ขยายมาตรการบรรเทาผลกระทบสายการบินจาก COVID-19

กรุงเทพฯ 13 ม.ค. – “ศักดิ์สยาม” นั่งหัวโต๊ะประชุม กบร. ขยายมาตรการบรรเทาผลกระทบสายการบินจาก COVID-19 ในไตรมาส 1/65 หลังโอไมครอนระบาดหนัก ส่งผลให้จำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ในช่วงปลายปี 64 กลับชะลอตัวลงอีกเป็นระลอกที่ 5


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ระบุว่า ที่ประชุมมีมติขยายระยะเวลามาตรการลดค่าใช้จ่ายและมาตรการทางการเงิน ในไตรมาสที่ 1/2565 เพื่อบรรเทาผลกระทบกับสายการบินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เห็นชอบให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) กรมท่าอากาศยาน (ทย.) และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาผลกระทบของสายการบิน ที่ได้ดำเนินการมาจนถึงสิ้นปี 2564 ต่อเนื่องไปอีก 1 ไตรมาส เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น หลัง COVID-19 สายพันธุ์โอไมครอนระบาดหนัก จนคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้จำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ในช่วงปลายปี กลับชะลอตัวลงอีกเป็นระลอกที่ 5 เร่งระดมมาตรการด้านปฏิบัติการให้เกิดประสิทธิภาพและประหยัดน้ำมัน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายสายการบินอีกทาง พร้อมทั้งนำผลการศึกษาแนวทางของประเทศต่างๆ มาปรับปรุงมาตรการให้สามารถช่วยพยุงการดำเนินงานของสายการบินได้เต็มที่ทุกรูปแบบ ประกอบด้วย

  1. มาตรการด้านการลดค่าใช้จ่ายของสายการบิน

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ดำเนินมาตรการลดค่าใช้จ่ายของสายการบินที่ใช้บริการสนามบินของ ทอท. โดยขยายระยะเวลาปรับลดค่าบริการในการขึ้นลงของอากาศยาน (Landing Charge) และค่าบริการที่เก็บอากาศยาน (Parking Charge) ลงอัตราร้อยละ 50 ทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินระหว่างประเทศ สำหรับสายการบินที่ยังทำการบินอยู่ และยกเว้นการจัดเก็บค่าบริการที่เก็บอากาศยาน (Parking Charge) สำหรับสายการบินที่หยุดให้บริการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565      


  1. มาตรการทางการเงิน

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ขยายระยะเวลาชำระหนี้ (Credit Terms) ค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ จาก 15 วัน เป็น 90 วัน จนถึงรอบชำระวันที่ 31 มีนาคม 2565 ด้านกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราค่าเช่าสำหรับทุกกิจกรรม ในอัตราค่าเช่าไม่ต่ำกว่าที่กรมธนารักษ์กำหนด เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565)                  
ส่วน ทอท. เลื่อนชำระค่าบริการสนามบิน (Landing and Parking Charges) และค่าเครื่องอำนวยความสะดวก (Aircraft Service Charge) สำหรับงวดชำระเดือนเมษายน 2564 ถึงเดือนมกราคม 2565 ออกไปงวดละ 9 เดือน และให้ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 12 งวดชำระ

นอกจากมาตรการเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและมาตรการที่เกี่ยวข้องทางการเงินโดยตรงแล้ว ประธาน กบร. ยังมอบนโยบายให้ CAAT ประสานหน่วยงานผู้ให้บริการทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ เช่น ทอท. ทย. และผู้ดำเนินการสนามบินทุกราย รวมทั้งบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ให้ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ เพื่อให้แต่ละเที่ยวบินสามารถลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงลงให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้สายการบินประหยัดค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนหลักได้อีกทางหนึ่ง และให้ CAAT ประเมินผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอไมครอน เพื่อเตรียมมาตรการรองรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และช่วยสายการบินให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังให้ CAAT มีมาตรการดูแลบุคลากรด่านหน้าทางการบิน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสให้มากที่สุด กบร. ยังสั่งการให้หน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินมาตรการ จัดทำแผนบริหารจัดการกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ ประมาณการรายจ่าย แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ เพราะจะต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย


สำหรับสถานการณ์อุตสาหกรรมการบินในช่วงไตรมาสที่ 4/2564 ที่ผ่านมา สถิติจำนวนผู้โดยสารในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเฉลี่ย 6 เท่า โดยจำนวนผู้โดยสารภายในประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 7 เท่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดมีแนวโน้มการติดเชื้อภายในประเทศลดลง ประกอบกับเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ส่งผลให้การเดินทางภายในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ส่วนการเดินทางระหว่างประเทศ มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า จากไตรมาสก่อนหน้า จากนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร