่เกิน 2,400 ลบ.ม. ต่อวินาที


การระบายน้ำในอัตรา 2,200 ลบ.ม.ต่อวินาที จะส่งผลกระทบในพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองโผงเผง คลองบางบาล แม่น้ำน้อย และพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกันน้ำบริเวณจังหวัดชัยนาท อำเภอสรรพยา และวัดสิงห์ (ตำบลโพนางดำตก) จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี พรหมบุรี และอินทร์บุรี (วัดสิงห์ วัดเสือข้าม) จังหวัดอ่างทอง อำเภอป่าโมกและไชโย (วัดไชโย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา บางบาล ผักไห่ (ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง) และเสนา (ตำบลหัวเวียง) จังหวัดปทุมธานี อำเภอเมืองปทุมธานีและสามโคก จังหวัดนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด (ตำบลท่าอิฐ) อำเมืองนนทบุรี (ตำบลไทรม้าและบางไผ่) สทนช.ได้แจ้งให้จังหวัดท้ายเขื่อนเตรียมยกของขึ้นที่สูง โดยอ้างอิงจากระดับน้ำที่อัตราการระบาย 2,400 ลบ.ม. ต่อวินาที เพื่อเตรียมพร้อมล่วงหน้าในกรณีมีปริมาณฝนตกมากเกินกว่าที่ประเมินไว้ พื้นที่จังหวัดนนทบุรีและปทุมธานีจะได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนสูงด้วย ซึ่ง สทนช.ได้ประสานทุกจังหวัดให้เตรียมพร้อมรับมือล่วงหน้าไว้แล้ว

นายธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักการระบายและอุทกวิทยา กรมชลประทานกล่าวว่า ได้จัดการจราจรน้ำ โดยคงอัตราการระบายของเขื่อนเจ้าพระยาไว้ที่ 2,200 ลบ.ม. ต่อวินาที แต่ลดการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยปัจจุบัน (8 ตุลคม 2567) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรีมีน้ำ 683 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุ วันพรุ่งนี้กรมชลประทานจะทยอยปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลงอีกจาก 100 ลบ.ม./วินาทีเหลือ 50 ลบ.ม./วินาที จากนั้นจะปรับลดการระบายน้ำอีกครั้งในวันถัดไป (10 ตุลาคม 2567) เหลืออัตรา 10 ลบ.ม./วินาที เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงไปสมทบกับแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นการลดผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลซึ่งในช่วงวันที่ 13 – 24 ตุลาคมจะได้รับอิทธิพลจากภาวะน้ำทะเลหนุนสูง

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้สั่งการให้โครงการชลประทานทุกแห่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยจะพยายามคงอัตราการระบายที่เขื่อนเจ้าพระยา 2,200 ลบ.ม. ต่อวินาทีให้นานที่สุด กรณีที่มีฝนตกเพิ่มช่วงปลายฤดู ยังมีทุ่งรับน้ำลุ่มเจ้าพระยา 10 ทุ่งเพื่อใช้แก้มลิงหน่วงน้ำได้. -512-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า

อุตุฯ เผยไทยตอนบน อุณหภูมิขยับลงอีก 1-2 องศาฯ

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลงอีก 1 – 2 องศาฯ ยอดดอยและยอดภูหนาวจัด มีน้ำค้างแข็งบางแห่ง

ยิงพรานล่าหมูป่า

เพื่อนรับเป็นคนยิงนายพรานวัย 52 อ้างคิดว่าเป็นหมูป่า

เพื่อนเปิดปากรับสารภาพเป็นคนใช้อาวุธปืนยิงนายพรานวัย 52 ปี เสียชีวิตในสวนผลไม้ อ้างคิดว่าเป็นหมูป่า ยืนยันไม่ได้มีปัญหาหรือมีเรื่องกันมาก่อน