สถานการณ์กุ้งโลกครึ่งแรกปี 66 เกิด Over supply ทำราคาตก

กรุงเทพฯ 29 มิ.ย. – กรมประมง เผยสถานการณ์กุ้งทั่วโลก เกิดภาวะ Over supply ผลผลิตมากเกินความต้องการของประเทศผู้ซื้อ ทำราคาตก เร่งปรับสมดุลอุปสงค์-อุปทาน และส่งเสริมการตลาดในประเทศ เพื่อกระตุ้นราคาช่วยเกษตรกร


นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตและราคากุ้งทั่วโลก ว่าเกิดภาวะ Over supply ผลผลิตมากเกินความต้องการของประเทศผู้ซื้อ ส่งผลให้ราคาตกต่ำ รวมถึงราคาในประเทศไทยด้วย

ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 ประเทศไทยมีผลผลิตกุ้งทะเล (กุ้งขาวแวนนาไม และกุ้งกุลาดำ) จากการเพาะเลี้ยง ปริมาณรวมทั้งสิ้น 100,600.45 ตัน โดยปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.18 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยจากข้อมูลปี 2560-2565 พบว่าประเทศไทยจะมีผลผลิตกุ้งทะเลออกสู่ตลาดสูงในช่วงเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน โดยราคากุ้งจะตกต่ำ 2 ช่วงในรอบปี คือ ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม และช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม


ส่วนสถานการณ์การผลิตและราคากุ้งโลกในช่วงครึ่งแรกปี 2566 พบว่าการผลิตกุ้งของประเทศเอกวาดอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตกุ้งหลักของโลก มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาวะ Over supply ของผลผลิตกุ้งในตลาดโลก และทำให้ราคากุ้งในประเทศเอกวาดอร์ รวมถึงตลาดโลก ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2566 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตกุ้งของประเทศผู้ผลิตหลักทั้ง อินเดีย เอกวาดอร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย ในขณะที่ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ชะลอคำสั่งซื้อเนื่องจากปริมาณกุ้งในสตอกยังมีเพียงพอต่อการบริโภค จนกว่าสินค้าในสตอกจะได้รับการระบายออกสู่ตลาดจึงจะเริ่มคำสั่งซื้อใหม่ ประกอบกับภาวะเศรฐกิจตกต่ำ และภาวะเงินเฟ้อ ของประเทศผู้นำเข้า รวมถึงผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าราคาถูก สภาวะเช่นนี้ส่งผลให้ราคาขายกุ้งในตลาดโลก และราคาขายกุ้งภายในประเทศผู้ผลิตหลักทั่วโลกมีราคาลดต่ำลง

ทั้งนี้ สถานการณ์ราคากุ้งตกต่ำยังคงเป็นวัฏจักรที่พบได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ความรุนแรงของผลกระทบอาจเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตลาดผู้รับซื้อหรืออุปสงค์ที่มีอยู่อย่างจำกัด ในขณะที่ผลผลิตกุ้งหรืออุปทานมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อให้อุตสาหกรรมกุ้งของไทยยังคงขับเคลื่อนต่อไปได้ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งควรหารือร่วมกับผู้ประกอบการห้องเย็นและโรงงานแปรรูป เพื่อวางแผนการผลิตกุ้งให้ได้ขนาด ปริมาณ และมีช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตตรงตามที่ตลาดต้องการ ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนการผลิต โดยลดต้นทุนพลังงาน เช่น การใช้โซลาร์เซลล์ การใช้จุลินทรีย์หรือการปรับรูปแบบการบริหารจัดการฟาร์มทดแทนการใช้ยาและสารเคมี การปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสม เพื่อลดความเสียหายระหว่างการเลี้ยง และการให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่าอาหารแล้ว ยังลดการสะสมของเสียในบ่อเลี้ยง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่เป็นต้นทุนแฝงในการเลี้ยงกุ้งอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศผู้นำเข้าจะชะลอคำสั่งซื้อ แต่หน่วยงานภาครัฐและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้จัดกิจกรรมและโครงการเพื่อกระตุ้นการบริโภคกุ้งภายในประเทศ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายกุ้งให้แก่เกษตรกร ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566 คณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คบท.) เห็นชอบให้กรมการค้าภายใน ดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ปี 2566 ตามมาตรการเพิ่มช่องทางและเชื่อมโยงการจำหน่ายสำหรับการบริโภคภายในประเทศ โดยให้การสนับสนุนค่าชดเชยราคากุ้งให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ในอัตรากิโลกรัมละไม่เกิน 20 บาท และค่าบริหารจัดการในส่วนของค่าใช้จ่ายดำเนินการด้านการตลาด อาทิ ค่าจัดการด้านขนาดและคุณภาพ ค่าเก็บรักษา ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่ง ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งหรือผู้รวบรวมที่เข้าร่วมโครงการฯ ในอัตรากิโลกรัมละไม่เกิน 10 บาท โดยมีปริมาณเป้าหมาย 5,000 ตัน ซึ่งเกษตรกรที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่


รองอธิบดีกรมประมง เน้นย้ำว่าแม้ว่าสถานการณ์อุตสาหกรรมกุ้งโลกในปัจจุบันอาจไม่สู้ดีนัก และการกู้อุตสาหกรรมกุ้งของไทยให้กลับฟื้นคืนมาอีกครั้งจะเป็นเป้าหมายที่ท้าทายอย่างมาก แต่หากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเกษตรกร ตลอดจนสถาบันการศึกษา ร่วมมือ ร่วมแรง และร่วมใจกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นเรื่องการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการส่งเสริมการผลิตกุ้งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด เชื่อได้ว่าจะนำมาซึ่งความมั่นคงและยั่งยืนในการประกอบอาชีพของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและธุรกิจเกี่ยวเนื่องสืบต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

พ่อขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิตจากตึก สตง.ถล่ม

พ่อของหนุ่มขอนแก่น วัย 35 ปี หนึ่งในผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิต ส่วนหนุ่มช่างประปา วัย 32 ปี เหยื่อตึก สตง.ถล่ม เผาแล้ว แม่ยังทำใจไม่ได้ สะอื้นไห้หน้าเมรุ

“ชัชชาติ” เผยเตรียมกู้ 5 ร่างที่พบ-ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน

ผู้ว่าฯ กทม. เผยเตรียมกู้ 5 ร่าง จาก 14 ร่างที่พบ ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน ยันไม่ขีดเส้นตายหยุดช่วยเหลือ ปรับแผนเพิ่มการรื้อถอนด้วยเครื่องจักรหนักควบคู่ไปมากขึ้น