fbpx

บอร์ด สปสช.เคาะปรับอัตราจ่ายค่าบริการโควิด

กรุงเทพฯ 15 ก.พ. – บอร์ด สปสช.เคาะปรับอัตราจ่ายค่าบริการโควิด พร้อมหนุนหน่วยบริการร่วมจัดหา ATK แจกประชาชน


ที่ประชุมบอร์ด สปสช. เห็นชอบการปรับหลักเกณฑ์-อัตราจ่ายชดเชยบริการโควิดใหม่ เหมาจ่ายค่าห้องผู้ป่วยสีเขียว ปรับอัตราค่าห้องผู้ป่วยสีเหลือง-แดง หนุนหน่วยบริการร่วมกระจายชุดตรวจ ATK ให้คนไทยทุกสิทธิ เหมาจ่ายรถโดยสารอื่น-TAXI กรณีเสริม-แทนการใช้รถพยาบาล พร้อมดึงกลไกการจ่ายเงินผ่านธนาคาร online เป็นรายวัน เพิ่มความรวดเร็วในการจ่ายให้หน่วยบริการ

ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 7 ก.พ.2565 ซึ่งมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบการปรับหลักเกณฑ์ แนวทางอัตราจ่าย และกำหนดวันบังคับใช้การจ่ายชดเชยบริการโรคโควิด-19 พร้อมทั้งมีมติรับทราบกลไกการจ่ายเงินรายวันได้ ผ่านทางธนาคารด้วยระบบออนไลน์ ได้เป็นรายวัน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ตามข้อ 14 (2) แห่งระเบียบคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุน พ.ศ.2555 เสนอโดย นางดวงตา ตันโช ประธานคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน


สำหรับการปรับหลักเกณฑ์นี้เป็นไปตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่มีนโยบายการดูแลผู้ติดเชื้อโควิดกลุ่มไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มากด้วยระบบการดูแลที่บ้านหรือในชุมชน รวมถึงการตรวจคัดกรองโควิดด้วยชุดตรวจ ATK เป็นวิธีแรก (HI – CI – ATK first) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐ และเป็นการลดภาระงบประมาณ ภาระงานด้านสาธารณสุขของประเทศ รวมถึงการประชุมหารือร่วมระหว่าง 4 กองทุนภาครัฐ ที่เห็นชอบในหลักการจ่ายชดเชยค่าบริการสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 (กลุ่มอาการสีเขียว) ที่รักษาในโรงพยาบาล, HI/CI, Hotel Isolation, รพ.สนาม และ Hospitel ทั้งในหน่วยบริการในระบบ และกรณีการเข้ารับบริการในระบบเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตโรคโควิด (UCEP COVID) เป็นการจ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตราเดียวกัน

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า การปรับหลักเกณฑ์และแนวทางอัตราจ่ายใหม่นี้ มีทั้งหมด 5 ส่วน ได้แก่ 1.การจ่ายค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยกรณีดูแลรักษาผู้ป่วยอาการสีเขียว จะจ่ายชดเชยเช่นเดียวกับบริการ HI/CI ไม่ว่าจะเป็นการรักษาในโรงพยาบาล (ไม่จ่าย DRGs) รวมถึงการรักษานอกโรงพยาบาล เช่น HI/CI, Hotel Isolation, รพ.สนาม และ Hospitel โดยกำหนดอัตราการจ่ายแบบเหมาจ่ายต่อการให้บริการผู้ป่วย 1 ราย รวมค่าอาหาร อยู่ที่ 12,000 บาท สำหรับการรักษา 7 วันขึ้นไป และ 6,000 บาท สำหรับการรักษาตั้งแต่ 1-6 วัน ส่วนกรณีไม่รวมค่าอาหารจะเหมาจ่ายที่ 8,000 บาท และ 4,000 บาท ตามลำดับ

2.การตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการติดเชื้อโควิด-19 โดยวิธีตรวจ ATK โดยผู้เชี่ยวชาญ (ATK Professional) จะปรับอัตราจ่ายให้เหมาะสมกับราคาในปัจจุบัน และสอดรับนโยบาย ATK First และอ้างอิงราคาตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยแบบ Chromatography จะจ่ายที่ 250 บาท จากเดิม 300 บาท และแบบ FIA จะจ่ายที่ 350 บาท จากเดิม 400 บาท ขณะที่การตรวจคัดกรองด้วยวิธี RT-PCR ประเภท 2 ยีน จะปรับการจ่ายเป็น 900 บาท จากเดิม 1,300 บาท ส่วนประเภท 3 ยีน จ่ายเป็น 1,100 บาท จากเดิม 1,500 บาท


3.อัตราจ่ายค่าห้องสำหรับการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาล ได้ปรับอัตราจ่ายค่าห้องที่ดูแลการรักษา โดยแบ่งระดับเตียงใหม่ตามความรุนแรงของโรคเพื่อการบริหารจัดการที่เหมาะสม ตามที่กรมการแพทย์กำหนดเป็น 5 ระดับ และปรับลดอัตราจ่ายอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) จากเดิมชุดละ 600 บาท เหลือ 550 บาท สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยสีเหลือง/แดง และลดจำนวนชุดที่ใช้ต่อวันของเตียงระดับอาการรุนแรง ตามสถานการณ์ปัจจุบันที่ทีมบุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าไปดูผู้ป่วยครั้งละหลายคน

4.การสนับสนุนชุดตรวจ ATK-self test สำหรับประชาชนคนไทยทุกสิทธิ โดย สปสช.จะเป็นกลไกกลางในการประสานผู้จำหน่าย โดยเฉพาะผู้จำหน่ายที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมในการกระจายชุดตรวจให้หน่วยบริการเพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม และจำนวนตามความต้องการของหน่วยบริการ ส่วนหน่วยบริการที่เข้าร่วม ได้แก่ ร้านยา คลินิกการพยาบาลฯ คลินิกกายภาพบำบัด หน่วยเทคนิคการแพทย์ฯ หรือหน่วยบริการอื่นที่สนใจ จะได้รับค่าใช้จ่ายเป็นเงินในอัตรา 55 บาทต่อชุดตรวจ สำหรับเป็นค่าชุดตรวจและค่าบริการให้คำแนะนำการตรวจ ATK การอ่านผล และการปฏิบัติตัวของประชาชน

5.อัตราจ่ายค่าพาหนะรับ-ส่งต่อ กรณีใช้รถโดยสารประเภทอื่น ซึ่งเป็นการจ่ายชดเชยในลักษณะเหมาจ่ายต่อวัน ในอัตรา 1,900 บาทต่อวัน กรณีใช้รถโดยสารประเภทอื่น เช่น TAXI เสริมหรือทดแทนการใช้รถพยาบาล (Ambulance) ของโรงพยาบาล โดยต้องมีระบบที่ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่ถูกหลักวิชาการ เพื่อแบ่งเบาภาระงาน และเป็นทางเลือกของหน่วยบริการในการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยไม่มีอาการ หรืออาการเล็กน้อย

นพ.จเด็จ กล่าวว่า ในส่วนของแนวทางการจ่ายค่าบริการฯ กรณีการสนับสนุน ATK Self test และบริการรับ-ส่งต่อใช้รถโดยสารประเภทอื่น สปสช.จะกำหนดกลไกการจ่ายเงินรายวัน ผ่านทางธนาคารด้วยระบบ online เป็นรายวันได้ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ตามข้อ 14 (2) แห่งระเบียบคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุน พ.ศ.2555 ทั้งนี้ เพื่อความรวดเร็วในการจ่ายเงินกองทุนให้แก่หน่วยบริการ

นพ.จเด็จ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับข้อเสนอการปรับอัตราจ่ายชดเชยบริการโควิด-19 รายการ 1. บริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มอาการสีเขียว 2. บริการตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันโควิด-19 ด้วย ATK Professional และ RT-PCR และ 3. อัตราจ่ายค่าห้อง สำหรับการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาล ได้กำหนดวันบังคับใช้ที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2565 เนื่องจากจะดำเนินการพร้อมกับกองทุนประกันสุขภาพอื่น ขณะที่รายการ 4. การสนับสนุนชุดตรวจ ATK Self test สำหรับประชาชนคนไทยที่เป็นกลุ่มเสี่ยง และ 5.อัตราจ่ายค่าพาหนะรับ-ส่งต่อ กรณีใช้รถโดยสารประเภทอื่น เช่น TAXI จะมีผลทันทีหลังจากที่ได้รับความเห็นชอบนี้. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย