กรมประมงปล่อย “ปลาตะพัดเขียว” คืนถิ่น

สุราษฎร์ธานี 6 ส.ค. -กรมประมงใช้เวลาเพาะพันธุ์ “ปลาตะพัดเขียว” สัตว์น้ำหายากนานกว่า 20 ปี ล่าสุดปล่อยสู่เขื่อนรัชชประภา 200 ตัว กลับคืนถิ่นอาศัยเดิม เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชชนนีพันปีหลวง


นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุราษฎร์ธานีและศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดสุราษฎร์ธานี ร่วมจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์ปลา “ตะพัดเขียว” 200 ตัว คืนสู่แหล่งอาศัยในธรรมชาติเดิม ณ หน่วยพิทักษ์ป่าคลองหยา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง เขื่อนรัชชประภา ตำบลบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2564

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว เป็นการดำเนินการตามโครงการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำประจำถิ่นและสัตว์น้ำหายากใกล้สูญพันธุ์ ของกรมประมง ซึ่งได้เล็งเห็นว่าปัจจุบันทรัพยากรสัตว์น้ำพื้นถิ่นหลายชนิดของไทยอยู่ในสภาวะถูกคุกคาม และบางชนิดมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์สูง โดยเฉพาะ “ปลาตะพัดเขียว”(Scleropages formosus) หรือปลาตะพัดสีเงินสายพันธุ์ไทย ซึ่งในอดีตเคยมีรายงานพบปลาชนิดนี้ในพื้นที่จังหวัดตราด จันทบุรี สตูล ยะลา และสุราษฎร์ธานี แต่ปัจจุบันพบเพียงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา แม่น้ำตาปี คลองสก และคลองแสง ซึ่งเป็นลำน้ำที่ไหลลงสู่เขื่อนรัชชประภาเท่านั้น


สำหรับปลาตะพัดเขียวซึ่งคนท้องถิ่นจะเรียกว่า “ปลาหางเข้” พบตามธรรมชาติน้อยมาก ประกอบกับเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ค่อนข้างยาก มีอัตราการแพร่ขยายพันธุ์ในธรรมชาติค่อนข้างต่ำ จึงทำให้ปลาตะพัดชนิดนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และอยู่ในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) เป็นชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ระบุไว้ในบัญชีลำดับที่ 1 (CITES Appendix I)

ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรปลาตะพัดเขียว กรมประมง โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุราษฎร์ธานี จึงได้ดำเนินการเพาะขยายพันธุ์ปลาตะพัดเขียว เพื่อปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลากว่า 20 ปี ด้วยการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติในคลองแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี พ.ศ. 2529 และเพาะพันธุ์จนสำเร็จเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 และได้ทยอยปล่อยปลาตะพัดเขียวคืนสู่ถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำธรรมชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา

ด้านนายเฉลิมพล เพ็ชรรัตน์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกล่าวว่า ปลาตะพัดเป็นปลาสวยงามที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นปลาที่มีรูปลักษณ์สวยงาม แบ่งตามความนิยมของตลาดเป็น 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ตะพัดทองอินโดนีเซีย ตะพัดทองมาเลเซีย ตะพัดแดง ตะพัดเขียวหรือตะพัดเงิน


สำหรับปลาตะพัดที่พบในประเทศไทย คือ ปลาตะพัดเขียว หรือตะพัดสีเงินสายพันธุ์ไทย โดยสีพื้นตามลำตัวจะมีสีน้ำตาลเทา มีวงสีเขียวอยู่ตามเกล็ด ซึ่งปลาตะพัดตามธรรมชาติจะอาศัยอยู่เฉพาะในลำธารป่าดงดิบ ตามแหล่งน้ำที่ใสสะอาด กระแสน้ำไหลเอื่อย และระดับความลึกของน้ำไม่มาก ขณะนี้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการเพาะพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี พ.ศ. 2563 ศูนย์ฯ สามารถเพาะขยายพันธุ์และอนุบาลลูกปลาตะพัดเขียวได้จำนวน 300 ตัว โดยใช้วิธีเพาะพันธุ์แบบธรรมชาติในบ่อดิน พ่อแม่พันธุ์ที่ใช้ในการเพาะมีอายุ 4-5 ปี ขนาดความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร ขึ้นไป และมีน้ำหนักประมาณ 1.2-1.4 กิโลกรัม ทั้งนี้ ปลาตะพัดจะมีการผสมพันธุ์วางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยหลังจากผสมพันธุ์วางไข่เสร็จแล้ว พ่อแม่ปลาจะอมไข่และฟักลูกในปาก เลี้ยงตัวอ่อนในปากอีกประมาณ 2-3 เดือน จนเป็นตัวอ่อนเต็มวัย โดยจะลากอวนเคาะปากปลาตะพัดทุก 1-2 เดือน ซึ่งแต่ละครั้งอาจปรับระยะเวลาตามความเหมาะสม เนื่องจากหากเคาะปากในระยะที่กำลังอมไข่ พ่อแม่ปลาก็จะคายไข่ออกมา ทำให้มีอัตราการฟักต่ำ หากเคาะปากในช่วงที่ลูกปลาฟักออกเป็นตัวและยังอาศัยอยู่ในปากแม่จะทำให้ได้ลูกปลาที่แข็งแรง มีอัตราการรอดตายสูง แต่หากช้ากว่านั้นลูกปลาจะออกจากปากแม่ กลายเป็นอาหารของปลาตะพัดตัวอื่นที่อยู่ในบ่อ

ส่วนการอนุบาลลูกปลาตะพัดจะใช้ตู้กระจก ระดับน้ำลึก 20-25 เซนติเมตร มีฝาปิดมิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกปลากระโดดออกจากตู้อนุบาล และมีระบบเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้น ลดความหนาแน่นลงเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกปลากัดกันเอง โดยตลอดระยะเวลาต้องมีการดูแลเปลี่ยนถ่ายน้ำให้สะอาด มีคุณภาพดีอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มอัตราการรอดของลูกปลาด้วย จนกระทั่งได้ลูกพันธุ์ปลาในขนาดที่เหมาะสม คือ ขนาด 12-16 นิ้ว ก็จะทำปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติเพื่ออนุรักษ์ปลาตะพัดเขียวให้คงอยู่ตามธรรมชาติสืบไป. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

งด ครม.

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” วันศุกร์

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” ศุกร์นี้ นายกฯ ตั้งเป้าปีหน้าน้ำท่วมภาคเหนือต้องไม่เกิดอีก ด้าน ศปช. เตรียมเสนอแผนแก้อย่างเป็นระบบใน ครม.สัญจร ศุกร์นี้

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี