EXIM BANK เปิดกลยุทธ์ Beyond Borders…Beyond Banking สร้างภูมิคุ้มกันไทยเวทีการค้าโลก

EXIM BANK เปิดกลยุทธ์ Beyond Borders…Beyond Banking สร้างภูมิคุ้มกันประเทศไทยในเวทีการค้าโลก


ปัจจุบัน SMEs ในประเทศไทยมีอยู่ราว 3.18 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ส่งออกไม่ถึง 1% ในขณะที่การจ้างงานของประเทศโดยรวมมีประมาณ 17 ล้านคน เป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs มากถึง 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 70% ของการจ้างงานทั้งหมด จะเห็นได้ว่าธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมากอย่างคาดไม่ถึง

ถึงจะมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมากแต่ธุรกิจ SMEs กลับมีความเปราะบาง มีภูมิคุ้มกันต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ จึงมีข้อสังเกตว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จำนวน SMEs เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2% ซึ่งถือว่าน้อยมาก ความเปราะบางของ SMEs ไทยมาจากหลายสาเหตุ อาทิ การขาดแคลนเงินทุน SMEs ที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนมีเพียง 1 ใน 3 ของทั้งระบบ ทั้งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ที่เป็นเช่นนี้เพราะมี SMEs อยู่ในระบบหรือจดทะเบียนนิติบุคคลเพียง 800,000 ราย ขณะที่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทส่วนบุคคลและอื่น ๆ 2.3 ล้านราย และวิสาหกิจชุมชน 9.5 หมื่นราย ทั้งนี้ มี SMEs ที่เป็นผู้ส่งออกคิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.7% หรือ 22,285 รายของทั้งระบบ สวนทางกับหลายประเทศที่มีสัดส่วนสูง เช่น แคนาดา 12% เวียดนาม 8% ซึ่งในจำนวน SMEs ที่ส่งออกและมีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพียง 1 ใน 3 ของทั้งหมด


นอกจากขาดแคลนเงินทุนแล้ว ผู้ประกอบการ SMEs ยังขาดความรู้ทางธุรกิจ สะท้อนจาก Startup Skills Index (ความรู้สำหรับเริ่มต้นธุรกิจ) ของ Global Entrepreneurship and Development Institute ซึ่งจัดอันดับประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 64 จากทั้งหมด 137 ประเทศ นอกจากนั้นยังขาดในเรื่องของ Research and Development หรือ R&D และนวัตกรรม โดยมีเพียง 0.2% ของ SMEs ไทยทั้งระบบที่ใช้ R&D ยกระดับธุรกิจ ขณะที่สัดส่วน R&D ต่อ GDP ของไทยก็อยู่ที่ 1% เทียบกับหลายประเทศในเอเชียที่มีสัดส่วนดังกล่าวสูงกว่า เช่น เกาหลีใต้ 4.5% สิงคโปร์ 2%

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวว่า สินค้าของ SMEs ไทยหลายรายยังไม่ตอบโจทย์เทรนด์ใหม่ ๆ ของโลก ขาดความแตกต่าง เนื่องจาก SMEs หลายรายมักทำตามกันและคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จเหมือนกัน มากกว่าที่จะพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ สร้างความแตกต่างในตลาด

“จากข้อมูลของคลินิกแก้หนี้ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พบว่า ธุรกิจที่เป็นหนี้เสียมากที่สุด มีอายุธุรกิจสั้น คือ ร้านอาหารและร้านกาแฟ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ไม่มีความแตกต่าง ทำเหมือน ๆ กัน ธุรกิจที่จะไปได้จะต้องมีจุดขายที่แตกต่าง และตอบโจทย์เทรนด์ใหม่ ๆ ของโลก เช่น ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดิจิทัล และเกี่ยวเนื่องกับการดูแลสุขภาพ (Green, Digital, Health)” ดร.รักษ์ กล่าว


ปัญหาที่เป็นความเปราะบางและเป็นจุดอ่อนของ SMEs ไทยเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่กล้าที่จะเข้าไปสนับสนุนสินเชื่อจึงเป็นปัญหาไก่กับไข่ ทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่เติบโตและไม่สามารถพัฒนาขึ้นมามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจของประเทศได้มากกว่าที่เป็นอยู่ EXIM BANK จึงคิดต่างและหา Model ของตัวเองในการสนับสนุน SMEs ให้เติบโตได้โดยมีหนี้เสียต่ำ

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ธนาคารได้สร้างรูปแบบในการสนับสนุนทางการเงินสร้างนักรบเศรษฐกิจไทยเป็นผู้ส่งออกป้ายแดง ด้วยการพัฒนา Ecosystem ครบวงจร ตั้งเป้าเปลี่ยน SMEs จาก “เก่งกระจุก” อยู่แค่บางกลุ่มหรือบางอุตสาหกรรมให้เป็น “เก่งกระจาย” ตลอด Supply Chain ของการค้าระหว่างประเทศโดย EXIM BANK จะเข้าไปสนับสนุนให้สินเชื่อกับธุรกิจขนาดใหญ่ในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน แต่มีเงื่อนไขว่าธุรกิจขนาดใหญ่จะต้องสนับสนุนซื้อสินค้าวัตถุดิบจาก SMEs ที่เป็น Supply Chain เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กมีโอกาสฟื้นตัวและเติบโตกลายเป็นผู้ส่งออกได้มากขึ้น วิธีนี้จะช่วยให้ความเสี่ยงในการสนับสนุนทางการเงินต่อ SMEs ลดลงด้วย เพราะธุรกิจรายใหญ่จะรู้จักลูกค้ามากกว่าธนาคาร

EXIM BANK ได้นำเสนอ 3 Models ในการสร้างนักรบเศรษฐกิจใหม่ และพัฒนา Ecosystem ตลอด Supply Chain ดังนี้

Quick Win ทำได้ทันที สนับสนุนผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มี SMEs อยู่ใน Supply Chain จำนวนมาก เพื่อช่วย SMEs ทางอ้อมจากความต้องการสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นอีกมาก

Medium Term ระยะกลาง ใช้โมเดลพี่จูงน้อง ดึงรายใหญ่พ่วงรายเล็กใน Supply Chain เข้า Supply Chain Financing Platform ของ EXIM BANK โดย SMEs ที่อยู่ใน Supply Chain ของผู้ประกอบการรายใหญ่สามารถเข้าถึงเงินทุนง่ายขึ้นด้วยการอิงความเสี่ยงของรายใหญ่ได้ ล่าสุด EXIM BANK สานพลังสามสภาฯ ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (สภาหอฯ) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เพื่อร่วมกันสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจทุกระดับตลอดห่วงโซ่การส่งออกตั้งแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ไปจนถึงรายเล็ก

Long Term ระยะยาว เปลี่ยนผู้ผลิตเพื่อผู้ส่งออกหรือผู้ส่งออกทางอ้อม (Indirect Exporters) เป็นผู้ส่งออก (Direct Exporters) โดย EXIM BANK จะเปลี่ยน Indirect Exporters ที่มีอยู่ราว 10% ของ SMEs ทั้งระบบหรือราว 300,000 ราย ให้ก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกด้วยการพัฒนาผู้ส่งออกแบบครบวงจร สะท้อนถึงบทบาทการเป็นมากกว่าธนาคาร (Beyond Banking) เช่น
• Training & Incubation ด้วยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าของ EXIM BANK (EXIM Excellence Academy : EXAC) และ Business School ชั้นนำ
• Business Matching จับคู่ธุรกิจด้วยสำนักงานผู้แทน EXIM BANK ใน CLMV
• Online Channel โดยใช้ EXIM Thailand Pavilion ร้านค้าออนไลน์ของ EXIM BANK
• Product Development โดยจัดให้มี SME Export Studio ซึ่ง EXIM BANK จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุน SMEs โดยเฉพาะ

ดร.รักษ์ กล่าวต่อไปว่า การสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ของ EXIM BANK มุ่งเน้นการช่วยเหลือจำนวนรายผู้ประกอบการได้เพิ่มขึ้น เพราะจำนวนผู้ประกอบการที่รอดหรือเกิดใหม่สำคัญกว่าวงเงินกู้ รวมถึงการเน้นการสร้างงาน สร้างอาชีพให้คนไทยได้มากแค่ไหน เพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศและประชาคมโลก

“EXIM BANK มุ่งมั่นที่สนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการภายใต้บทบาทที่มากกว่าธนาคาร (Beyond Banking) ไม่ว่าจะเป็น Business Partners อยู่เคียงข้างผู้ประกอบการ ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาธุรกิจหรือรุกตลาดใหม่ ๆ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อช่วยผู้ประกอบการเข้าถึงโอกาสธุรกิจใหม่ ๆ เป็น Business Intelligence ที่สนับสนุนข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ ตลอดจนการพัฒนาและเชื่อมโยง Ecosystem ทั้งในส่วนของ Supply Chain ระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่ถึงรายเล็ก และสร้าง Ecosystem ในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ” ดร.รักษ์ กล่าวทิ้งท้าย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ภรรยาหมอบุญมอบตัว

“ภรรยา-ลูก” หมอบุญ อ้างถูกปลอมลายเซ็น ไม่เคยรู้การกระทำใดๆ

ทนายความภรรยา-ลูก หมอบุญ เผยถูกปลอมลายเซ็นเอกสาร ไม่เคยรับรู้การกระทำใดๆ ของหมอบุญ โดยภรรยาได้หย่าร้างกับหมอบุญ ก่อนปี 66

น้ำผุดเชียงดาว

น้ำใต้ดินผุดท่วมอ่วม “บ้านเรือน-พื้นที่เกษตร” อ.เชียงดาว

มวลน้ำมหาศาลผุดขึ้นจากใต้ดิน เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เกษตร และบ้านเรือนประชาชน หลายหมู่บ้าน ใน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ระดับน้ำบางจุด ท่วมบ้านเกือบถึงหลังคา พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 400 ไร่

เลือกตั้ง อบจ.

“แสวง” ลงพื้นที่สังเกตการณ์เลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี

“เลขาฯ แสวง” ลงพื้นที่ตรวจรับ-มอบอุปกรณ์เลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี พร้อมสังเกตการณ์เลือกตั้งพรุ่งนี้ (24 พ.ย.) วอนประชาชนออกมาใช้สิทธิ 8.00-17.00 น.