อย.เตือนประชาชนอย่าซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ผ่านช่องทางออนไลน์

กรุงเทพฯ 13 ก.ค. – อย.เตือนประชาชนอย่าซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง อาจได้รับยาปลอม หรือยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งไม่ปลอดภัย และหากใช้ยานี้อย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เชื้อดื้อยา จนไม่สามารถใช้รักษาโรคโควิด-19 ได้อีกต่อไป


นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวพบการขายยาโมลนูพิราเวียร์ทางสื่อออนไลน์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เร่งดำเนินการตรวจสอบช่องทางที่มีการขายยาออนไลน์ทุกช่องทาง ได้ดำเนินการสั่งระงับโฆษณาและดำเนินคดีโฆษณาขายยาผ่านสื่อโซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มตลาดร้านค้าออนไลน์ (E-marketplace) เพื่อไม่ให้เป็นช่องทางที่ใช้ส่งต่อยาผิดกฎหมายให้ผู้บริโภค และจะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้ที่ลักลอบขายในทุกช่องทาง รวมไปถึง อย. ยังได้ร่วมกับกรมควบคุมโรค ในการเฝ้าระวังการนำเข้ายาตามด่านต่างๆ เพื่อสกัดไม่ให้มีการนำเข้ายาผิดกฎหมาย หรือยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทาง อย. เข้ามาในประเทศอีกด้วย

นอกจากนี้ อย. ภายใต้การนำทีมของ นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้ลงพื้นที่ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในวันนี้ (13 กรกฎาคม 2565) เพื่อตรวจสอบสถานพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ย่านคลองหลวง ที่ได้รับการสนับสนุนยาโมลนูพิราเวียร์จากทางภาครัฐ ว่ามีการจ่ายยาตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์อย่างถูกต้องหรือไม่ ซึ่งสถานพยาบาลได้มีการโฆษณาแพ็กเกจรักษาโรคโควิด-19 หลายรูปแบบให้ผู้ป่วยเลือกรับบริการ บางแพ็กเกจมีการโฆษณาด้วยข้อความว่าจะมีการจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ หรือยาโมลนูพิราเวียร์ ให้ผู้ป่วยด้วย แต่ยาดังกล่าวเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ ซึ่งสถานพยาบาลไม่สามารถโฆษณาได้ นอกจากได้รับอนุญาต แต่จากการตรวจสอบไม่มีการขออนุญาตแต่อย่างใด กรณีนี้ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้มีการดำเนินการตามกฎหมายต่อไปแล้ว


ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีการสำรองยาโมลนูพิราเวียร์ ในจำนวนที่เพียงพอสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย แต่ที่สำคัญ ขอให้รับยาจากแหล่งที่ถูกต้อง คือ โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนที่ได้รับจัดสรรยาจากภาครัฐ ไม่ควรซื้อยาผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ โดยยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ ซึ่งแพทย์จะมีการประเมินอาการ และสั่งจ่ายตามข้อบ่งใช้ตามแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ ยาโมลนูพิราเวียร์ ยังมีข้อควรระวังในการใช้ยา โดยเฉพาะการห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และยังต้องมีการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาอย่างใกล้ชิดด้วย หากผู้ป่วยสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ทางออนไลน์มากินเอง อาจได้รับยาปลอม ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งไม่ปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยเอง และการใช้ยานี้อย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ไม่สามารถใช้ยาโมลนูพิราเวียร์รักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้อีกต่อไป

เลขาธิการ อย. กล่าวย้ำว่า หากผู้บริโภคพบเห็นการขายยาโมลนูพิราเวียร์ทางช่องทางออนไลน์ใดๆ ขอให้แจ้งได้ทางสายด่วน อย. 1556 อีเมล 1556@fda.moph.go.th Line @FDAThai Facebook : FDAThai หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. รวบ 3 นักค้ายาเสพติดต่างชาติ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ป.ป.ส. รวบนักค้ายาเสพติดต่างชาติ 3 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งออกไปอิตาลี-อังกฤษ เลขาฯ ป.ป.ส. เผยความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลจากการประสานงานใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบตลาดปาล์มน้ำมัน หลังราคาพุ่ง

ช่วงนี้น้ำมันปาล์มตามท้องตลาดปรับราคาแพงขึ้น จากเดิมขวดละราว 10 บาท ทำให้ผู้บริโภคถึงกับโอดครวญ ขณะที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีที่สุดในรอบหลายปี แต่เกษตรกรกลับไม่มีปาล์มขาย

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยอีสาน อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย-ใต้ตอนบน ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ เผยภาคใต้ตอนบน มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่วนประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อยในภาคอีสาน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง

เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

เข้าสู่ฤดูหนาว

อุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. โดยเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และยังมีฝนบางพื้นที่ ปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้ว