เปิด ปตร.คลองลัดโพธิ์ เร่งระบายน้ำเหนือ 

กรุงเทพฯ 7 ต.ค.- อธิบดีกรมชลประทาน ระบุใช้ ปตร.คลองลัดโพธิ์ เร่งระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล ในห้วงที่น้ำเหนือไหลลงมาเพิ่มขึ้น ส่วนที่เขื่อนเจ้าพระยาจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบาย แต่ได้เพิ่มการรับน้ำเข้าทุ่งลุ่มต่ำ เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายเขื่อน ซึ่งน้ำท่วมมานานกว่า 2 เดือน โดยล่าสุดน้ำในทุ่งมีกว่า 58% ของความจุรวมทั้ง 10 ทุ่ง ยังคงมีที่ว่างรองรับน้ำเพิ่มได้อีก


นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า น้ำเหนือได้ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันนี้ (7 ตุลาคม 2565) ตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ อยู่ที่ 3,082 ลบ.ม./วินาที เพิ่มขึ้นจากวานนี้ ซึ่งอยู่ที่ 3,048 ลบ.ม./วินาที สมทบกับแม่น้ำสะแกกรัง ผ่านสถานีวัดน้ำ Ct.19 จ.อุทัยธานี วัดได้ 417 ลบ.ม./วินาที จากเมื่อวานนี้อยู่ที่ 393 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำหน้าเขื่อนยกสูงขึ้นจากเมื่อวานนี้ที่ 17.62 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) เป็น 17.66 ม.รทก. สูงขึ้น 4 เซนติเมตร

ทั้งนี้ กรมชลประทาน จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ +17.60 ม.รทก. เพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของบานระบายน้ำและตัวเขื่อนเจ้าพระยา ดังนั้นจึงต้องระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นจาก 2,765 ลบ.ม./วินาที โดยจะควบคุมให้อยู่ในอัตราไม่เกิน 2,900 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่วันนี้ (7 ตุลาคม) 


นายประพิศ กล่าวย้ำว่า ได้บริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายเขื่อน โดยเพิ่มการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อรับน้ำเข้าพื้นที่ว่างมากขึ้น ล่าสุดวานนี้ (6 ตุลาคม) บริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ 10 ทุ่งลุ่มต่ำเจ้าพระยาตอนล่าง ปริมาณการรับน้ำผันเข้าทุ่ง รวมกับปริมาณน้ำที่เกิดจากฝนตกในพื้นที่กว่า 763 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 58% ของความจุรวม ซึ่งยังมีที่ว่างเพียงพอในการรับน้ำหลากได้อีก

ขณะเดียวกัน เมื่อน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาถึงด้านท้าย ได้เร่งระบายออกทะเล โดยเฉพาะประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นทางลัดในการระบายน้ำเหนือ จะช่วยให้การระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนหนึ่งลงสู่ทะเลอ่าวไทยได้รวดเร็วขึ้น ช่วยร่นระยะทางการไหลของน้ำจาก 18 กิโลเมตร ให้เหลือเพียง 600 เมตรเท่านั้น เพราะระยะทางจากปากคลองถึงปลายคลองของคลองลัดโพธิ์มีระยะสั้น สามารถช่วยลดผลกระทบน้ำท่วมในพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่บริเวณนอกคันกั้นน้ำได้

สำหรับการบริหารจัดการน้ำของประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ฯ กรมชลประทาน จะเปิดบานระบายของประตูระบายน้ำให้สัมพันธ์กับจังหวะการขึ้นลงของน้ำทะเล เพื่อเร่งพร่องน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างส่วนหนึ่งออกสู่ทะเลอ่าวไทย โดยขณะนี้ระบายน้ำในช่วงที่น้ำทะเลลงเท่านั้น เนื่องจากช่วงที่น้ำทะเลขึ้น ระดับน้ำทางด้านท้ายน้ำยังสูงกว่าด้านน้ำเหนือ โดยตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2565 – ปัจจุบัน มีการระบายน้ำออกสู่ทะเลแล้วทั้งสิ้น 1,589.60 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาในการรองรับปริมาณน้ำเหนือที่จะไหลลงมาอีกในระยะต่อไป 


นอกจากนี้ เมื่อพ้นช่วงฤดูน้ำหลากแล้ว กรมชลประทาน จะปิดบานระบายของประตูระบายน้ำ เพื่อชะลอน้ำ เก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งป้องกันไม่ให้น้ำเค็มรุกล้ำผ่านประตูระบายน้ำเข้าไปส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการใช้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น-ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น เตือนภาคใต้ตอนล่างฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

ภรรยาหมอบุญมอบตัว

“ภรรยา-ลูก” หมอบุญ อ้างถูกปลอมลายเซ็น ไม่เคยรู้การกระทำใดๆ

ทนายความภรรยา-ลูก หมอบุญ เผยถูกปลอมลายเซ็นเอกสาร ไม่เคยรับรู้การกระทำใดๆ ของหมอบุญ โดยภรรยาได้หย่าร้างกับหมอบุญ ก่อนปี 66

น้ำผุดเชียงดาว

น้ำใต้ดินผุดท่วมอ่วม “บ้านเรือน-พื้นที่เกษตร” อ.เชียงดาว

มวลน้ำมหาศาลผุดขึ้นจากใต้ดิน เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เกษตร และบ้านเรือนประชาชน หลายหมู่บ้าน ใน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ระดับน้ำบางจุด ท่วมบ้านเกือบถึงหลังคา พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 400 ไร่