23 กรกฎาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Factcheck (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด
บทสรุป:
กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นระบุให้ผู้รับวัคซีนโควิด 19 ควรเว้นจากบริจาคโลหิตเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบอาการข้างเคียงและยืนยันความพร้อมก่อนการบริจาคโลหิต
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าประเทศญี่ปุ่นไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
ฮิโตชิ ฮัตตะ โฆษกสถานทูตญี่ปุ่นประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อธิบายต่อ Factcheck ว่า ญี่ปุ่นไม่ได้ปฎิเสธการรับบริจาคโลดหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 แต่ขอให้ระงับการบริจาคเลือดในระหว่างที่รัฐบาลกำลังสรุปแนวทางการบริจาคโลหิตสำหรับผู้รับวัคซีนโควิด 19
ข้อเสมอแนะจากกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นระบุว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ไม่ควรบริจาคโลหิตเป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยฮิโตชิ ฮัตตะย้ำว่ามาตรการดังกล่าวไม่ใช่เพราะสงสัยความปลอดภัยของวัคซีน แต่ต้องการให้ผู้รับวัคซีนตรวจสอบอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเช่นอาการปวดหัวหรือเป็นไข้ เพื่อยืนยันความพร้อมก่อนการบริจาคโลหิต
ดร.จูลี แคทซ์ คาร์ป ผู้อำนวยการแผนกเวชศาสตร์บริการโลหิต โรงพยาบาล Thomas Jefferson University Hospital ยืนยันว่าผู้รับวัคซีนโควิด 19 ในสหรัฐฯ (Pfizer–BioNTech, Moderna และ Johnson & Johnson) สามารถบริจาคโลหิตได้ทันที
ดร.จูลี แคทซ์ คาร์ป อธิบายว่านโยบายเว้นช่วงบริจาคโลหิตในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันมาก ปัจจัยมีทั้งเหตุผลทางการแพทย์, ประเด็นทางวัฒนธรรม จนถึงปัญหาการขาดแคลนโลหิต
สหรัฐฯ มีการเว้นช่วงบริจาคโลหิตที่สั้นมาก โดยประชาชนสามารถบริจาคโลหิตได้ทุกๆ 56 วัน ส่วนประเทศญี่ปุ่นจะอนุญาตให้ผู้ชายบริจาคโลหิตได้ปีละ 3 ครั้ง ส่วนผู้หญิงสามารถบริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง
ส่วนอินเดียที่ประสบปัญหาการขาดแคลนโลหิตอย่างหนักในช่วงที่ประเทศกำลังเผชิญการแพร่ระบาดของโควิด 19 อย่างรุนแรง ทำให้รัฐบาลอินเดียประกาศลดการเว้นช่วงบริจาคโลหิตจาก 28 วันเหลือเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น
ความต้องการโลหิตในสหรัฐฯ ลดลงอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 เนื่องจากไม่ค่อยมีการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุฉุกเฉิน แต่ในสถานการณ์ที่เริ่มคลี่คลายในปัจจุบัน ความต้องการโลหิตเริ่มกลับมาอยู่ในสภาวะปกติอีกครั้ง
สวนทางกับประเทศญี่ปุ่น ที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนโลหิต เนื่องจากอัตราการบริจาคโลหิตลดลงอย่างมากระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในญี่ปุ่น
เจฟเฟอร์สัน คิงสตัน ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัย Temple University อธิบายว่า สาเหตุที่อัตราการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในประเทศญี่ปุ่นยังต่ำมาก มาจากการทำงานของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ถูกวิจารณ์ว่าไม่ทันต่อสถานการณ์
วิลเลียม เปเสค ผู้เขียนหนังสือ Japanization: What the World Can Learn from Japan’s Lost Decades อธิบายว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายตรวจสอบความปลอดภัยของวัคซีนจากต่างประเทศก่อนการฉีดให้กับประชาชนเสมอ ทำให้การฉีดวัคซีนในญี่ปุ่นเป็นไปอย่างล่าช้า และในประเทศยังมีขบวนการต่อต้านวัคซีนที่คอยทำลายความเชื่อมั่นของวัคซีนอีกด้วย
อีกปัจจัยคือทำให้ญี่ปุ่นขาดความกระตือรืนร้นในการฉีดวัคซีน มาจากอัตราการเสียชีวิตจากโควิด 19 ที่ต่ำกว่าหลายประเทศ โดยข้อมูลจากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University พบว่า ขณะที่อัตราการเสียชีวิตจากโควิด 19 ต่อประชากร 100,000 คนในสหรัฐฯ อยู่ที่ 178 คน อัตราการเสียชีวิตของชาวญี่ปุ่นจากโควิด 19 มีเพียงแค่ 8.75 คนต่อประชากร 100,000 คนเท่านั้น
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.factcheck.org/2021/05/post-misleads-on-japans-policy-for-donating-blood-after-covid-19-vaccination/
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter