พร้อมขับเคลื่อนความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น

ทำเนียบฯ 27 ต.ค.-นายกฯ ย้ำไทยพร้อมขับเคลื่อนความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น แบบใจถึงใจ และเป็นมิตรแท้

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมและกล่าวถ้อยแถลงในนามอาเซียนในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 24 ผ่านระบบการประชุมทางไกล พร้อมผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน และนายกรัฐมนตรีคิชิดะ ฟูมิโอะ นายรัฐมนตรีญี่ปุ่น


นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเน้นย้ำความสำคัญกับอาเซียน ผ่านการส่งเสริมความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด-เเปซิฟิก (AOIP)เเละข้อริเริ่ม Free and Open Indo-Pacific (FOIP) เเละโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการรับมือกับโควิด-19 ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกัน ซึ่งญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ญี่ปุ่นห่วงกังวลต่อกรณีพิพาทในภูมิภาค และสถานการณ์ในภูมิภาค

นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสู่ครอบครัวอาเซียน และการประชุมในครั้งนี้ ชื่นชมความสำเร็จของญี่ปุ่นในการจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าจะโอกาสดีที่อาเซียนและญี่ปุ่นจะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่มีพลวัตและก้าวหน้าในทุกมิติ โดยไทยในฐานะผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ขอกล่าวถ้อยแถลงในนามอาเซียน ดังนี้ อาเซียนและญี่ปุ่นได้รักษามิตรภาพและความร่วมมือระหว่างกันมาเกือบ 50 ปี บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเป็นหุ้นส่วนแบบ “ใจถึงใจ” และความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน ซึ่งการร่วมกันฟันฝ่าความท้าทายที่ผ่านมาเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเป็นมิตรแท้ระหว่างกันได้เป็นอย่างดี


อาเซียนขอบคุณและซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่งที่ญี่ปุ่นได้สนับสนุนอาเซียนในรูปแบบต่าง ๆ ในการรับมือกับโควิด-19 ยกระดับความร่วมมือและการเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุข เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับมือกับการระบาดหากเกิดระลอกใหม่ ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต ขอบคุณเงินสนับสนุนจากญี่ปุ่น 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สมทบกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด – 19 และขอบคุณการสนับสนุนเงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ (ACPHEED) ซึ่งมุ่งหวังว่าจะสามารถจัดตั้งและเริ่มดำเนินการได้ในโอกาสแรกสุด

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงคุณค่าของญี่ปุ่นที่ได้ให้การสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียนในด้านต่างๆ โดยด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนมุ่งมั่นที่จะสานต่อการขยายความร่วมมือกับญี่ปุ่นผ่านกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ ทั้งในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การต่อต้านการก่อการร้าย การเสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความมั่นคงทางทะเลและความร่วมมือด้านกลาโหมผ่านกรอบ ADMM Plus ตลอดจนมุ่งเสริมสร้างบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ที่จะป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ผ่านกลไกความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมภายใต้มุมมอง AOIP (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific)

ด้านเศรษฐกิจ อาเซียนเป็นฐานการลงทุนและการผลิตที่สำคัญของญี่ปุ่นมายาวนาน อาเซียนสนับสนุนให้ภาคธุรกิจของญี่ปุ่นลงทุนในอาเซียนต่อไป เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานโลกของญี่ปุ่น ในขณะเดียวกัน อาเซียนส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลง AJCEP (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership) และประสงค์ให้ RCEP มีผลบังคับใช้ในโอกาสแรก นอกจากนี้ อาเซียนยินดีกับการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 และเพื่อศักยภาพของ MSMEs ผ่านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลหรือสิ่งจำเป็นในยุค 4IR มาใช้ 


การเสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค อาเซียนมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานร่วมกับญี่ปุ่นให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมตามแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 22 ว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกัน โดยเฉพาะการสอดประสานกันระหว่างแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ.2025 กับข้อริเริ่มความเป็นหุ้นส่วนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพของญี่ปุ่น ที่มีความสอดคล้องกับข้อริเริ่ม การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงของอาเซียน

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การพัฒนาด้านดิจิทัล อาเซียนเชื่อมั่นว่าญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนต่อไปเพื่อส่งเสริมการรวมตัวในภูมิภาคและลดช่องว่างด้านการพัฒนาในอาเซียน โดยเฉพาะผ่านแผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่ 4 และด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ควรรักษาความสมดุลระหว่างมนุษย์กับสรรพสิ่งและความยั่งยืนในทุกมิติ เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย SDGs โดยขอบคุณญี่ปุ่นที่ได้สนับสนุนการลดปริมาณขยะทะเลในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และหวังว่าจะแสวงหาความร่วมมือใหม่ ๆ ร่วมกันในอนาคต

นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำความมุ่งมั่นของอาเซียนที่จะขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นให้ก้าวไกล มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้นต่อไป โดยในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 2023 นี้ เป็นโอกาสที่อาเซียนและญี่ปุ่นจะร่วมกันทบทวนความสำเร็จและบทเรียนที่ผ่านมา กำหนดทิศทางการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนในอนาคต ซึ่งไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น พร้อมผลักดันการจัดการประชุมสุดยอดฯ สมัยพิเศษ ที่ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 2023 ตามความประสงค์ของญี่ปุ่น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว ด้านแม่ตะโกนร้องขอความเป็นธรรม ถูกกลั่นแกล้ง แจงเป็นเงินบุญ ปี 64 ขณะที่ “สามารถ” เผย “อยากพูด แต่พูดไม่ได้“

งด ครม.

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” วันศุกร์

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” ศุกร์นี้ นายกฯ ตั้งเป้าปีหน้าน้ำท่วมภาคเหนือต้องไม่เกิดอีก ด้าน ศปช. เตรียมเสนอแผนแก้อย่างเป็นระบบใน ครม.สัญจร ศุกร์นี้